"Eat What you want, Add what you need" กินแล้วลดน้ำหนักจริงหรือไม่
กระแสกินอาหารถูกปากควบคู่ของมีประโยชน์ (Eat What you want, Add what you need) กำลังเป็นที่นิยมบนโลกโซเชียล แต่ช่วยลดน้ำหนักได้จริงหรือไม่ เช็กที่นี่!
Tiktok เป็นเหมือนดาบ 2 คม มีทั้งผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ ออกมาแบ่งปันความรู้ กลับกันใครๆ ก็สามารถโพสต์เคล็ดลับสุขภาพที่ดีของตัวเองได้ ทำให้การตรวจสอบข้อเท็จจริงมีความสำคัญมากกว่าสมัยก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นเรื่องที่ซับซ้อนอย่างการลดน้ำหนักแล้วล่ะก็ ยิ่งต้องเช็กให้ดี
น่าสนใจมาก เมื่อมีเทรนด์หนึ่งทำติดแฮชแท็กกว่า 2.6 ล้านและยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อีก คือ แนวการกิน "Eat What you want, Add what you need" ถือเป็นเรื่องใหม่ที่เราอาจไม่เคยรู้มาก่อน และต้องได้รับการพิสูจน์
เปิดลิสต์ 6 อาหารดีที่สุด-ยอดแย่ กินแล้วส่งผลต่อกระดูก
“ไข่” มีวิตามินดีเท่าไร ทำไมถึงควรกินทุกวัน เสริมสร้างกระดูกแข็งแรง
ดังนั้นแล้วเรื่องนี้จะเชื่อถือได้มากน้อยขนาดไหน และคุ้มค่าไหมที่จะลองด้วยตัวคุณเอง วันนี้เราได้รวบรวมคำตอบจาก เอมี ลี หัวหน้าฝ่ายโภชนาการของนิวซิฟิกและผู้เชี่ยวชาญด้านการควบคุมน้ำหนัก โรคอ้วน และโภชนาการ มาให้แล้ว!
รู้จักเทรนด์ใหม่ของการลดน้ำหนัก
เทรนด์ "Eat What you want, Add what you need" หมายถึงวิธีการกินที่เราสามารถเลือกกินอะไรก็ได้ที่อยากกิน แล้วกินอาหารเพื่อสุขภาพที่มีโปรตีน สารอาหาร และวิตามินที่จำเป็นตามมาควบคู่กันไปเพื่อให้สมดุลกัน
แม้ว่าชาว TikTok หลายคนจะบอกว่านี่เป็นเพียงคำแนะนำทั่วไปสำหรับผู้ชมของพวกเขา แต่กระแสดังกล่าวได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เพราะดูเป็นเรื่องที่เป็นไปได้สำหรับผู้ป่วยโรคกินไม่หยุด (Binge Eating Disorder) ที่บางคนอาจมีอาการกินไม่หยุดแบบควบคุมตัวเองไม่ได้ เป็นครั้งคราว 2-3 ครั้งต่อเดือน ขณะที่บางคนอาจเป็นทุกวัน นั่นทำให้ในบางวันของพวกเขาอาจได้รับแคลอรี่จากอาหารมากกว่ามื้อปกติ 4-5 เท่า
รู้สิ่งที่ตัวเองต้องการ-ลดการกีดกันโรคกินไม่หยุด
สำหรับข้อดีของเทรนด์กินอาหารใหม่นี้ ข้อแรก คือ มันทำให้คุณสงสัยและตั้งคำถามกับตัวเองว่า เราต้องการอะไรกันแน่ และอะไรคือสิ่งที่เราต้องการจริงๆ ซึ่งช่วยให้เราตัดสินใจอย่างจริงจังเกี่ยวกับการรับประทานอาหารของตัวเอง
