ภาวะเบิร์นเอ้าต์ (BURNOUT) อย่ารอให้หมดไฟในการทำงาน
ภาวะเบิร์นเอ้าต์ โรคที่วัยทำงานหลายคนเผชิญอยู่ สาเหตุจากความเครียดสะสมและปัจจัยอื่นๆ การรู้เท่าทันโรคนี้ช่วยให้รับมือและหาทางแก้ได้อย่างถูกต้อง
อย่างที่ทราบกันแล้วว่า Burnout Syndrome หรือ ภาวะหมดไฟในการทำงาน ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโรคใหม่จากองค์การอนามัยโลก (WHO) โดยเป็นโรคที่เป็นผลจากการความเครียดเรื้อรังในสถานที่ทำงาน ซึ่งควรได้รับการดูแลจากแพทย์เฉพาะทางก่อนจะรุนแรงและคุกคามการใช้ชีวิต เพราะฉะนั้นการหมั่นสังเกตสัญญาณเตือนและรู้เท่าทันโรคนี้จะช่วยให้รับมือได้อย่างถูกวิธีก่อนสายเกินไป
รู้จักภาวะหมดไฟในการทำงาน
ภาวะการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจที่เป็นผลมาจากความเครียดเรื้อรังในที่ทำงานและไม่ได้รับการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ
"โรคเครียด" ปล่อยทิ้งไว้ไม่ได้ แนะวิธีรับมือแบบสร้างสรรค์ทำตามง่าย
"กิน - กลิ่น" สมุนไพร กระตุ้นระบบไหลเวียนร่างกายลดความเครียด
โดยแบ่งลักษณะอาการออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
- เหนื่อยล้าทางอารมณ์ รู้สึกหมดพลัง สูญเสียพลังจิตใจ
- มีทัศนคติเชิงลบต่อความสามารถในการทำงานของตนเอง ขาดความเชื่อมั่นในความสำเร็จ
- ประสิทธิภาพการทำงานลดลง ความสัมพันธ์ในที่ทำงานเหินห่างหรือเป็นไปทางลบกับผู้ร่วมงานและลูกค้า
โรคซึมเศร้า โรคที่ต้องการยาและคนเข้าใจ มากกว่าผู้ตัดสิน
สัญญาณเตือนภาวะหมดไฟในการทำงาน
การสังเกตสัญญาณเตือนว่าเริ่มเข้าสู่ภาวะหมดไฟในการทำงาน แบ่งออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่
1.ด้านอารมณ์
- หดหู่
- ซึมเศร้า
- หงุดหงิด โมโหง่าย
- อารมณ์แปรปรวน
- ไม่พอใจในงานที่ทำ
ไขข้อสงสัยสุขภาพ ทำไม "เครียด" แล้วความดันสูง
2.ด้านความคิด
- มองคนอื่นในแง่ลบแง่ร้าย
- โทษคนอื่นเสมอ
- ระแวง
- หนีปัญหา ไม่จัดการปัญหา
- สงสัยและไม่เชื่อในศักยภาพของตนเอง
กินให้หายเครียด...ไม่ใช่กินเยอะ แต่ต้องกินอาหาร 11 สิ่งนี้
3.ด้านพฤติกรรม
- ผัดวันประกันพรุ่ง
- ขาดความกระตือรือร้น
- หุนหันพลันแล่น
- บริหารจัดการเวลาไม่ได้
- ไม่อยากตื่นไปทำงาน
- มาสายจนผิดสังเกตติดต่อกัน
- ไม่มีสมาธิในการทำงาน
- ไม่มีความสุขในการทำงาน
จัดการภาวะหมดไฟในการทำงาน
การจัดการภาวะหมดไฟในการทำงาน สามารถฟื้นฟูแก้ไขได้ก่อนสาย ดังนี้
- ยืดหยุ่นต่อสถานการณ์ต่าง ๆ
- ยอมรับในความแตกต่าง
- ไม่ด่วนตัดสินใคร
- เปิดใจฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มองหาที่ปรึกษาที่รับฟังและแนะนำได้
- ร่วมกิจกรรมขององค์กร
- อย่าทำงานหักโหมเกินไป
- อย่าเอางานไปทำที่บ้าน
- ไม่นำปัญหาที่ทำงานสะสมไปที่บ้าน
- ลดความกดดันในการทำงาน
- รู้จักขอความช่วยเหลือและปฏิเสธอย่างเหมาะสม
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- ปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง
10 วิธีบรรเทาอาการปวดหลัง ทวงคืนสุขภาพดีจาก "ออฟฟิศซินโดรม"
3 โรคมือสุดฮิต ภัยเงียบที่คนวัยทำงานไม่ควรละเลย
ผลกระทบจากภาวะหมดไฟในการทำงาน
ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากภาวะหมดไฟในการทำงานในด้านต่าง ๆ ได้แก่
1.ด้านร่างกาย
- เหนื่อยล้าเรื้อรัง
- ปวดศีรษะ
- ปวดเมื่อยตามตัว
2.ด้านจิตใจ
- รู้สึกหมดหวัง
- ท้อแท้ในการทำงาน
- นอนไม่หลับ
3.ด้านการทำงาน
- ขาดงานบ่อย
- มาสาย
- ประสิทธิภาพการทำงานลดลง
- ลาออก
"ปวดหลังเรื้อรัง" ในคนวัยทำงาน อันตรายที่ไม่ควรมองข้าม
ลักษณะงานแบบไหนเสี่ยงหมดไฟ
- งานหนักและปริมาณมากเกินไป
- งานซับซ้อน งานเร่งรีบ
- งานที่ผลตอบแทนไม่เหมาะสม
- งานที่ทำให้รู้สึกไม่ได้รับคุณค่าและความภูมิใจในการทำงาน
- งานที่ขาดความยุติธรรม ความเชื่อใจ การยอมรับในการทำงาน
- งานที่ไม่มีอำนาจในการตัดสินใจในงานที่ทำ
- งานที่การบริหารงานไร้ระบบ ไม่มีเป้าหมายชัดเจน
DO’S & DON’T ควรทำตัวอย่างไร เมื่อคนใกล้ชิดเป็น “โรคซึมเศร้า”
หลายคนมักสงสัยว่า ภาวะหมดไฟในการทำงาน (Burnout Syndrome) เป็นอาการของโรคซึมเศร้าหรือไม่ ซึ่งภาวะหมดไฟในการทำงานกับโรคซึมเศร้ามีความแตกต่างกันไม่ใช่โรคเดียวกัน แต่หากสงสัยไม่ว่าจะโรคใดอย่านิ่งนอนใจควรปรึกษาจิตแพทย์โดยเร็วที่สุดเพื่อจะได้รับการตรวจวินิจฉัยและทำการรักษาอย่างทันท่วงที
ขอบคุณข้อมูลสุขภาพจาก โรงพยาบาลกรุงเทพ