ปรับ 8 พฤติกรรมลดเสี่ยงอัลไซเมอร์ สูงวัยอย่างสุขภาพที่ดี
เปิดสาเหตุอัลไซเมอร์ที่ยากจะหลีกเลี่ยง และการปรับพฤติกรรมช่วยลดอัลไซเมอร์ การกระตุ้นการทำงานของสมอง สูงวัยสุขภาพดีมีคุณภาพ
หากคุณหรือผู้สูงวัยในบ้านกังวลกับอาการขี้หลงขี้ลืมที่เกิดขึ้น ต้องมาดูก่อนว่าอาการเหล่านั้นจะเข้าข่ายโรคอัลไซเมอร์หรือเปล่า แล้วจะป้องกันได้อย่างไร หากเริ่มเป็นหรือมีโอกาสที่จะเป็น มาดูกันดีกว่าว่ามีปัจจัยเสี่ยงหรือต้องหลีกเลี่ยงพฤติกรรมใดบ้าง ถ้าไม่อยากเป็นอัลไซเมอร์
สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
- พันธุกรรม หากพ่อแม่เราเป็นโรคอัลไซเมอร์ เราก็มีโอกาสเสี่ยงขึ้นถึง 50% จากยีนส์ที่ชื่อว่า APOE gene ซึ่งถ่ายทอดผ่านทางพันธุกรรม อันนี้เราก็ต้องรับไปเต็มๆ
แพทย์เผยผู้สูงอายุป้องกัน "อัลไซเมอร์" ได้ด้วยการหมั่นบริหารสมอง
3 ระยะอัลไซเมอร์ แพทย์เผยหมั่นบริหารสมองช่วยลดความเสี่ยง 113%

- อายุ ใครบ้างที่ห้ามอายุห้ามความแก่ได้ เมื่อเราแก่ลง อายุสัก 65 ปีขึ้นไป ก็จะมีโอกาสเป็นโรคอัลไซเมอร์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
- เพศ ผู้หญิงมีโอกาสเป็นอัลไซเมอร์มากกว่าผู้ชาย 3:2 คนเชียวนะ จะขอเปลี่ยนเพศก็ไม่ทันแล้ว
ปรับได้ลดเสี่ยงอัลไซเมอร์
- เรียนรู้ตั้งแต่เด็ก ต้องรีบตะลุยหาความรู้ฝึกสมองตั้งแต่เข้าอนุบาลจนถึงช่วยปลายวัยรุ่น สมองจะได้พัฒนาเต็มที่ในวัยเรียน และยิ่งหมั่นศึกษาหาความรู้อย่างต่อเนื่อง ได้ฝึกสมองอยู่ตลอดไปจนแก่ โอกาสเสี่ยงก็จะยิ่งน้อยลงด้วยนะ
- อย่าอ้วนอย่าผอมเกินไป ผู้ที่มีน้ำหนักตัวปกติ คือมีดัชนีมวลกาย (BMI) อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ไม่อ้วนลงพุงหรือผอมเกินไป จะมีโอกาสเป็นโรคนี้น้อยกว่า ใครที่รู้ตัวว่าอ้วนหรือผอมเกินไป ต้องจัดสรรการกินใหม่และหมั่นออกกำลังกายให้แข็งแรงอยู่เสมอด้วยนะ
- ดูแลสุขภาพหูให้ดี ใครก็หูตึง หูเสื่อม ได้ยินไม่ชัด จะทำให้การรับรู้เสียงต่างๆ น้อยลง สมองที่ทำหน้าที่แปลงเสียงเป็นความหมายก็จะค่อยๆ ถูกปิดกั้น ส่งผลกระทบถึงสมองส่วนอื่น เป็นการเพิ่มปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ รู้แบบนี้แล้วใครที่มีปัญหาอยู่ต้องรีบไปตรวจหู และหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่เสียงดัง ถนอมหูไว้ให้ดีๆ
- ไม่สูง ไม่ต่ำ ความดันต้องปกติ ใครที่มีความดันโลหิตสูง ต้องกินยาควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ นอกจากนี้ก็ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมปาร์ตี้ เลิกดื่มเหล้า กินเบียร์ สูบบุหรี่ และจำกัดการกินของเค็ม อย่าเติมน้ำปลา เกลือ และงดอาหารรสจัดด้วย
- ไม่กินน้ำตาล เบาหวานต้องไม่เป็น ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานต้องควบคุมระดับน้ำตาลให้ดี ไปหาหมอและตรวจระดับน้ำตาลเป็นประจำ ทานยาตามหมอสั่ง ไม่กินอะไรหวานๆ ที่จะทำให้น้ำตาลในเลือดสูง
9 สัญญาณ “อัลไซเมอร์” คนอายุน้อย ขี้ลืมและพฤติกรรมสับสนแบบไหนอันตราย?
- ไม่ซึมเศร้า อย่าเหงาคนเดียว หากมีญาติหรือพบว่าตัวเองมีความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า ควรปรึกษาแพทย์และปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิต พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายบ่อยๆ คิดบวก ไม่ตำหนิตัวเองหรือคิดว่าตัวเองไม่มีคุณค่า ไม่ดื่มเหล้า หรือแก้ปัญหาด้วยการใช้ยา หากเป็นแล้วป่วยแล้วก็ควรไปหาหมอ
- ขยับร่างกายด้วยแอโรบิก ให้หัวใจเต้นแรง เลือดสูบฉีด มีอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นระหว่าง 60-85% ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุดจะดีมาก และควรออกกำลังกายอย่างน้อย 150 นาที/สัปดาห์ หรือจะฟิตกล้ามด้วยก็ได้นะ เพราะการมีกล้ามก็ทำให้ออกกำลังกายได้ดีขึ้นด้วย
- เข้าสังคมพบปะเพื่อนฝูง เป็นการกระตุ้นการทำงานของสมอง ทำให้สมองทำงานได้ดีขึ้น อาจเลือกกิจกรรมที่ชอบ เช่น ทำงานอาสาสมัคร เข้าร่วมกลุ่มหรือชมรมต่างๆ หาโอกาสสร้างความบันเทิงให้ตัวเองได้หัวเราะ ท่องเที่ยว หรือเล่นกับเด็กๆ ก็จะช่วยให้สมองได้ใช้งานอยู่เสมอ
เมื่อสามารถปรับการใช้ชีวิตและดูแลสุขภาพให้ดีแล้ว เชื่อว่าจะสามารถการลดความเสี่ยงของการเป็นโรคอัลไซเมอร์ แถมโรคอื่นๆ แก่ไปไม่อัลไซเมอร์ เป็นการดูแลตัวเองและคนที่เรารักได้อย่างมีความสุขไปอีกยาวนาน
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเครือพญาไท
อัลไซเมอร์ สัญญาณและปัจจัยเสี่ยงที่ไม่ใช่แค่เรื่องของอายุ
"ออกกำลังกาย" อาจทำให้นอนไม่หลับได้? ควรเว้นกี่ชม.ช่วยเพิ่มการนอนที่ดี