ชาเขียวกับมัทฉะไม่เหมือนกัน! แต่สารต้านอนุมูลอิสระคับแก้ว!
ชาเขียวเป็นหนึ่งในอาหารยอดนิยมของคนไทยแต่รู้หรือไม่ ? ชาเขียวนั้นแตกต่างจากมัทฉะ ที่มีสีเข้มข้นสารต้านอนุมูลอิสระสูงมากกว่า!
ชาเขียวกับมัทฉะ แตกต่างกันอย่างไร?
ชาทั้งสองแบบนี้นั้นมาจากต้นชาชนิดเดียวกัน คือต้นชา (Camellia Sinensis) แต่แตกต่างกันที่กรรมวิธีการผลิต
- ชาเขียว (Green Tea) ที่เรารู้จักกันนั้นมักใช้ในรูปแบบใบ ซึ่งจะนำมาทำให้แห้งหรือใส่ในถุงชา ก่อนที่จะนำไปต้มในน้ำร้อนระยะเวลาหนึ่ง
- มัทฉะ (Matcha) ก่อนการเก็บเกี่ยวประมาณ 20 - 30 วัน มัทฉะจะถูกคลุมด้วยตาข่ายที่ช่วยป้องกันแสง เพื่อเป็นการทำให้ใบชาผลิตคลอโรฟิลล์และสารประกอบภายในมากขึ้น
หลังจากนั้นใบชาที่มีสีเขียวเข้มนั้นก็จะถูกนำมาบด และกากใยออกจนหมด และในที่สุดเราก็จะได้ผงมัทฉะที่มีสีสันสดใสกว่าปกติออกมา
ฉะนั้น “มัทฉะ” จึงมีคุณภาพและแอนติออกซิแดนซ์สูงกว่า เสมือนเป็นการดื่มใบชาทั้งใบนั่นเอง อีกทั้งยังมีรสชาติก็มักจะเข้มข้นกว่าด้วย ทั้งนี้ในมัทฉะนั้นมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ชื่อว่า คาเตชิน อยู่ค่อนข้างสูงเลยทีเดียว สูงมากกว่าในชาเขียวทั่วๆไปถึง 137 เท่า และมากกว่าในชาเขียวอย่างดีชนิดอื่นๆถึง 3 เท่าเลยทีเดียว
ประโยชน์ของชาเขียวมัทฉะ
- ลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ โดยมีผลช่วยในการลดไขมันและน้ำตาลในเลือด ช่วยกระตุ้นการผลิตอินซูลินและช่วยดูดซึมกลูโคสในผู้ป่วยเบาหวาน
- ดีท็อกซ์ร่างกาย ในผงชาจะมีตัวคลอโรฟิลล์อยู่ซึ่งเป็นสารที่ช่วยกำจัดพิษในร่างกายได้ดี ทั้งในเลือด เนื้อเยื่อ
- อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ มีโพลีฟีนอล คาเทชิน และแอลธีอะนีน ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย และลดการก่อเกิดของเซลล์มะเร็ง
- มีส่วนช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย มีสารแอลธีอะนีนคอยออกฤทธิ์ลดความวิตกกังวล ช่วยให้สมองมีความสงบสุข ผ่อนคลาย
- มีส่วนช่วยในการลดน้ำหนักเมื่อสารต้านอนุมูลอิสระ ผสานกับคาเฟอีน ทำให้การลดน้ำหนักเป็นไปอย่างมีประสิทธิผลมากขึ้น
เพียงใช้ผงมัทฉะประมาณ 2 ช้อนชา มาผสมกับน้ำร้อนประมาณ 240 มิลลิลิตร (1 ถ้วย) เมื่อผสมให้เข้ากันแล้วดื่มได้! แต่ขอแนะนำให้ดื่มเป็นชาโดยไม่ผสมน้ำตาลนะคะ อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเป็นมัทฉะหรือชาเขียวก็ล้วนแต่มีประโยชน์ทั้งสิ้นแต่ควรดื่มแต่พอดีหลีกเลี่ยงการดื่มก่อนนอนเพราะอาจกระตุ้นให้นอนไม่หลับได้ อีกทั้งควรดื่มน้ำเปล่าสะอาดให้มากๆรวมทั้งกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ด้วยนะคะ ^^
ขอบคุณข้อมูลจาก : มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทยฯ และ โรงพยาบาลกลาง สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร