“บอระเพ็ด” สมุนไพรรสขม สรรพคุณช่วยให้เจริญอาหาร ข้อควรระวังก่อนใช้
“บอระเพ็ด” เชื่อว่าหลายคนรู้จัก และแม้จะไม่เคยเห็นเคยกินแต่ก็รู้ว่ามีรสขม! เผยสรรพคุณและข้อควรระวังก่อนกินยา ไม่ควรใช้นานแค่ไหนอันตรายต่อหัวใจ
บอระเพ็ด สมุนไพรไทยที่หลายคนรู้ถึงฤทธิ์ของความขม! ทำเอาหลายคนขยาดไม่อยากเข้าใกล้ แต่จริงๆแล้วมีสรรพคุณมากมาย โดยบอระเพ็ด เป็นไม้เลื้อยที่พบได้ตามป่าดิบแล้ง นิยมนำมาใช้ทำเป็นยาจะคือส่วนของ “เถาเพสลาก” เพราะมีลักษณะไม่แก่หรืออ่อนเกินไปนัก และมีรสชาติขมจัด แต่ถ้าเป็นเถาแก่จะแตกแห้ง รสเฝื่อน ไม่ขม หรือถ้าอ่อนเกินไปก็จะมีรสไม่ขมมาก
สรรพคุณบอระเพ็ด
เป็นยาอายุวัฒนะ แก้ปวดเมื่อย แก้ไข้ปวดศีรษะ รักษาฟัน รักษาโรคริดสีดวงทวาร
“ย่านาง” ประโยชน์สมุนไพรเย็น ขจัดพิษกระตุ้นระบบไหลเวียนเลือด
เปิดสรรพคุณ“ตะไคร้” สมุนไพรไทย แก้ดับร้อน มีเกลือแร่จำเป็นหลายชนิด
ช่วยให้เจริญอาหาร แก้ฝีมดลูก ฝีมุตกิต แก้ร้อนใน รักษาโรคเบาหวาน ลดความร้อน แก้ดีพิการ แก้เสมหะ เลือดลม แก้ไข้จับสั่น
ข้อแนะนำและข้อควรระวังบอระเพ็ด
- ส่วนที่นิยมนำเถาบอระเพ็ดมาใช้ทำเป็นยาจะ คือ ส่วนของ “เถาเพสลาก” เพราะมีลักษณะไม่แก่หรืออ่อนเกินไปนัก และมีรสชาติขมจัด แต่ถ้าเป็นเถาแก่จะแตกแห้ง รสเฝื่อน ไม่ขม หรือ ถ้าอ่อนเกินไปก็จะมีรสไม่ขมมาก
- การศึกษาในอาสาสมัครสุขภาพดี 12 คน ที่กินบอระเพ็ด ในขนาด 1 กรัม วันละ 3 ครั้ง นาน 8 สัปดาห์ พบแนวโน้มระดับเอนไซม์ในตับเพิ่มขึ้นแสดงว่าน่าจะก่อให้เกิดพิษต่อตับ
- หากนำบอระเพ็ดมาใช้ และพบอาการผิดปกติของการทำงานตับ และไต ควรหยุดการใช้
- ห้ามใช้ในผู้ที่มีภาวะเอนไซม์ตับบกพร่อง หรือ ผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคตับ หรือ โรคไต
แม้บอระเพ็ดจะมีสรรพคุณในการรักษาโรคและอาการต่าง ๆ มากมาย แต่ก็ยังมีงานศึกษาวิจัยที่สนับสนุนสรรพคุณดังกล่าวอยู่น้อย ซึ่งสรรพคุณทั้งหมดนี้ส่วนใหญ่แล้วจะมาจากบทเรียนที่ใช้ต่อเนื่องกันมาเป็นเวลานาน จึงเกิดเป็นความเชื่อถือและใช้สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน จนองค์การเภสัชกรรมได้ผลิตบอระเพ็ดแคปซูลออกมาจำหน่ายเพื่อใช้เป็นยาช่วยในการเจริญอาหาร
“กระจับเขาควาย” พืชน้ำสมุนไพรไทยรสกรอบหวาน ช่วยเสริมสมรรถภาพทางเพศ
อย่างไรก็ตามการกินอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานอาจมีผลต่อหัวใจ เนื่องจากเป็นยารสขม สิ่งที่ต้องระวังก็คือไม่ควรใช้ติดกันต่อเนื่องเกิน 1 เดือน ถ้าหากจำเป็นต้องใช้ในเดือนถัดไปก็ควรเว้นระยะเวลา 1-2 สัปดาห์เป็นอย่างน้อยเพื่อให้ร่างกายสามารถปรับสภาพได้ก่อน ถ้าใช้ไปแล้วมีอาการมือเท้าเย็น แขนขาหมดเรี่ยวแรงก็ควรหยุดรับประทาน จึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานโดยเฉพาะผู้มีโรคประจำตัว
ขอบคุณข้อมูลจาก : disthai,โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช และ medthai
ประโยชน์“ข้าวไรซ์เบอร์รี”ดัชนีน้ำตาลต่ำ ใยอาหารสูง ตัวเลือกผู้ป่วยเบาหวาน
เปิดสรรพคุณ “เพชรสังฆาต” สมุนไพรไทย เด่นรักษาริดสีดวง เผยข้อควรระวัง!