“แปะก๊วย” ประโยชน์ที่มากกว่าป้องกันอัลไซเมอร์-ข้อควรระวังใครไม่ควรกิน
หลายคนเคยได้ยิน แปะก๊วย ช่วยในเรื่องความจำลดอาการอัลไซเมอร์ได้ แต่ยังมีสรรพคุณอีกหลายอย่างที่คุณอาจไม่เคยรู้ เช่นเดียวกับมีบางคนที่ไม่ควรรับประทานโดยเด็ดขาด!
แปะก๊วย Ginkgo biloba พืชสมุนไพรขึ้นชื่อในเรื่องความจำ การรักษาโรคสมองเสื่อม โรคซึมเศร้า อาการหลงๆลืมๆจึงนิยมแนะนำให้ใช้เพื่อปรับปรุงระบบไหลเวียนโลหิตในสมอง เพราะเมื่อสมองขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง ย่อมเสื่อมสมรรถภาพและฝ่อไปในที่สุด ส่งผลต่อการกระทำงานและประสิทธิภาพของสมอง และยังมีการสกัดเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เพื่อบำรุงสมองอีกด้วย ซึ่งนับเป็นสมุนไพรจีนที่มีประวัติอันยาวนาน 5,000 ปี รักษาอาการไอ หืด และภาวะภูมิแพ้
ประโยชน์ “ลูกเดือย” สุดยอดสมุนไพรจีน เส้นใยอาหารสูง แนะข้อควรระวัง!
8ประโยชน์"กล้วย"ป้องกันโรคทางสมองมีฤทธิ์ต้านมะเร็งช่วยลดซึมเศร้าได้
ปัจจุบันคนกลับนิยมนำเมล็ดของแปะก๊วยมาเป็นส่วนประกอบในอาหารต่าง ๆ มากมาย เช่น ขนมหวาน ด้วยรสชาติเฉพาะตัวกลับตัดหวานได้เป็นอย่างดีเพิ่มมิติให้กับอาหารถ้วยดังกล่าวผสมกับอาหารคาวอย่างบะจ่าง
เมล็ดแปะก๊วย 100 กรัม ให้พลังงาน 182 แคลอรี นอกจากนี้ยังมีโฟเลต ไนอะซิน จัดเป็นวิตามินบีชนิดหนึ่งช่วยเรื่องความจำ ป้องกันสมองเสื่อม ที่สูง อีกทั้งยังมีแร่ธาตุอย่าง แมงกานีส โพแทสเซียม แคลเซียม ธาตุเหล็ก แมกนีเซียม สังกะสี และเซเรเนียม โดยเฉพาะทองแดงที่เป็นแร่ธาตุอันมีความสำคัญต่อสารสื่อประสาท และระบบเผาผลาญ รวมทั้งเป็นส่วนประกอบในเม็ดเลือดแดงด้วย
ประโยชน์แปะก๊วยทั้งในเมล็ดและใบ
- ลดระดับคอเลสเตอรอลป้องกันมะเร็ง
การศึกษาในปี 2008 จาก Food Research International พบว่าไขมันที่สามารถละลายน้ำได้ที่อยู่ในเมล็ดแปะก๊วย มีส่วนสำคัญในการลดระดับคอเลสเตอรอลในตับ นอกจากนี้ยังสามารถช่วยในการป้องกันโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจได้อีกด้วยนอกจากนี้ยังเป็นแหล่งสะสมของสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีต่อร่างกาย ป้องกันการถูกทำลายของเซลล์ในร่างกายจากสารอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งเกือบทุกชนิด ถึงจะผ่านความร้อนแล้วสารต้านอนุมูลอิสระเหลืออยู่ถึง 60% เลยทีเดียว
- รักษาโรคซึมเศร้า
มีการศึกษาพบว่าผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าจะมีสภาวะอารมณ์ที่ดีขึ้นเมื่อรับประทานอาหารเสริมที่มีสารสกัดจากใบแปะก๊วย โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งก็มีจิตแพทย์จำนวนไม่น้อยที่แนะนำให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ารับประทานสารสกัดจากใบแปะก๊วยร่วมกับการรับประทานยาเพื่อรักษาอาการ แต่สารสกัดนี้ยังไม่มีการยืนยันว่าหากใช้กับผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า 50 ปี จะให้ผลดีเทียบเท่ากับผู้ป่วยในวัยสูงอายุหรือไม่
- ช่วยรักษาโรคอัลไซเมอร์และภาวะสมองเสื่อม
มีการวิจัยหลายชิ้นพบว่า สารสกัดจากใบแปะก๊วยอาจช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดในร่างกายดีขึ้น โดยเฉพาะระบบไหลเวียนเลือดในสมอง ซึ่งส่งผลดีต่อการช่วยปกป้องการสูญเสียความทรงจำ รวมทั้งบำรุงความจำ สร้างเสริมกระบวนการการคิด และช่วยบรรเทาอาการของโรคอัลไซเมอร์ได้ ในปัจจุบันหลายๆ ประเทศได้ให้การยอมรับถึงสรรพคุณของใบแปะก๊วยในการ รักษาโรคสมองเสื่อม โดยการนำสารสกัดจากใบแปะก๊วยมารวมกับ Phospholipids ให้อยู่ในรูปของ Phytosome ซึ่งช่วยให้การดูดซับที่ผนังลำไส้เล็กดีขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยรักษาภาวะการขาดฮอร์โมนโดปามีน เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคพาร์กินสันด้วย
