"อะฟลาท็อกซิน" สารก่อมะเร็งตับมักปนเปื้อนในอาหาร-วิธีหลีกเลี่ยง
หน้าฝนแบบนี้! สายชอบกินถั่ว-ของแห้งต่างๆควรรู้จักอะฟลาท็อกซิน สารก่อมะเร็งที่เติบโตได้ดีในอากาศร้อนชื่น ชอบแฝงตัวในอาหารหลายอย่าง หลบหลีกได้หากรู้ทัน มองข้ามอาจสะสมในร่างกายเสี่ยงอันตรายถึงชีวิต
"อะฟลาท็อกซิน" (Aflatoxin) เป็นสารพิษชนิดหนึ่งที่มักพบปนเปื้อนอยู่ในอาหาร ถือเป็นสารเคมีที่สร้างขึ้นจากเชื้อราซึ่งเติบโตได้ดีในอากาศร้อนและชื้น ถือเป็นสารเคมีที่สร้างขึ้นจากเชื้อราซึ่งเติบโตได้ดีในอากาศร้อนและชื้น อะฟลาท็อกซินในธรรมชาติตรวจพบอยู่ 4 ชนิด คือ บี1 บี2 จี1 และ จี2 โดยชนิดบี1 จะมีพิษสูงสุด รองลงมาได้แก่ บี2 จี1 และจี2 ตามลำดับ
เตือน! สาวไม่ดื่มเหล้าป่วย “มะเร็งตับ” คาดมาจากเนยถั่วปนเปื้อน
5 สารพิษปนเปื้อนในอาหารปลุกเซลล์มะเร็ง-แนะวิธีกินให้ถูกหลัก
จากการศึกษาในประเทศจีนและแอฟริกาพบว่า ผู้ที่ตรวจพบอะฟลาท็อกซินในปัสสาวะมีอัตราเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง 3.8 เท่า และถ้ามีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีด้วย ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นเป็น 12.5 เท่า ที่สำคัญองค์การอนามัยโลก ยังจัดให้สารอะฟลาท็อกซินเป็นสารก่อมะเร็งที่ร้ายแรงมากที่สุดชนิดหนึ่ง เพราะปริมาณของอะฟลาท็อกซินเพียง 1 ไมโครกรัม สามารถทำให้เกิดการกลายพันธุ์ในแบคทีเรียได้แล้ว
นอกจากจะก่อมะเร็งที่ตับ สารอะฟลาท็อกซินยังก่อมะเร็งที่อวัยวะอื่นๆ ด้วย เช่น ไต ระบบหายใจ ระบบทางเดินอาหาร ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และระบบภูมิคุ้มกัน พิษของสารอะฟลาท็อกซินแบบเฉียบพลันนั้น มักเกิดในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ อาการในเด็กคล้ายกับอาการของเด็กที่เป็น Reyes syndrome คือ มีอาการชักและหมดสติ
สำหรับในผู้ใหญ่หากได้รับสารพิษชนิดนี้เข้าไปเป็นจำนวนมาก หรือแม้เป็นจำนวนน้อยแต่ได้รับเป็นประจำ อาจเกิดการสะสมจนทำให้เกิดอาการชัก หายใจลำบาก ตับถูกทำลาย หัวใจและสมองบวม การเกิดไขมันมากในตับ และพังพืดในตับ
อาหารที่พบสารอะฟลาท็อกซิน
- อาหารจำพวกแป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง เช่น แป้งข้าวสาลี แป้งข้าวเหนียว แป้งข้าวโพด แป้งมันสำปะหลัง แป้งท้าวยายม่อม
- อาหารหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากถั่วลิสง เช่น ถั่วลิสงคั่วที่ใช้ปรุงอาหาร เนยถั่วลิสง กากถั่วลิสง น้ำมันถั่วลิสง
- ข้าวโพด มันสำปะหลัง
- อาหารแห้ง เช่น ผัก-ผลไม้อบแห้ง ปลาแห้ง กุ้งแห้ง เนื้อมะพร้าวแห้ง พริกแห้ง พริกไทย งา เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ และถั่วอื่นๆ
หน่วยงานภาครัฐของหลายประเทศ จึงออกกฎหมายควบคุมปริมาณการปนเปื้อนของอะฟลาท็อกซินในผลิตผลทางการเกษตรเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคในแต่ละประเทศ ของไทยเราได้กำหนดเป็นกฎหมาย ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 พ.ศ.2529 ซึ่งกำหนดให้มีการปนเปื้อนของอะฟลาท็อกซินได้ไม่เกิน 20 พีพีบี (20 ส่วนในพันล้านส่วน) หรือ 20 ไมโครกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม
8 วิธีเลี่ยง “มะเร็งตับ” ใครบ้างเสี่ยง ? ควรตรวจสุขภาพแบบเจาะจง
การหลีกเลี่ยงสารอะฟลาท็อกซิน
- เกษตรกร ควบคุมความชื้นให้เหมาะสม รวมทั้งการคัดแยกเมล็ดที่เสียออกไป
- ควรเลือกเป็นถั่วลิสงที่คั่วใหม่ๆ ไม่ค้างคืนหรือเก็บไว้นาน ส่วนพริกแห้ง พริกป่น ไม่ควรซื้อตามท้องตลาดที่มีการแบ่งบรรจุ เลี่ยงที่แลดูชื้น หรือถ้ามีราสีเขียวอมเหลืองขึ้นก็ให้ทิ้งไปอย่านำมาปรุงอาหาร
- ควรเลือกซื้อพริกแห้ง พริกป่น ที่บรรจุในภาชนะบรรจุปิดสนิทจากโรงงานผู้ผลิต มีเลขทะเบียน อย. ที่ถูกต้อง ผ่านการผลิตด้วยระบบ GMP/HACCP ซึ่งเป็นระบบประกันความปลอดภัยอาหารเพื่อเป็นการประกันในเบื้องต้นว่าได้ผ่านการควบคุมจากภาครัฐเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลสำโรงการแพทย์
อาหารล้างพิษตับ ป่วยโรคตับกินแบบไหน ? กินอะไรฟื้นฟูตับได้ ?
กินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปทุกวัน ระวังโซเดียมทะลุ เสี่ยงโรคหัวใจ-ไตวาย