5 สารอาหารสำหรับผู้ป่วยไทรอยด์ รักษาสมดุลฮอร์โมนโรคไม่กำเริบ
อาหารการกินมักเป็นความมักเป็นความกังวลสำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่นเดียวกับโรคต่อมไทรอยด์ ที่ต้องเลือกกินอย่างเหมาะสมเพื่อไม่ให้เกิดการอักเสบหรือเป็นพิษ รักษาสมดุลฮอร์โมนสนับสนุนการรักษาให้มีประสิทธิภาพ
โรคไทรอยด์ คือโรคที่เกิดจากความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ประเภทเกิดจากการขาดฮอร์โมนไทรอยด์ในร่างกาย กับ ไทรอยด์เป็นพิษ ซึ่งทั้ง 2 ชนิดนี้ ส่งผลให้ร่างกายเกิดการอ่อนเพลีย น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างมาก การเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมจึงมีส่วนสำคัญที่จะทำให้อาการดีขึ้นได้
ธาตุอาหาร สำหรับคนที่มีไทรอยด์ผิดปกติ ประกอบด้วย
- ไอโอดีน
สารอาหารสำคัญในระบบการทำงานของต่อมไทรอยด์ ที่จะช่วยให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนต่างๆ ได้เป็นปกติ
เช็ก 10 อาการเตือน “ไทรอยด์” รู้ทันรักษาได้ ก่อนเสี่ยงหัวใจล้มเหลว
โรคไทรอยด์ 4 เรื่องควรรู้ อัตราเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายหลายเท่า
อาหารที่มีไอโอดีนมากก็จะเป็นอาหารทะเลจำพวก ปลา หอยกาบ หอยนางรม กุ้ง หรือแม้แต่อาหารอื่นๆ เช่น ไข่ กระเทียม เห็ด และเมล็ดงา ก็มีไอโอดีนมากเช่นกัน- สังกะสี
ธาตุที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับระดับฮอร์โมนไทรอยด์ เพราะทั้ง 2 ชนิด ต่างก็มีสาเหตุจากการขาดสังกะสีเหมือนกัน ดังนั้นผู้ที่เป็นโรคไทรอยด์จึงควรรับประทานอาหารที่มีแร่สังกะสีให้มากขึ้น แต่ทั้งนี้ก็ควรอยู่ในปริมาณที่พอเหมาะกับร่างกายด้วย ซึ่งอาหารที่มีสังกะสีสูงก็มีหลากหลาย เช่น อาหารจำพวกเนื้อวัว เนื้อแกะ หอยนางรม ถั่วเหลือง ถั่ววอลนัท เมล็ดทานตะวัน และธัญพืช
- ธาตุเหล็ก
เมื่อร่างกายขาดธาตุเหล็กจะทำให้ความสามารถในการทำงานของต่อมไทรอยด์ลดลง จึงจำเป็นอย่างมากที่จะต้องบริโภคอาหารที่มีธาตุเหล็กอย่างเพียงพอ สำหรับอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงจะเป็นอาหารจำพวกเครื่องในสัตว์ ตับ เลือด ผักโขม แครอท ฟักทอง ถั่วเหลือง ถั่วขาว รวมถึงเมล็ดฟักทองด้วย
ไทรอยด์อ้วน-ผอม ต่างกันอย่างไร ? เช็กสัญญาณโรคไทรอยด์
- สารต้านอนุมูลอิสระ
ทั้ง วิตามินเอ วิตามินอี และวิตามินซี จะช่วยให้ต่อมไทรอยด์ต่อสู้กับการถูกทำลายจากสารอนุมูลอิสระได้ และยังป้องกันการเสื่อมสภาพของต่อมไทรอยด์ได้อีกด้วย ซึ่งอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ ได้แก่ ผลไม้ตระกูลเบอร์รี องุ่น หน่อไม้ฝรั่ง ชาเขียว ผักกาดหอม ถั่วเปลือกแข็ง และธัญพืชชนิดต่างๆ
- วิตามินบี
โดยเฉพาะวิตามินบี 2, บี 3 และบี 6 ที่มีความจำเป็นต่อร่างกายมาก โดยเฉพาะกับระบบการทำงานของต่อมไทรอยด์ นอกจากนี้วิตามินบียังมีหน้าที่สำคัญในการช่วยให้ร่างกายผลิตฮอร์โมน T4 ซึ่งเป็นฮอร์โมนไทรอยด์ชนิดหนึ่ง อาหารที่มีวิตามินบีสูง เช่น ปลา นม เห็ด ไข่แดง เครื่องในสัตว์ ตับ ถั่ว อัลมอนด์ และธัญพืชต่างๆ
นอกจากการดูแลเรื่องอาหารแล้ว แต่วิธีที่ดีที่สุดก็คือการพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อวินิจฉัยโรคให้ชัดเจน จะได้ทำการรักษาอย่างถูกต้องควบคู่ไปด้วย
ขอบคุณข้อมูลจก : โรงพยาบาลพญาไท
“ตาโปน” แบบไหน ? สัญญาณเตือนโรค ไทรอยด์เป็นพิษ-มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
สัญญาณ “มะเร็งต่อมไทรอยด์” มะเร็งที่แพร่ไปต่อมน้ำเหลือง-กระดูกได้ง่าย