รู้ทันซึมเศร้า การเปลี่ยนแปลงที่ต้องใช้ “ความเข้าใจ”
ในสถานการณ์ปัจจุบัน เหตุการณ์ชวนสะเทือนใจมากมายถูกส่งต่อในโลกโซเชียล ผู้คนอ่านข่าวสารและรับแรงกดดัน ผสมความเครียดไม่รู้ตัว จนอาจะนำไปสู่การเป็นโรคซึมเศร้า
ในเหตุการณ์ที่สะเทือนใจในสังคม อาการเจ็บป่วยที่ร้ายแรงไม่ใช่แค่ร่างกาย แต่เป็นเรื่องของการเจ็บป่วยทางใจที่มองไม่เห็น ค้นลึกในความรู้สึก มองให้เห็นความเปลี่ยนแปลงที่อาจะเรื้อรัง จนนำไปสู่ ‘โรคซึมเศร้า’ พาค้นพบอีกหนึ่งอาชีพ ที่ต้องหาสมดุลแห่งชีวิต เพื่อการเข้าใจที่ถูกต้อง รายการ Coffee Club พาพูดคุยกับ ดร.พญ.เบ็ญจมาส พฤกษ์กานนท์ จิตแพทย์ กรมสุขภาพจิตและรพ.พญาไท 3 ที่จะพาไปสังเกตตัวเอง คนรอบข้าง การเปลี่ยนแปลงที่ต้องใช้ใจรับฟัง
เกิดได้กับทุกคน! เช็กสัญญาณเตือนเป็น “โรคซึมเศร้า” ไม่รู้ตัว
แยกให้ออกระหว่าง "ซึมเศร้า" กับ "ไบโพลาร์" เหมือนหรือต่างอย่างไร
รู้จักโรคซึมเศร้า
คุณหมอเบ็ญจมาส นักจิตแพทย์จาก รพ. พญาไท 3 ไขความกระจ่างให้ฟังว่า โรคซึมเศร้าเป็นเรื่องที่ใกล้ตัว เมื่อเทียตัวเลขง่ายๆ พบว่าในอัตราคนไทยต่อ 100 คน เฉลี่ยแล้วจะมี 2 คน ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า และการป่วยดังกล่าวเป็นเรื่องที่พบเจอได้ เพราะทุกคนมีโอกาสเจอเรื่องเศร้า เรื่องที่กระทบจิตใจ คุณหมอได้อธิบายเพิ่มเติมว่า ก่อนที่จะตัดสินว่าตัวเองเป็นโรคซึมเศร้านั้น ต้องรู้ก่อนว่าอาการก่อนที่จะตัดสินนั้นเป็นอย่างไร และการที่จะบ่งบอกได้ว่าเป็นโรคซึมเศร้า ต้องมีอย่างน้อย 5 อาการ ที่เกิดขึ้นต้องมีอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ในระยะเวลา มากกว่า 2 อาทิตย์
สังเกตอาการเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้า
- อ่อนแรงไม่อยากทำอะไรเลย
- คิดเรื่องความตาย ไม่อยากมีชีวิตอยู่
- นอนไม่หลับ มีความผิดปกติทางอารมณ์
- พฤติกรรมการกินเปลี่ยนไปแบบฉับพลัน
- มีสมาธิในการทำสิ่งต่างๆ ที่ลดงลง
คุณหมอเบ็ญจมาส เพิ่มเติมว่า บางคนอาจจะมีอาการแบบนี้ แต่ไม่ต้องตกใจไป เพราะต้องประเมินถึงระยะเวลาของอาการที่เกิดขึ้นด้วย ซึ่งนั่นเป็นตัวแปรสำคัญของการวินิจฉัย
เข้าใจความรู้สึก ก่อนตัดสินใจ
ในสถานการณ์ปัจจุบัน เหตุการณ์ชวนสะเทือนใจมากมายถูกส่งต่อในโลกโซเชียล ผู้คนอ่านข่าวสารและรับแรงกดดัน ผสมความเครียดไม่รู้ตัว บางคนเกิดภาวะความเครียด คุณหมออธิบายว่า มีคนไข้หลายคนที่มาเข้าพบ และสงสัยว่าตนเองเป็นโรคซึมเศร้า หลังทำการตรวจแล้วก็พบว่าส่วนมากที่มาขอคำปรึกษา มีสภาวะการเป็นโรคซึมเศร้าจริง โดยมีความรุนแรงที่ต่างกัน
สำหรับการวินิฉัย ถ้ามีแค่อาการที่อาจจะเรื้อรัง ก็สามารถเรียกได้ว่ามีอาการเศร้า หรือสภาวะซึมเศร้า ยังไม่ถึงกับเป็นโรคแต่เมื่อไหร่ที่ปล่อยไว้ หรือมีความร้ายแรงจนเป็นโรคอันนั้นก็ต้องรักษากันอย่างจริงจัง
คุณหมอเบญจมาศได้อธิบายระดับความรุนแรงตามลำดับ
- อาการซึมเศร้าระดับน้อย
ที่รับการรักษาด้วยการปรึกษา คำแนะนำ ออกกำลังกาย ยังไม่ต้องใช้ยาในการรักษาซึ่งมีโอกาสที่จะหายได้เอง
- อาการซึมเศร้าระดับกลาง จนมีความเสี่ยงจะเป็นมาก
ระดับนี้ ดูได้จากว่า ผู้ป่วยจะมีความคิดอยากตาย มีภาพของการฆ่าตัวตาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคิดวิธีการที่จะตาย หรือลองทำร้ายตัวเองแล้วด้วย ซึ่งในจุดนี้ เราไม่สามารถรอได้ต้องรีบปรึกษาแพทย์อย่างเร่งด่วน และต้องให้ยาเพื่อรักษาสมดุลของเคมีในสมอง เพื่อรักษา
