“ภาวะหดหู่หลังหยุดยาว” สะท้อนเบื่องาน แนะ 8 วิธีดูแลใจไม่คิดมาก
ภาวะหดหู่หลังหยุดยาว เป็นภาวะหนึ่งที่เกิดขึ้น หลังจากหยุดยาว คล้ายการปรับตัวไม่ทันเพราะร่างกาย เคยชินกับการพักผ่อน เลยไม่พร้อมที่จะกลับมาทำงาน อันที่จริงอาจสะท้อนว่า เบื่อ และ ไม่ชอบงาน หรือ สภาพแวดล้อมที่ตัวเองอยู่ ณ. ขณะนี้ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อจิตใจ และพาลหมดไฟในการทำงานไปด้วย เตรียมรับมือได้ด้วย 8 ข้อปฎิบัติ
เฟซบุ๊ก สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยถึงสภาวะภาวะหดหูหลังหยุดยาว (Post-holiday blues) ว่า กรมสุขภาพจิต แนะสํารวจอารมณ์ตนเองในช่วงหลังวันหยุดยาว และการดูแลจิตใจตัวเองด้วย 5 วิธีปฏิบัติ เพื่อไม่ให้เกิดภาวะดังกล่าว พร้อมกลับมาทําหน้าที่ของตนเองได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ หลังจากที่ทุกคนได้ พักผ่อนอย่างเต็มที่ในช่วงหยุดยาวที่ผ่านมา หลายคนคงได้ฟื้นฟูกําลังกายและกําลังใจของตนเองกลับมาจนพร้อม
“Sunday Night Blues” หดหู่ในคืนวันอาทิตย์ ภาวะเครียดไม่สนุกกับงาน
“Monday Blues”ภาวะเครียดของคนแฮชแท็กเกลียดวันจันทร์
สําหรับการทํางานในช่วงเวลาต่อจากนี้ แต่หลายคนอาจจะยังมีความรู้สึกว่าตนเองไม่ได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ และรู้สึกว่า มีความเครียด เมื่อคิดถึงเรื่องการเรียนและการทํางานที่รออยู่ตรงหน้า จนเกิดอาการที่เรียกว่า ภาวะหดหูหลังหยุดยาว (Post-holiday blues) ซึ่งเกิดได้จากการกลับมาสู่ภารกิจหรือกิจวัตรประจําวันแบบเดิมหลังจากการหยุดยาว หากมีภาวะหดหู่หลังหยุดยาวนี้ จะมีความรู้สึกเหนื่อยแม้ได้พักผ่อนมาอย่างต่อเนื่องแล้ว รู้สึกเครียด วิตกกังวล เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ ไม่อยากกลับไปเรียนหรือทํางาน แม้คนส่วนมากจะมีอาการที่ไม่รุนแรงมากนัก และสามารถหายได้เองเมื่อเวลาผ่านไปสักระยะ แต่ก็จะสามารถรบกวนสมรรถภาพของตนเองได้ในช่วงกลับไปสู่ภารกิจเดิม ทําให้ทําหน้าที่ได้อย่างไม่เต็มประสิทธิภาพในช่วงแรก ยิ่งหากเป็นการหยุดต่อเนื่องที่ยาวนานแล้ว โอกาสจะเกิดภาวะหดหู่หลังจากหยุดยาวก็จะสูงขึ้นกว่าการหยุดช่วงสั้น
ดูแลจิตใจตัวเองด้วย 8 วิธีการ ดังนี้
-
วางแผนชีวิตล่วงหน้า เพื่อลดความสับสนและความกังวลใจ
-
จัดการงานที่คั่งค้างให้เรียบร้อยก่อนหยุดยาว
-
ควรกลับมาพักผ่อนที่บ้านก่อน 1 วันเพื่อเตรียมตัวเตรียมใจการทำงาน
-
บันทึกสิ่งที่อยากเปลี่ยนแปลง เพื่อให้ชีวิตมีเป้าหมายมากขึ้น อาจปรับจากเป้าหมายที่ตั้งไว้ในช่วงปีใหม่ก็ได้เช่นกัน
-
พูดคุยกับคนรอบข้าง ถึงความสุขที่ผ่านมาในช่วงวันหยุดหรือ ความกังวลใจที่จะต้องกลับมาทํางาน
-
ไม่เทียบตัวเองกับคนอื่น เพราะแต่ละคนมีกิจกรรมและความชอบที่แตกต่าง กัน ความสุขจึงเป็นสิ่งที่นํามาเปรียบเทียบกันไม่ได้ และ
-
หาความตื่นเต้นใหม่ ๆ เสมอ เช่น การเรียนรู้สิ่งที่ไม่เคยเรียนมาก่อน ทํากิจกรรมที่สนุกและตื่นเต้น หรือวางแผนการเดินทางครั้งถัดไป เพื่อให้ชีวิตมีสีสัน และสภาพจิตใจพร้อมรับมือกับทุกปัญหาในอนาคต
-
นำความทรงจำดีๆ มาเป็นแรงใจในการทำงาน
ทีมข่าว PPTV เป็นแรงใจให้คนทำงานนะคะ ทำหน้าที่ของตนเองให้เต็มที่ ถึงเวลาพักก็เที่ยวเต็มที่ อย่าลืมหาเวลาดูแลจิตใจและปลอบปะโลมร่างกายด้วยการออกกำลังกาย กินของที่ดีมีประโยชน์ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอนะคะ
ขอบคุณข้อมูลจาก : สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย และ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ภาวะเบิร์นเอ้าต์ (BURNOUT) อย่ารอให้หมดไฟในการทำงาน
5 เครื่องดื่มแก้ง่วงยามบ่าย เติมไฟเพิ่มความกระปรี้กระเปร่าในการทำงาน
ภาวะ Quiet Quitting ลาออกเงียบคนรุ่นใหม่ ไม่เชื่อทำงานหนักแล้วจะได้ดี