แยกให้ออก! เด็กติดเกม หรือ จิตเวช ความเครียดจากความกดดันต้องรีบรักษา!
“เด็กติดเกม” ถูกเรียกเด็กหรือแม้กระทั้งผู้ใหญ่ที่ใช้เวลามากมายไปกับเกมจนเริ่มกระทบต่อพัฒนาการของเด็กในแต่ละช่วงวัย ปัญหาด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิต ขาดความรับผิดชอบ และขาดทักษะการเรียนรู้ด้านอื่นๆ ซึ่งหลายต่อหลายครั้งเรามักให้เกมเป็นตัวร้าย แล้วปัญหาที่แท้จริงอยู่ตรงไหน?
คุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครอง รู้ไหมว่าสิ่งที่น่ากลัวมากกว่าโรคติดเกม(Gaming disorder)นั่นก็คือโรคที่ซ่อนอยู่ในจิตใจของเด็ก! ทำให้เด็กเลือกใช้เกมเพื่อการเยียวยา ซึ่งหากเราสังเกตลูกหลานเราสักนิดอาจจะและเพื่อให้พ่อแม่แยกความแตกต่างระหว่าง Gaming disorder และโรคจิตเวชที่ซ่อนอยู่
อาการที่บ่งชี้ว่าลูกเป็นเด็กติดเกม
องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ระบุอย่างเป็นทางการว่า การติดเก ถูกจัดอยู่ในหมวดหมู่ของโรคหรือปัญหาทางสุขภาพตามสถิติระหว่างประเทศ
“ซึมเศร้า” สัญญาณ-ประเภท ส่งต่อผ่านทางพันธุกรรมได้หรือไม่?
วิธีรับมือกับปัญหารุมเร้า-ภาวะเครียดสะสม ก่อนกระทบสุขภาพจิต
อาการบ่งชี้เด็กติดเกมตามหลัก WHO ดังนี้
- หมกมุ่นกับการเล่นเกม โดยขาดการลำดับความสำคัญก่อนหลัง
- เห็นเกมสำคัญกว่าทุกสิ่ง จนเกิดผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน ครอบครัว การเรียน ความสัมพันธ์ สังคม อาชีพ เป็นต้น
- เป็นติดต่อกันอย่างน้อย 12 เดือน
สมาคมกุมารแพทย์ศาสตร์สหรัฐฯ หรือ American Academy of Pediatrics (AAP) มีคำแนะนำว่า ไม่ควรให้เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ดูสื่อจากจอต่างๆ และเมื่ออายุระหว่าง 2 – 5 ปี สามารถให้เด็กดูได้ตามความเหมาะสม (ไม่ควรเกิน 2 ชั่วโมง) โดย พญ. สุนิดา แนะนำว่าไม่ควรเกิน 15 – 30 นาที เพราะเด็กควรมีเวลาได้เรียนรู้ทักษะด้านอื่นๆ บ้าง เพื่อลดความเสี่ยงของการติดจอ และ การเกิดผลกระทบจากการเล่นเกม ดังต่อไปนี้
- ปัญหาด้านสุขภาพ เนื่องจากเด็กที่นั่งเล่นเกมเป็นเวลานานมักไม่ได้ออกกำลังกายอาจทำให้เกิดภาวะโรคอ้วนหรือตัวเล็กกว่าปกติเพราะกล้ามเนื้อไม่ค่อยได้เคลื่อนไหว นอกจากนี้ยังทำให้เสียสายตา มีปัญหาเรื่องกระเพาะอาหาร ส่วนในด้านของสมอง การควบคุมอารมณ์จะต่ำลง การคิดวิเคาระห์ การตัดสินใจในชีวิตจริงอาจไม่กว้างพอ
- ขัดขวางพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว และพัฒนาการของกล้ามเนื้อ เช่น การวิ่งเล่น ปีนป่าย โหนตัว ทรงตัว การกะระยะ และทิศทาง ส่งผลให้เด็กอาจเล่นกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับเพื่อนไม่ได้ และรู้สึกไม่เป็นส่วนหนึ่งของสังคม
- ปัญหาด้านการเรียน เมื่อเด็กติดเกมจะเริ่มสนใจการเรียนน้อยลง ความรับผิดชอบจะต่ำลงในทุกๆ ด้านเมื่อผลการเรียนไม่ดี จะรู้สึกว่าคุณค่าในตัวเองน้อยลง และจะเข้าหาเกมมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะเกมตอบสนองจินตนาการและสามารถเป็นผู้ชนะได้
- ปัญหาความรุนแรง ขึ้นอยู่กับเนื้อหาของเกม หากเป็น เด็กเล็กนั้นสามารถเลียนแบบได้อย่างเต็มที่ และหากเกิดการรวมกลุ่ม อาจพัฒนาเป็นความรุนแรงในวัยรุ่นได้
- ส่งผลต่อความสัมพันธ์ในครอบครัวการเล่นเกมนั้นไม่ใช่เรื่องน่ากลัว แต่หากผู้ปกครองเริ่มรู้สึกว่าใช้เวลาร่วมกันน้อยลง ควรกลับมาพูดคุยกับเด็ก และจัดสรรเวลาใหม่ และทำกิจกรรมอื่นๆ ทดแทน เช่น ฝึกฝนทักษะดนตรี กีฬา ศิลปะ ร่วมกันมากขึ้น เพื่อลดโอกาสการติดเกมได้
เกมไม่ใช่ตัวการและเด็กมีโรคซ่อนอยู่ พ่อแม่ควรรู้!
