สารในชาเขียว ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ลดไขมันน้ำตาลในเลือดลดเสี่ยงโรคมะเร็ง
ชาเขียว เครื่องดื่มยอดฮิตมีคาเฟอีนขึ้นชื่อเรื่องดูแลสุขภาพ เผยสารสำคัญในชาเขียว ที่ช่วยลดไขมัน ที่มีฤทธิ์ต้านมะเร็งบางชนิดได้
ชาเขียว ก็คือ ชา (Camellia sinensis) ที่ไม่ผ่านการหมัก เตรียมได้โดยการนำใบชาสดมาผ่านความร้อนเพื่อทำให้แห้งอย่างรวดเร็ว ความร้อนจะช่วยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ทำให้ไม่เกิดการสลายตัว ทำให้ได้ใบชาที่แห้งแต่ยังสดอยู่และยังมีสีที่ค่อนข้างเขียวจึงเรียกว่า สารสำคัญที่พบได้ในชาเขียว ได้แก่ กรดอะมิโน วิตามิน B, C, E สารในกลุ่มแซนทีนอัลคาลอยด์ (xanthine alkaloids) คือ คาเฟอีน (caffeine) และธิโอฟิลลีน (theophylline) ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของระบบประสาทส่วนกลางส่งผลให้ร่างกายรู้สึกกระปรี้กระเปร่า
ชาเขียวกับมัทฉะไม่เหมือนกัน! แต่สารต้านอนุมูลอิสระคับแก้ว!
ชาขาว และ ชาเขียว ต่างกันอย่างไร? เปิดประโยชน์และกรรมวิธีผลิต
และสารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ (flavonoids) ที่เรียกว่า แคททีชิน (catechins) แคททีชินที่พบมากที่สุดในชาเขียวคือ สารอีพิกัลโลคาเทชินกัลเลต (epigallocatechin gallate) ซึ่งมีความสำคัญในการออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
สารสำคัญในชาเขียว
- สารกลุ่มโพลิฟีนอล เช่น อีพิกัลโลคาเทชินกัลเลต (epigallocatechin gallate : EGCG) , ไมริซิติน (myricetin), เคอร์ซิติน (quercetin) และแคมป์เฟอรอล (kaempferol) ที่มีฤทธิ์ต้านมะเร็งบางชนิดได้ในชาเขียวจะพบสารอีพิกัลโลคาเทชินกัลเลตในปริมาณมากกว่าสารชนิดอื่น นั่นจึงทำให้สามารถต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและระดับน้ำตาลในเลือดได้ด้วย
- สารในกลุ่มแซนทีนอัลคาลอยด์ (xanthine alkaloids) ได้แก่ คาเฟอีน (caffeine) และธิโอฟิลลีน (theophylline) ที่มีฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ร่างกายรู้สึกตื่นตัว
- ชาเขียวยังมีกรดอะมิโน วิตามิน B, วิตามิน C และวิตามิน E ที่จำเป็นต่อร่างกาย คลอโรฟิลล์ที่มีประโยชน์ต่อกระบวนการสร้างเม็ดเลือดแดง และช่วยขับของเสียออกจากร่างกาย
ชาเขียวปกติจะมาในรูปแบบของใบชาแห้ง โดยต้องนำใบชามาชงหรือต้มและกรองก่อนนำไปดื่มเป็นเครื่องดื่มร้อนเย็น หรือปั่น แต่ไม่เหมาะที่จะนำไปทำขนมหรือไอศกรีม
ประโยชน์ของชาเขียว
