6 ข้อมูลผิดๆ เกี่ยวกับการดื่มนม ที่ควรเลิกเชื่อได้แล้ว
เปิด 6 ข้อมูลที่อาจทำให้ความคิดของคุณเปลี่ยนไปเกี่ยวกับการดื่มนม ที่คุณควรเลิกเชื่อได้แล้ว
หลายคนอาจเคยได้ยินว่า “นมพร่องมันเนย” เป็นทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ หรือ “นม”อาจทำให้มีเสมหะ แต่ความจริงแล้ว สิ่งที่ได้ยินมานี้มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์พบว่าไม่ใช่ความจริงเสมอไป
เราเลยขอยก 6 ข้อมูลผิดๆ เกี่ยวกับการดื่มนม ที่หลายคนเข้าใจผิด มาลบล้างความเชื่อเดิมๆ ที่อาจทำร้ายสุขภาพของคุณได้!
นมพร่องมันเนยเป็นตัวเลือกทางสุขภาพที่ดีที่สุด?
มีผลงานวิจัยเมื่อเร็วๆ นี้ พบว่า คนที่ดื่มนมธรรมดาที่มีไขมัน ไม่มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคหัวใจหรือเบาหวานมากกว่าคนที่ดื่มนมพร่องมันเนย
เทียบกันชัดๆ นม 7 ประเภท อะไรดีต่อสุขภาพ-เหมาะกับเรามากที่สุด
“ใบบัวบก”สมุนไพรแก้ช้ำในมีฤทธิ์ช่วยต้านไวรัส ฮีลใจแก้ปัญหาการนอนหลับ
แถมกรดไขมันบางชนิดในนมธรรมดายังทำให้คุณรู้สึกอิ่มมากกว่าด้วย เพราะเมื่อคุณมีนม โยเกิร์ต และชีสที่ไม่มีไขมัน คุณอาจรู้สึกอิ่มน้อยลง และกินมากขึ้นในภายหลัง
อย่างไรก็ตาม นมพร่องมันเนยก็ยังช่วยให้ร่างกายของคุณดูดซึมสารอาหารที่สำคัญจากนม เช่น วิตามินเอและดี รวมถึงกรดไขมันที่สำคัญได้เหมือนกัน
นมทำให้มีเสมหะ?
ผลิตภัณฑ์นมจะไม่ทำให้อาหารหวัดของคุณแย่ลงไปอีก ความรู้สึกเหมือนมีเสมหะเกิดขึ้นหลังจากดื่มนมอาจติดอยู่ในความคิดของคุณ แต่ความจริงแล้วผู้ป่วยไข้หวัดที่ดื่มนม ไม่พบอาการไอหรือน้ำมูกไหลมากไปกว่าคนที่ไม่ดื่มนมเลย
โดยมีผลการวิจัยจากประเทศสวิสเซอร์แลนด์ที่ช่วยยืนยันเรื่องนี้พบว่า คนกลุ่มเดียวที่มีปัญหาระบบหายใจเพิ่มขึ้นหลังจากดื่มนม คือ คนที่เชื่อว่านมสร้างเสหะมากขึ้นนั่นเอง
ยิ่งดื่มนม กระดูกยิ่งแข็งแรง?
มีการวิจัยเกี่ยวกับประโยชน์ของนมออกมามากมาย แต่ผลลัพธ์ที่ไม่น่าเชื่อคือนมอาจไม่ได้ช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรงอย่างที่คิด!
มีผลการศึกษาของ BMJ ที่ตีพิมพ์ในปี 2558 พบว่า ผู้ใหญ่วัยกลางคนที่ทานอาหารเสริมแคลเซียม หรือผู้ที่ได้รับแคลเซียมในระดับสูงจากอาหารของพวกเขามีแนวโน้มที่จะกระดูกหักได้พอๆ กับผู้ที่ทานแคลเซียมน้อย ดังนั้นการทานแคลเซียมจากแหล่งอาหารในปริมาณมาก จึงอาจไม่เกี่ยวข้องกับการเสริมสร้างกระดูกที่แข็งแรง
นอกจากนี้ยังไม่มีหลักฐานการทดลองทางคลินิกที่บอกว่า การเพิ่มการบริโภคแคลเซียมมากๆ จากแหล่งอาหารช่วยป้องกันกระดูกหักได้
อย่างไรก็ตาม การศึกษาเรื่องนี้ยังมีผลการวิจัยที่ออกมาไม่มากนัก จำเป็นจะต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม เพื่อหาวิธีที่ดีที่สุดในการรักษาสุขภาพกระดูกให้แข็งแรงและป้องกันการแตกหักในวัยชราต่อไป
คนส่วนใหญ่ไม่สามารถย่อยแลคโตสในนมได้ดี ?
