สูงวัยก็เก๋าได้! สารอาหารจำเป็นสำหรับผู้สูงอายุ ยืดอายุขัยให้ยาวนาน
“ผู้สูงอายุ” หมายถึงผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ที่มีกิจกรรมน้อยลงทำให้ควรได้รับพลังงานที่ลดลง แต่ความต้องการสารอาหารยังมีเท่าเดิม อีกทั้งยังมีส่วนที่สึกหรอ โภชนาการของผู้สูงวัยจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ควรเอาใจใส่เพื่อให้ช่วยพัฒนาสมอง ความทรงจำ และสร้างภูมิต้านทานโรคได้
ปัญหาด้านสุขภาพในผู้สูงอายุ คือ ภาวะทุพโภชนาการขาดสารอาหาร เพราะประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายของผู้สูงอายุที่ลดลง ปัญหาเกี่ยวกับฟันทำให้การเคี้ยวอาหารได้ลดลง กระเพาะอาหาร และน้ำย่อยทำงานน้อยลง รวมถึงระบบดูดซึมสารอาหารลดลงจึงทำให้ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอซึ่งแน่นอนเมื่อฟันและกระเพาะไม่เอื้อ อาหารที่ดีสำหรับผู้สูงอายุควรเป็นอาหารให้พลังงานพอเหมาะ ให้สารอาหารสูง ลักษณะอาหารเคี้ยวกลืนได้ง่าย ย่อยง่าย อ่อนนุ่ม รสชาติไม่จัดมาก อาจใช้เครื่องเทศ สมุนไพร ช่วยเพิ่มกลิ่นและรสชาติ
รายการตรวจสุขภาพที่จำเป็น ในวัย 50+ ให้ของขวัญผู้สูงอายุด้วยการใส่ใจ
เปิดความลับ! คาร์โบไฮเดรตในผัก ที่ผู้ป่วยเบาหวานเลือกกินได้โรคสงบ
หลักโภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ
- ผู้สูงอายุต้องการพลังงาน 1,400 ถึง 1,800 กิโลแคลอรีต่อวัน
- ควรเสริมสร้างกล้ามเนื้อ
- ชะลอความเสื่อมของกระดูก
- นมและผลิตภัณฑ์จากนม
- ผักใบเขียวเข้ม
- เต้าหู้แข็ง
- ปลาเล็กปลาน้อย
- งาดำ
- ปลาทะเลน้ำลึก
- ใบแปะก๊วย
- ไข่แดง
- กล้วย
- ถั่วเหลืองและข้าวกล้อง
โภชนบัญญัติ 9 ประการสำหรับผู้สูงอายุ
- กินอาหารให้หลากหลายในสัดส่วนที่เหมาะสม และหมั่นดูแลน้ำหนักตัว
- กินข้าวเป็นหลัก เน้นข้าวกล้อง ข้าวขัดสีน้อย
- กินพืชผักและผลไม้ตามฤดูกาลเป็นประจำ
- กินปลา ไข่ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ถั่วและผลิตภัณฑ์จากถั่วเป็นประจำ
- ดื่มนม และผลิตภัณฑ์จากนมเป็นประจำ ให้เหมาะกับระดับไขมันในเลือดด้วย
- หลีกเลี่ยงอาหาร ไขมันสูง หวานจัด เค็มจัด
- ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มรสหวาน
- กินอาหารปรุงสุก สะอาด ปลอดภัย
- งดหรือลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
ข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเปาโล
กลุ่มอาหารลด อาการท้องอืด ขับลม อาหารไม่ย่อย เพิ่มประสิทธิภาพลำไส้ให้สมดุล
เทียบข้อดี ของนมวัว และ นมจากพืช เลือกให้เหมาะกับคุณ ประโยชน์เต็มแก้ว