- เสริมสร้างสมรรถภาพทางเพศ
ในรายที่มีปัญหาเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ การรับประทานสารสกัดจากใบแปะก๊วยสามารถช่วยได้ เพราะ สารสกัดนี้จะช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดในร่างกายดีขึ้น แก้ไขปัญหาเลือดไปไหลเวียนในบริเวณอวัยวะเพศไม่สะดวก โดยจากการศึกษาหนึ่งพบว่าการรับประทานสารสกัดจากแปะก๊วยเป็นประจำติดต่อกัน 6 เดือน ช่วยให้อาการดีขึ้นมากถึง 50%
4 กลุ่มอาหารสมอง ชะลอความเสื่อม บำรุงประสาท ป้องกันอัลไซเมอร์
ข้อควรระวังในการบริโภคแปะก๊วย
การรับประทานแปะก๊วยหรือสารสกัดจากใบแปะก๊วยโดยทั่วไปแล้วค่อนข้างปลอดภัยหากรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม แต่ก็อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ เช่น ปวดศีรษะ วิงเวียน ใจสั่น คลื่นไส้ แน่นท้อง ระคายเคืองกระเพาะอาหาร ท้องผูก หรือท้องเสีย และอาจเกิดอาการแพ้ในผู้ที่แพ้แปะก๊วย
- ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์หรือผู้ที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร ไม่ควรรับประทานแปะก๊วยหากกำลังตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เพราะการรับประทานแปะก๊วยอาจไม่ปลอดภัย และอาจเป็นสาเหตุทำให้คลอดก่อนกำหนดหรือมีเลือดออกมากในขณะคลอด และยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าการรับประทานแปะก๊วยในช่วงให้นมบุตรจะส่งผลให้เกิดอันตรายต่อมารดาหรือทารกหรือไม่
- ทารกและเด็ก การรับประทานสารสกัดจากใบแปะก๊วยอาจเป็นไปได้ว่าปลอดภัยหากใช้ในระยะเวลาสั้น ๆ
- ผู้ป่วยโรคเบาหวาน อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพของยาที่ใช้อยู่ในขณะนั้น และควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอย่างใกล้ชิด
- ผู้ที่มีอาการชัก ไม่ควรรับประทานแปะก๊วยหากเคยมีอาการชัก เพราะอาจทำให้อาการกำเริบได้
- ผู้ที่มีภาวะขาดเอนไซม์จีซิกพีดี (G6PD) ควรหลีกเลี่ยงหรือรับประทานแปะก๊วยด้วยความระมัดระวัง เพราะอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดเม็ดเลือดแดงแตกสลายและโลหิตจางอย่างรุนแรง
- ผู้ที่มีภาวะมีบุตรยาก การรับประทานแปะก๊วยอาจส่งผลต่อการตั้งครรภ์ได้ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนหากกำลังวางแผนการตั้งครรภ์
- ผู้ที่ต้องเข้ารับการผ่าตัด ควรหยุดรับประทานแปะก๊วยก่อนการผ่าตัดอย่างน้อย 2 สัปดาห์ เพราะอาจส่งผลให้เลือดแข็งตัวช้าลง หรือทำให้มีเลือดออกมากในระหว่างหรือหลังการผ่าตัด และไม่ควรใช้แปะก๊วยในผู้ที่มีภาวะเลือดออกผิดปกติ
- ผู้ที่รับประทานยาหรืออาหารเสริมเป็นประจำ รวมถึงอาจส่งผลต่อประสิทธิภาพในการรักษาทางจิตเวชด้วยไฟฟ้า (Electroconvulsive Therapy: ECT) เพราะอาจทำให้เกิดปฏิกิริยาที่ไม่พึงประสงค์ หากรับประทานแปะก๊วยร่วมกับการใช้ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด,ยาในกลุ่มเอ็นเสด,ยาต้านเกล็ดเลือด,ยากันชัก,ยารักษาอาการซึมเศร้า,ยารักษาโรคเบาหวาน,ยาที่ส่งผลต่อตับและสมุนไพร เช่น กระเทียม ซอว์พาเมตโต เซนต์จอห์นวอร์ต เป็นต้น
อย่างไรก็ตามในการใช้สารสกัดแปะก๊วย เป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริม จะต้องได้รับใบสำคัญการใช้ฉลากอาหาร โดยอนุญาตเฉพาะที่มีขนาดรับประทานไม่เกินวันละ 120 มิลลิกรัม และจะต้องไม่ระบุสรรพคุณใด ๆ ในการบำบัดรักษาโรคเลย
ขอบคุณข้อมูลจาก : BNH Hospital,กระทรวงสาธารณสุขและpobpad
ภาพจาก : freepik
ประโยชน์ “ผักตระกูลกะหล่ำ” บริโภคเป็นประจำลดเสี่ยงสารพัดมะเร็ง
สุดยอดอาหารสมองจากธรรมชาติเพิ่มการกระตุ้น ชะลอความเสื่อมลดอัลไซเมอร์!