นอกจากนี้ยังช่วยลดความรู้สึกว่าถูกกีดกันในการกิน แถมยังสร้างความเพลิดเพลินให้กับมื้ออาหารที่พวกเขาชื่นชอบได้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้ป่วยโรคกินไม่หยุด ที่เขาไม่สามารถควบคุมการกินของตัวเองได้ และเวลาพวกเขากินอะไรมากเกินไป อาจทำให้พวกเขาอับอายส่งผลให้มีพฤติกรรมซ่อนเร้น ไม่กล้าบอกใคร และต้องไปแอบกินอยู่บ่อยๆ แล้วกลับไปรู้สึกผิดกับตัวเองในภายหลัง เทรนด์ใหม่นี้จึงเป็นวิธีที่ทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้สามารถพูดคุยเกี่ยวกับพวกเขาได้อย่างเปิดเผยกับบุคคลอันเป็นที่รักและผู้เชี่ยวชาญที่ไว้ใจได้มากขึ้น
ควบคุมสัดส่วน ข้อจำกัดเดียวเพื่อสุขภาพที่ดี
แน่นอนว่าการได้กินของถูกปาก ตามด้วยอาหารที่มีประโยชน์ ย่อมทำให้เรามีความสุข แต่มีข้อเสียคือแล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าทั้งสองอย่างนี้สมดุลกันแล้วหรือยัง ความน่ากลัวคือคุณอาจรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพได้ง่ายและอาจขาดสารอาหารตามมา
ทุกอย่างขึ้นอยู่กับการควบคุมสัดส่วน แม้แต่สิ่งที่ดีที่สุดที่คุณสามารถกินได้ก็ตาม คุณก็สามารถกินมากเกินไปได้ และตอนนี้มันก็กำลังสะสมแคลอรี่อยู่
นอกจากนี้ด้วยคำจำกัดความหลวมๆ ของคำว่า "ดีต่อสุขภาพ" ของอาหาร ก็อาจทำให้เราตกอยู่ในพื้นที่สีเทาอันพร่ามัวได้ เพราะเราไม่สามารถวัดโภชนาการของอาหารได้อย่างแท้จริง ขนาดเมนูอาหารชนิดเดียวกันระหว่างการทำเองที่บ้านกับการซื้อในร้านกาแฟ แม้ดูเหมือนกันแต่ยังมีคุณค่าโภชนาการไม่เท่ากันเลย ดังนั้นการพยายามควบคุมการกินให้สมดุลที่สุดจึงเป็นสิ่งสำคัญ
การหยุดกินไม่ได้เป็นโรคที่มีจริง และทุกคนควรได้รับความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ กระแสนิยมนี้ถือเป็นแหล่งข้อมูลหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้ชมเข้าใจพฤติกรรมการกินของพวกเขามากขึ้น ส่วนผู้ชมคนอื่นๆ นั้นก็สามารถเข้าพบนักโภชนาการได้เช่นกัน เพื่อนำข้อมูลมาปรับใช้แล้ววางแผนการกินของตัวเองให้สุขภาพดีได้ดีที่สุด
16 เคล็ดลับกินสิ่งที่คุณต้องการและยังลดน้ำหนักได้
การตัดอาหารจานโปรดอย่างของหวานที่คุณชอบโดยสิ้นเชิง จะเพิ่มความอยากอาหารของคุณและทำให้ควบคุมน้ำหนักได้ยากขึ้น นี่จึงเป็นที่มาของ "การกินอาหารให้ครบ 5 หมู่" เพราะความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการลดความอ้วนว่า จะลดความอ้วนต้องอดแป้ง หรือไขมัน นั้นได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์แล้วว่าไม่จริง นั่นหมายความว่าคุณยังสามารถกินอาหารที่ชอบได้ แต่ต้องกะปริมาณอย่างเหมาะสม ส่วนจะกะอย่างไรให้เหมาะสมที่สุดนั้น WikiHow ได้เปิดเผยทริคเบี้องต้น ฉบับวัดง่ายๆ ดังนี้