ความจริงแล้ว ร่างกายของเราสามารถปรับตัวให้ย่อยนมได้สบายๆ โดย Dennis Savaino ศาสตราจารย์ด้านวิทยาศาสตร์โภชนาการแห่งมหาวิทยาลัยเพอร์ดู ผู้ศึกษาการย่อยแลคโตสมานานกว่า 30 ปี บอกว่า แม้แต่คนที่แพ้น้ำตาลแลคโตสในนม คือร่างกายมีเอนไซม์แลคเตสน้อย ทำให้ย่อยแลคโตสได้ยาก จึงมักมีอาการท้องอืด ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ก็ยังสามารถปรับตัวได้
การดื่มนมเป็นประจำ จะทำให้ร่างกายของเราคุ้นเคยกับการย่อยแลคโตสมากขึ้น แม้ว่าคุณจะเคยแพ้มาก่อนก็ตาม แต่วิธีที่จะทำได้นั้นจะต้องปรึกษาแพทย์ก่อนนะ! ดังนั้นหากใครที่เป็นคนรักนม แต่แพ้แลคโดส ให้ลองปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีการดื่มนมอย่างปลอดภัยที่จะไม่ทำให้ปวดท้องหรือมีอาการอื่นๆ ดู
นมเป็นแหล่งแคลเซียมที่ดีที่สุด?
ไม่ได้หมายความว่านมไม่ใช่แหล่งแคลเซียมที่ไม่ดีแต่อย่างใด เพราะนม 1 แก้ว มีปริมาณแคลเซียมที่ต้องการในแต่ละวันประมาณ 30% แต่นั่นไม่ใช่ทางเลือกเดียวที่มีแคลเซียม ซึ่งช่วยเรื่องกระดูก กล้ามเนื้อ หัวใจ และเส้นประสาท
อย่างน้ำส้ม 1 แก้ว มีแคลเซียม 35% ต่อความต้องการแคลเซียมในแต่ละวันของคุณ ขณะที่นมถั่วเหลืองมีแคลเซียมที่เราต้องการในแต่ละวันถึง 45%
ผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากนมมีวิตามินและแร่ธาตุเหมือนกัน?
นมและโยเกิร์ตอุดมด้วยสารอาหารมากกว่าชีสและครีม แม้ชีสจะกลุ่มที่อยู่ระหว่างครีมและนม คือมีสารอาหารมากกว่าครีม แต่ไม่มีวิตามินดี หรือแมกนีเซียมสูงเหมือนนมทั่วไป เพราะถูกเจือจางด้วยไขมัน แต่ชีสก็ยังเป็นแหล่งแคลเซียมที่ดีและเป็นแหล่งโปรตีนที่เหมาะสมอยู่
นมเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ไม่ว่าจะเลือกดื่มแบบสูตรไขมันต่ำ หรือมีไขมันแบบปกติก็ตาม เพราะอุดมด้วยสารอาหารอย่างไขมันดี โปรตีน แคลเซียม แลคโตส และวิตามินอีกหลายตัวที่ช่วยสร้างเม็ดเลือดและกระดูก เสริมสร้างการเจริญเติบโตของสมอง และยังทำให้อิ่มทอง เพิ่มพลังงานให้แก่ร่างกาย แต่ก็ควรกินในปริมาณที่เหมาะสมไม่เช่นนั้นอาจเกิดผลเสียต่อร่างกายได้ คือ เด็กก่อนวัยเรียนวันละ 3 แก้ว เด็กและวัยเจริญเติบโตวันละ 2 แก้ว (400 มิลลิลิตร) ส่วนผู้ใหญ่และผู้สูงอายุวันละ 1 แก้ว (200 มิลลิลิตร)
ขอบคุณข้อมูลจาก : The Healthy และ กระทรวงสาธารณสุข
อร่อยถูกใจ เบาหวานถามหา “ชานมไข่มุก” ภัยเงียบเสี่ยงโรครุมเร้า
“โยเกิร์ต-นมเปรี้ยว”เสริมภูมิคุ้มกันสร้างแอนติบอดี้ป้องกันไวรัส