เช็ก 4 อาการเข้าข่าย “โรคกลัวสังคม” ประหม่าเมื่ออยู่ต่อหน้าคนอื่น
หนึ่งในกลุ่มโรควิตกกังวลคือโรคกลัวการเข้าสังคม (Social Phobia) ที่มักเป็นอาการสืบเนื่องมาตั้งแต่เด็ก เช็กสัญญาณเข้าข่ายที่นี้!
โรคกลัวสังคม (Social Phobia) หนึ่งในกลุ่มโรควิตกกังวลที่พบได้บ่อยในสังคมยุคใหม่คล้ายคลึงกับอาการขี้อายแต่มากกว่า ซึ่งเป็นความกลัวต่อการต้องไปอยู่ในสถานการณ์ที่คิดว่าอาจถูกจ้องมอง หรือทำอะไรที่น่าอับอายต่อหน้าบุคคลอื่น พยายามที่จะหลบเลี่ยงการเข้าสังคม พบได้บ่อยในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย อาจเกิดจากการเลี้ยงดูแบบประคบประหงม การขาดทักษะการเข้าสังคม หรือโดนทำร้ายร่างกาย
5 โรควิตกกังวล จิตเวชที่คนวัยทำงานมักเป็นแต่ไม่รู้ตัว
โรคกลัวรู คืออะไร? ขยะแขยง-ขนลุกทุกครั้งที่เห็นรูและวิธีรับมือ

อย่างไรก็ตามมักมีอาการสืบเนื่องมาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก หรือเป็นวัยรุ่น โดยที่ไม่ได้รับการรักษาเยียวยาให้หาย ซึ่งในเด็กบางคนอาจมีการแยกตนเองออกจากผู้อื่น ชอบอยู่คนเดียว และเมื่อถึงวัยเข้าโรงเรียน เด็กจะเกิดความกลัวจะถูกวิจารณ์ ตำหนิ ไม่ดี และกลัวการถูกปฏิเสธ ในสถานการณ์ เช่น พูดหน้าชั้นเรียน เด็กบางคนไม่กล้าที่จะกินอาหารในที่สาธารณะ เป็นต้น
เช็กพฤติกรรมเข่าข่ายโรคกลัวสังคมในเด็ก
- กังวล ไม่กล้าทำอะไรเลย ใส่ใจกับคำพูดคำวิจารณ์ต่าง ๆ อย่างมาก กลัว ขายหน้า ไม่เป็นที่ยอมรับจากผู้อื่น
- เก็บตัว แยกตัวจากเพื่อน ไม่คุยเล่นกับเพื่อนและคุณครู
- ไม่สบตา ไม่ชอบเป็นจุดสนใจจากผู้อื่น
- กลัวเพื่อนว่า กลัวครูว่า ขี้กลัว
พ่อแม่ช่วยปรับพฤติกรรมได้!
- พ่อแม่ไม่ควรเร่งรัดในการทำกิจกรรมใดๆ ของลูก ให้เวลากับลูก และเมื่อลูกเริ่มทำกิจกรรมด้วยตนเองได้ ควรเริ่มให้คำชม ห้ามติ โดยการให้ความมั่นใจ การให้รางวัลและคำชม เพื่อเป็นแรงเสริมช่วยผลักดันให้ลูกคลายกังวล และมีความกล้ามากขึ้น
- การเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูก เช่น เป็นตัวอย่างในการพูดคุยกับผู้อื่นในที่สาธารณะ การซื้อของในร้านสะดวกซื้อ เพื่อเป็นตัวอย่างให้ลูกทำเองได้ การทำตัวเป็นตัวอย่างให้ลูกเห็นในสถานการณ์ทางสังคมต่าง ๆ ว่าควรวางตัวอย่างไร
วิธีดูแลใจช่วยพาผู้ป่วยโรคซึมเศร้าหนีจากการฆ่าตัวตาย
การรักษาโดยจิตแพทย์
- ปรับพฤติกรรม โดยสอบถามความกังวลใจของเด็กผ่านทาง พ่อแม่ เพื่อร่วมมือกันแก้ปัญหา เพื่อลดความกังวลใจของเด็กและสามารถฝึกทำเองได้ที่บ้าน และที่โรงเรียน
- พฤติกรรมบำบัด โดยให้เด็กได้เริ่มลองเผชิญกับสถานการณ์ที่กลัว และตื่นเต้น และคอยให้กำลังใจ เมื่อเด็กสามารถผ่าน เผชิญปัญหาไปได้ ก็เริ่มแรงด้วยคำชม การปรบมือให้กำลังใจเป็น
- การให้ยาที่ลดความกังวลและความตื่นกลัวของเด็ก แต่ควรปรึกษาจิตแพทย์เด็กก่อนทุกครั้ง
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไท และ กระทรวงสาธารณสุข
จิตเวช-จิตเภทแตกต่างกันอย่างไร? อาการปัจจัยเสี่ยงที่ควรสังเกตและรักษา
เช็ก 5 สัญญาณ “โรคเก็บสะสมของ” บ้านรก-ตัดสินใจทิ้งของไม่ได้!