ผู้ปกครองสังเกตให้ดี ลูกเป็น “ไข้หวัด” หรือ “ไข้หวัดใหญ่” กันแน่
เด็กเป็นวัยที่ป่วยและติดเชื้อไวรัสได้ง่าย พ่อแม่ควรทำความเข้าใจโรคและสังเกตลูกอย่างละเอียดว่าป่วยด้วยโรคชนิดใด
โรคไข้หวัดใหญ่พบได้บ่อยทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ และจะมีการระบาดจนทำให้ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเป็นจำนวนมากในช่วงฤดูหนาวเนื่องจากโรคไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เมื่ออากาศมีเปลี่ยนแปลงคนก็จะป่วยมากขึ้น โรคก็จะแพร่กระจายได้ง่ายมากขึ้น โดยเฉพาะในเด็กที่จะติดต่อกันได้ง่าย
เรารู้จัก “ไข้หวัดใหญ่” หรือยัง?
ไข้หวัดใหญ่ เป็นการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจเฉียบพลัน
"ไข้หวัดใหญ่" โรคยอดฮิตใน "เด็ก" ที่มาพร้อมฝน
ลูกเป็นหวัดบ่อย แนะวิธีดูแลร่างกายช่วงอากาศเปลี่ยนแปลง
ซึ่งมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัสที่อยู่ในอากาศหรือสารคัดหลั่ง ทั้งน้ำมูก น้ำลาย หรือการไอ จามใส่กัน ก็เป็นสาเหตุให้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้ เพราะเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สามารถแพร่กระจายทางอากาศได้ เชื้อจะอยู่ตามละอองฝอยที่อยู่บนอากาศ เมื่อเด็กสูดเข้าไปก็จะทำให้ติดเชื้อได้ และเชื้อที่ว่านี้ืคือ “อินฟลูเอนซา” ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด ทั้งเอ บี และซี แต่ที่เราจะได้ยินกันอยู่บ่อยๆ และมีความรุนแรงของอาการคือ สายพันธุ์เอ เช่น สายพันธุ์ H1N1 H5N1 เป็นต้น
ไข้หวัด VS ไข้หวัดใหญ่
บางครั้งเราก็รู้สึกสับสนกับอาการที่ลูกน้อยกำลังเผชิญว่าเป็นแค่ไข้หวัดธรรมดา หรือเป็นไข้หวัดใหญ่กันแน่ ซึ่งเราสามารถสังเกตอาการไข้หวัดใหญ่ได้ง่ายๆ เพราะอาการของไข้หวัดใหญ่จะมีไข้สูงมาก คัดจมูก เจ็บคอ ปวดหัวมาก อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามตัว สำหรับอาการในเด็กเล็กอาจจะมีอาการที่รุนแรงกว่า หรืออาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น ปอดอักเสบ ไซนัสอักเสบ หลอดลมอักเสบ หรือติดเชื้อแทรกซ้อน เพราะร่างกายของเด็กยังไม่มีภูมิคุ้มกันที่มากเพียงพอ และมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย แต่สำหรับไข้หวัดธรรมดานั้นอาการไข้จะน้อยกว่า มีน้ำมูกไหล และมีการไอร่วมด้วยเท่านั้น
เมื่อลูกเป็นไข้หวัดใหญ่…
หลังจากที่ลูกเริ่มมีอาการของไข้หวัดใหญ่แล้ว สิ่งแรกที่พ่อแม่ต้องทำเลยคือ ให้เด็กนอนพักผ่อนให้มาก ดื่มน้ำให้เพียงพอ และกินยาลดไข้อย่างน้อยทุกๆ 6 ชั่วโมง เพื่อบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นต่างๆ เพราะโรคไข้หวัดใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ดังนั้นการให้ยาปฏิชีวะจึงไม่มีผล นอกจากว่าเด็กจะมีอาการติดเชื้อแทรกซ้อนอื่นๆ ซึ่งถ้าหากลูกมีอาการหนัก อย่างเช่น มีไข้สูง กินอาหารไม่ได้ ไอเยอะ มีเสมหะข้นสีเหลืองหรือสีเขียว ควรรีบพาเด็กไปพบแพทย์เพื่อให้หมอวินิจฉัยอาการเพิ่มเติม แต่ถ้าหากลูกน้อยของคุณมีอายุน้อยกว่า 2 ปี เมื่อเริ่มมีอาการอ่อนเพลีย มีไข้สูง ไอจนเหนื่อย ควรรีบพาเด็กไปพบแพทย์เช่นกัน เพราะเด็กอายุน้อยอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้ง่าย โดยเฉพาะเด็กที่มีภูมิคุ้มกันไม่ดี หรือมีโรคประจำตัวอยู่
"หมอเด็ก" แนะวิธีเตรียมตัวก่อนเปิดเรียน On-Site ลูกสุขภาพแข็งแรงทั้งกายและใจ
เด็กเตี้ยเพิ่มมากขึ้น 12.9 % สอดคล้อง "วัยเรียน-วัยรุ่นไทย" ดื่มนมน้อย
ไข้หวัดใหญ่… กันไว้ดีกว่าแก้
ไข้หวัดใหญ่เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากการสัมผัส หรือการสูดดมละอองหรืออากาศที่มีเชื้อไวรัสกระจายอยู่ ดังนั้นการป้องกันไม่ให้ลูกน้อยติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ที่ดีที่สุดคือ การไม่ให้ลูกไปคลุกคลีอยู่กับคนที่ป่วย หมั่นล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ หรือหากต้องอยู่ในที่แออัด หรือต้องเข้าใกล้ผู้ที่ป่วยควรใส่ผ้าปิดปาก เพื่อป้องกันเชื้อเข้าสู่ร่างกายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีการระบาดของไข้หวัดใหญ่ และอีกหนึ่งวิธีที่สามารถป้องกันไข้หวัดใหญ่ได้คือ การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ สามารถฉีดให้กับเด็กอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ซึ่งการฉีดในแต่ละครั้งจะสามารถป้องกันโรคได้นานถึงหนึ่งปี และช่วงเวลาที่ควรฉีด คือช่วงก่อนเข้าฤดูฝน เพราะเป็นช่วงที่มีการระบาดของไข้หวัดใหญ่ได้ง่ายที่สุด
ขอบคุณข้อมูลสุขภาพจาก โรงพยาบาลเปาโล โชคชัย 4
ชัยชนะที่ยังไม่สมบูรณ์ในการขจัดโรคฝีดาษ