นอกจากจะมีอาการอยากตาย ไปจนถึงการซึมไม่อยากเข้าสังคมแล้ว ก็อาจจะมีอาการทางประสาทเข้าร่วมด้วย เช่น อาการหูแว่ว เห็นภาพหลอน หลงผิดเชื่อในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เช่นการเห็นคนจะมาทำร้าย หรือได้ยินเสียงที่ไม่มีอยู่จริง ทั้งหมดอาจจะเป็นอาการแทรกซ้อนจากสภาวะการเป็นโรคซึมเศร้าได้และต้องรักษาด้วยยา จิตแพทย์ยืนยันว่าถ้าสงสัยว่าเป็นโรค ให้มารักษาก่อนได้ เพราะในสภาวะเป็นโรคซึมเศร้าก็มีโอกาสที่จะรักษาและเป็นเรื้อรังอยู่เหมือนกัน แต่ขึ้นอยู่กับสภาวะจิตใจ
ตัวเลขคนพยายามฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้นตามสภาวะความตึงเครียดของสังคม
คุณหมออธิบายว่า ต้องยอมรับว่าในสภาพปัจจุบันที่ตึงเครียดและมีแรงกดดันทางสังคมเพิ่มมากขึ้น ตัวเลขคนพยายามฆ่าตัวตายการฆ่าตัวตายสำเร็จ มีตัวเลขที่สูงขึ้น จากเดิมทีอยู่ที่ 6-7 ต่อแสนประชากร เพิ่มขึ้นจากเดิมอีกเป็นเท่าตัว คุณหมอเพิ่มเติมว่า ตัวเลขที่แจ้งไป ยังไม่ใช่ตัวเลขที่เป็นทางการ เพราะตัวเลขทางการจะนับจากการตัดรอบปี ตามจำนวนการแจ้งใน มรณะบัตร แต่จากที่มีข้อมูลในมือ คือเพิ่มขึ้นอยู่พอสมควร
ทำความรู้จักอย่างเข้าใจ... “โรคอารมณ์สองขั้ว” (BIPOLAR DISORDER)
รู้จักโรค PTSD (Post-traumatic Stress Disorder)เมื่อพบเจอความสูญเสียอย่างกระทันหัน นอกจากโรคซึมเศร้า อีกโรคที่มีความเสี่ยงจะเกิดคือ โรค PTSD ซึ่งเป็นความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ เป็นภาวะความผิดปกติทางอารมณ์ที่เกิดขึ้นภายหลังพบเหตุการณ์ความรุนแรง สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งโรคดังกล่าวก็ต้องรักษาด้วยยา เพราะถือเป็นความเปลี่ยนแปลงทางสมองเช่นกัน
ผลกระทบอาการของ PTSD
- อาการของการเห็นภาพซ้ำ หรือฝันเรื่องเดิมซ้ำๆ ในเหตุการณ์เดิม
- ตื่นตกใจง่ายหรือตลอดเวลา
- อารมณ์เปลี่ยน นอนไม่หลับ และผิดหวังกับสถานการณ์เดิมซ้ำๆ
- หลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ใกล้เคียงกับสถานการณ์ที่กระทบจิตใจ
ความแตกต่างระหว่าง โรคซึมเศร้า และ PTSD
คุณหมออธิบายว่า ในโรคทั้งสองแบบ แม้จะเป็นโรคทางสมองที่เหมือนกัน แต่ในเรื่องของอาการจะแตกต่างกัน เช่น ในโรคซึมเศร้าจะมีสภาวะของการ ซึมเศร้า รู้สึกโทษตัวเอง และมีสภาวะบางอย่างที่เปลี่ยนไปอย่างฉับพลัน ในขณะที่ โรค PTSD แม้จะมีอาการที่ใกล้เคียงกัน แต่ที่เพิ่มมาคืออาการของ การหลีกเลี่ยงสถานการณ์ หรือสถานที่ๆ เคยกระทบจิตใจ
เคล็ดลับการพูดคุยกับคนเป็นโรคซึมเศร้า
ความเข้าใจคนมีสภาวะซึมเศร้า หรือ คนที่เป็นโรคซึมเศร้า คือการฟัง หมอบอกว่า การฟังเป็นอาวุธที่ดี และเข้าใจคุณมีอาการซึมเศร้ามากที่สุด เพราะ การฟังที่ดี คือการฟังที่ไม่ตัดสินอะไร เมื่อใช้เวลาเพื่อฟังอย่างตั้งใจ จะรู้สถานการณ์ได้ทันทีว่าเราควรพูดอะไร หรือเข้าใจแบบไหน
อย่างไรก็ตาม การเข้าหาผู้มีอาการเป็นโรคซึมเศร้านั้นไม่ยากอย่างที่เข้าใจกัน คุณหมอแนะว่า เมื่อเรามีคนรอบข้างเป็นโรคซึมเศร้า หรือมีภาวะที่อาจจะเป็นในอนาคต ให้ทำความเข้าใจในสิ่งที่เขากำลังเผชิญอยู่ อย่าตัดสิน หรือพูดในเชิงว่าเขาเป็นโรคจิต เพราะการป่วยดังกล่าวเป็นเรื่องของสารเคมีในสมอง
ติดตามรายการ "Coffee Club สมดุลชีวิตสร้างได้" ทุกวันจันทร์ เวลา 10.00 น. รับชมสดทาง Facebook, YouTube PPTV HD 36 และ LINE Official PPTV Online