1.) ให้ใส่ใจกับคำแนะนำเรื่องสัดส่วนและข้อมูลทางโภชนาการบนบรรจุภัณฑ์ โดยให้กินเพียงส่วนเดียวในแต่ละครั้ง หลังจากกินแล้วให้รอดูว่าร่างกายของคุณรู้สึกอย่างไรก่อนที่จะกินอีกครั้ง สำหรับสัดส่วนที่ดีต่อสุขภาพประกอบด้วย
- เนื้อ ขนาดเท่าสำรับไพ่
- ผลไม้ ขนาดเท่าลูกเทนนิส
- ผัก ขนาดประมาณลูกเบสบอล
- แป้ง ขนาดเท่าลูกฮอกกี้
- ไขมัน ขนาดเท่าลูกเต๋า
2.) รับประทานไฟเบอร์และโปรตีนร่วมกับอาหารโปรดของคุณ
3.) รับประทานให้ช้าลง และหลีกเลี่ยงการดูทีวีหรือสิ่งรบกวนอื่นๆ ในขณะที่คุณกิน เพราะคุณจะลืมใส่ใจว่าคุณรู้สึกอิ่มหรือไม่
4.) รับประทานอาหารเมื่อเรารู้สึกหิวจริงๆ
5.) ซ่อนอาการที่ไม่ดีต่อสุขภาพเอาไว้ในจุดที่เข้าถึงยาก จะช่วยให้คุณกินน้อยลง
6.) ใส่อาหารบนจาน หรือชาม เพราะมีผลวิจัยชี้ว่า มีแนวโน้มที่คุณจะกินมากเกินไปถ้ากินโดยตรงจากบรรจุภัณฑ์
7.) ใช้จานเล็กลง แทนที่จะหาจานใบใหญ่มาเติมให้เต็ม ให้เลือกใบเล็กมาใช้แทน เนื่องจากอาหารของคุณจะใช้พื้นที่มากขึ้นในจานใบเล้กนั่นเอง นอกจากนี้ยังมีวิจัยพบอีกว่าการลองวางอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพลงบนจานสีแดง อาจทำให้คุณกินอาหารน้อยลง
8.) ลิ้มรสขนมหวาน ให้กัดขนมที่คุณโปรดปรานทีละนิดๆ แล้วเพลิดเพลินกับรสชาติจริงๆ จากนั้นให้เก็บไว้กินอีกในภายหลัง วิธีนี้คุณจะรู้สึกอิ่มมากขึ้นเมื่อได้กินมันและไม่รู้สึกอยากอาหารบ่อยๆ
9.) วางแผนมื้ออาหารล่วงหน้า เพื่อหลีกเลี่ยงการซื้อของชำขณะคุณหิว เพราะคุณจะอยากซื้อของที่ไม่ได้อยู่ในรายการของคุณมากขึ้น
10.) ดื่มน้ำให้มากขึ้น การดื่มน้ำก่อนและระหว่างมื้ออาหารสามารถช่วยให้คุณรู้สึกอิ่มขึ้นได้
11.) ทำคาร์ดิโอ 30 นาทีทุกวัน
12.) ฝึกความแข็งแกร่ง 2 ครั้งต่อสัปดาห์ เพราะเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อเผาผลาญแคลอรี่ได้เร็วกว่าไขมัน
13.) ไม่จำเป็นต้องไปโรงยิมถ้าคุณต้องการลดน้ำหนัก แต่ให้มองหากิจกรรมที่คุณชอบ
14.) ยืนขึ้นและยืดเส้นยืดสายอย่างสม่ำเสมอ เพราะการนั่งนานๆ ทำให้ระบบเผาผลาญทำงานช้าลง
15.) ฝึกผ่อนคลายความเครียด ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้คุณกินมากเกินไป
16.) นอนหลับให้ได้วันละ 7-9 ชั่วโมง เพื่อให้คุณรู้สึกเครียดน้อยลง กระปรี้กระเปร่ามากขึ้น และหิวน้อยลง
ขอบคุณข้อมูลจาก : The Healthy และ WikiHow
"ชา" หรือ "กาแฟ" เช็กประโยชน์ เลือกเครื่องดื่มให้เหมาะกับเรา
10 ต้นไม้ช่วยฟอกอากาศ ดูดซับสารพิษ-เพิ่มออกซิเจนในบ้านให้สุขภาพดีขึ้น