ฤทธิ์ในการลดความอ้วน มีงานวิจัยระบุว่าสารแคททีชินที่พบได้มากในชาเขียวนั้น มีฤทธิ์ช่วยเพิ่มการเผาผลาญพลังงานและไขมันจึงส่งผลต่อการควบคุมน้ำหนักของร่างกาย การดื่มชาเขียวยังช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและระดับน้ำตาลในเลือด และมีงานวิจัยทางคลินิคพบว่าชาเขียวมีฤทธิ์ต่อต้านการเกิดโรคของหลอดเลือดหัวใจ นอกจากนี้ยังมีการศึกษาเกี่ยวกับการดื่มชาเขียวมีผลช่วยลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งต่าง ๆ แต่ทั้งนี้ยังไม่มีงานวิจัยใดยืนยันการทดลองและสรุปผลว่าชาเขียวสามารถรักษาโรคมะเร็งได้
ชาขาว และ ชาเขียว ต่างกันอย่างไร? เปิดประโยชน์และกรรมวิธีผลิต
ข้อแนะนำการกินชาเขียว
มีรายงานเกี่ยวกับการบริโภคชาเขียวระบุว่าถ้าบริโภคในปริมาณสูงและติดต่อกันเป็นเวลานานสามารถส่งผลเสียต่อตับได้ โดยมีรายงานการวิจัยในหนูเม้าส์พบว่าสาร epigallocatechin gallate (EGCG) จะส่งผลให้ตับถูกทำลายเล็กน้อยเมื่อบริโภคในขนาดสูง (2,500 มก./กก.) ติดต่อกัน 5 วัน และความเป็นพิษต่อตับจะยิ่งเพิ่มขึ้นเมื่อบริโภคในขณะที่เป็นไข้ จากงานวิจัยช่วยยืนยันว่าการบริโภคชาเขียวในระยะเวลาสั้นๆ มีความปลอดภัย แต่ถ้าบริโภคในปริมาณสูงอาจส่งผลให้ตับถูกทำลาย
ดังนั้นหากมีความผิดปกติเกี่ยวกับตับหรือมีอาการไข้ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคชาเขียวในขนาดสูงและติดต่อกันเป็นเวลานาน ที่น่าสังเกตคือรูปแบบการบริโภคชาเขียวตั้งแต่สมัยโบราณเป็นการบริโภคในรูปแบบการชงชาดื่มเองและไม่มีส่วนผสมของน้ำตาล ดังนั้นการดื่มชาเขียวที่ชงเองนอกจากจะได้รับรสชาติและกลิ่นหอมแท้จากชาเขียวแล้วยังได้รับประโยชน์จากสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีกว่าเครื่องดื่มชาเขียวสำเร็จรูปซึ่งจะมีส่วนผสมของน้ำตาลและมีปริมาณชาเขียวที่เจือจาง ชาเขียวร้อน 1 ถ้วยมี EGCG ประมาณ 100 - 200 มก. จากข้อมูลงานวิจัยความเป็นพิษของชาเขียวที่กล่าวไว้เบื้องต้น ในแต่ละวันจึงไม่ควรดื่มเกิน 10 - 12 ถ้วย ทั้งนี้ชาเขียวยังมีคาเฟอีน การดื่มในปริมาณสูงอาจส่งผลให้นอนไม่หลับได้ ควรดื่มในปริมาณที่เหมาะสมโดยการชงใบชา 1 - 2 ช้อนชาในน้ำร้อน วันละ 3 ถ้วย ในระหว่างมื้ออาหาร เพื่อให้ได้ประโยชน์ต่อสุขภาพและไม่ส่งผลเสียต่อร่างกาย
สำหรับเครื่องดื่มชาเขียวสำเร็จรูปจะมีปริมาณใบชาที่น้อยมากจึงมีสารสำคัญน้อย ถ้าจะดื่มเพื่อที่จะได้รับประโยชน์จากสารโพลีฟีนอล EGCG อาจจะต้องดื่มหลายขวดต่อวัน ซึ่งแทนที่จะได้ประโยชน์อาจทำให้เสียสุขภาพเนื่องจากร่างกายได้รับปริมาณน้ำตาลที่เป็นส่วนผสมในชาเขียวสำเร็จรูปนั้นสูงเกินไป จึงไม่ควรดื่มชาเขียวสำเร็จรูปบ่อยจนเกินไป
ขอบคุณข้อมูลจาก : คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา
สารต้านอนุมูลอิสระ จากธรรมชาติ ช่วยชะลอวัย ลดเสี่ยงจอประสาทตาเสื่อม
“เส้นบุก”กินเส้นได้แบบไม่ต้องรู้สึกผิด ทางเลือกช่วยควบคุมน้ำหนัก