สิ่งที่น่าเป็นห่วงยิ่งกว่า คือ เด็กบางคนมีโรคซ่อนอยู่โดยที่พ่อแม่ไม่รู้ พ่อแม่อาจเข้าใจว่าลูกเป็นเด็กติดเกม แต่ความจริงแล้ว เด็กใช้เกมเป็นเครื่องมือระบายความรู้สึกต่างๆ ออกมา เล่นเกมเพราะไม่อยากยุ่งกับใคร เบี่ยงเบนความคิดแย่ๆ ต่อสิ่งรอบตัว หรือ เล่นเกมเพื่อให้ตัวเองรู้สึกดีขึ้นกว่าเดิมโรคที่พบได้บ่อยคือ
- โรคซึมเศร้า
- โรควิตกกังวล
- โรคอารมณ์สองขั้ว
ทำให้เด็กมีอาการ กังวล หงุดหงิด ฉุนเฉียว ก้าวร้าว แยกตัว ในบางรายมีภาวะหลงผิด ระแวงกลัว ร่วมด้วย ในกรณีเช่นนี้ “เกม” ไม่ใช่ปัญหา แต่เป็นวิธีที่เด็กใช้เยียวยาโรคที่ซ่อนอยู่ต่างหาก นี่คือสิ่งที่ผู้ปกครองต้องให้ความสำคัญ ดังนั้นขั้นตอนการวินิจฉัย แพทย์จึงต้องนำเงื่อนไขเด็กติดเกมออกไปก่อน แล้ววินิจฉัยที่ตัวเด็ก เพื่อค้นหาและรักษาโรคที่ซ่อนอยู่เบื้องหลัง แล้วติดตามผลว่าอาการติดเกมของเด็กลดน้อยลงหรือไม่ และ ไม่ว่าลูกจะเป็น “โรคติดเกม” หรือแท้จริงแล้วมีโรคจิตเวชซ่อนอยู่ก็ตาม การโทษเกมไม่ใช่ทางออกทีดีที่สุด อย่าปล่อยให้คำว่า “เด็กติดเกม” เป็นเหมือนกำแพงที่ซ่อนโรคทางจิตเวชไว้เบื้องหลัง พ่อแม่ควรจับมือลูก ช่วยกันทำลายกำแพงนั้น ร่วมกับการรักษาจากคุณหมอ ซึ่งจะเป็นการปูทางให้เด็กๆ ได้ใช้ชีวิตในอนาคตอย่างแข็งแกร่งและมีความสุข
รู้จัก PTSD สภาวะเครียด หลังเจอเหตุกระทบจิตใจขั้นรุนแรง แพทย์เตือนเด็กก็เป็นได้
รู้หรือไม่ ? ทุกความเครียดและปัญหาสุขภาพจิตของเด็กมีที่มาเสมอ
การยัดเยียด การเรียนและคาดหวังมากเกินไป อาจเป็นรักแท้พ่อแม่พ่นพิษ ผลักลูกเสี่ยง "โรคซึมเศร้า" โดยไม่รู้ตัวได้ง่ายๆ และมีโอกาสรุนแรง เรื้อรัง ถึงขั้นทำร้ายตัวเอง และคิดฆ่าตัวตาย ได้ และปัจจุบันพบว่าส่วนมากเด็กเรียนในระดับอนุบาล ประถมศึกษา ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าเป็นจำนวนมาก โดยอาการส่วนใหญ่อยู่ในช่วงแรกเริ่มที่จะเป็น ยังไม่ถึงขั้นซึมเศร้ารุนแรง แต่สิ่งที่น่ากังวล คือ พ่อแม่ไม่รู้ว่าลูกป่วย และไม่ได้พามารักษา เนื่องจากเด็กเองก็ไม่รู้ ไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นโรคซึมเศร้า
10 สัญญาณ “โรคซึมเศร้า” ในเด็ก
- ไม่ร่าเริงเหมือนแต่ก่อน
- เก็บตัว ชอบแยกตัวจากทุกคน ไม่เว้นแต่พ่อแม่
- อ่อนไหว ร้องไห้บ่อยโดยไม่มีสาเหตุ
- หงุดหงิด โกรธ โมโหฉุนเฉียวง่าย
- น้ำหนักลดหรือเพิ่มขึ้นมาก กินมากขึ้น จุ๊บจิ๊บทั้งวัน หรือกินน้อยลง
- นอนไม่หลับ นอนหลับยาก หรือนอนทั้งวันมากไป
- อ่อนเพลีย ไร้เรี่ยวแรง
- กระวนกระวาย อยู่ไม่สุข หรือเชื่องช้าลง ไม่มีสมาธิ ทำสิ่งใดได้ไม่นาน
- มีความสนใจในกิจกรรมต่างๆ ลดลง เคยชอบทำอะไรมากๆ กลับไม่ชอบ ไม่อยากทำ
- มีอารมณ์ซึมเศร้า เห็นคุณค่าในตนเองน้อยลง พร่ำพูดถึงความตาย หรืออยากฆ่าตัวตาย
ปัจจัยอื่นที่เป็นสาเหตุของโรคซึมเศร้าในเด็ก ส่วนมากจากการเลี้ยงดูที่เข้มงวดมากจนเกินไป ใช้ความรุนแรงทั้งคำพูดและการกระทำ รวมถึงการถูกละเลยหรือขาดความอบอุ่น ไม่ได้รับการเอาใจใส่จากคนในครอบครัว นอกจากนี้ความเครียด ความกดดัน จากการเรียน หรือผลการเรียนไม่เป็นไปตามที่ตัวเอง หรือพ่อแม่คาดหวังก็ส่งผลให้เกิดภาวะโรคซึมเศร้าได้
ขอบคุณข้อมูลจาก : รพ.พญาไท และ กรมสุขภาพจิต
ภาพจาก : shutterstock
จิตเวช-จิตเภทแตกต่างกันอย่างไร? อาการปัจจัยเสี่ยงที่ควรสังเกตและรักษา