อนุทินมอบรางวัลให้ผู้เชี่ยวชาญ AEFI บรรลุฉีดวัคซีนโควิด 142 ล้านเข็ม
นายอนุทิน มอบโล่และเกียรติบัตรเชิดชูเกียรติแก่คณะผู้เชี่ยวชาญอาการไม่พึงประสงค์ภายหลังได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคติดเชื้อโควิด-19 ที่สนับสนุนการเฝ้าระวังเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ภายหลังได้รับวัคซีน ทำให้ไทยบรรลุเป้าหมายการฉีดวัคซีนแก่ประชากรแล้วกว่า 142 ล้านเข็ม
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานมอบโล่และเกียรติบัตรเชิดชูเกียรติ แก่คณะผู้เชี่ยวชาญอาการไม่พึงประสงค์ภายหลังได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค (AEFI) จากวัคซีนโควิด 19 โดยมี นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ร่วมงาน
วัคซีนโควิด-19 ยังจำเป็นอยู่ไหม? ฉีดแล้วทำไมถึงยังติดโควิดได้
ปิดฉากเอเปคสุขภาพบรรลุมติ 12 ข้อเน้นลงทุนความมั่นคงรับมือโรคอุบัติใหม่
นายอนุทิน กล่าวว่า ประเทศไทยได้รณรงค์ฉีดวัคซีนโควิด 19 แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในประเทศ เพื่อป้องกันการระบาดและลดความรุนแรงของโรค โดยกระทรวงสาธารณสุข ได้แต่งตั้งอาจารย์แพทย์และผู้เชี่ยวชาญจากหลายสาขา เป็นคณะผู้เชี่ยวชาญพิจารณาเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ภายหลังได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทั้งระดับส่วนกลางและเขต เพื่อสนับสนุนและขับเคลื่อนการดำเนินงานการเฝ้าระวังเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ภายหลังได้รับการฉีดวัคซีน โดยข้อมูลถึงวันที่ 5 กันยายน 2565 ประเทศไทยฉีดวัคซีนโควิด 19 ไปแล้วทั้งสิ้น 142,891,943 โดส มีรายงานเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ร้ายแรง 7,597 เหตุการณ์ มีการประชุมเพื่อพิจารณาเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ 97 ครั้ง พบว่ากว่าร้อยละ 60 เป็นเหตุการณ์ร่วมที่ไม่เกี่ยวข้องกับวัคซีน และประมาณร้อยละ 0.8 เป็นเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับวัคซีน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการแพ้ที่ไม่รุนแรง
วัคซีน HPV ผู้ชายก็ฉีดได้ ช่วยลดความเสี่ยงติดเชื้อก่อโรคมะเร็ง
เพื่อเป็นการขอบคุณและเชิดชูเกียรติ กระทรวงสาธารณสุข จึงได้มอบโล่และเกียรติบัตรแก่คณะผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข ทั้งสังกัดกระทรวงสาธารณสุข มหาวิทยาลัย และคณะทำงานฯ จากทั่วประเทศ ได้แก่ เขตบริการสุขภาพที่ 1 – 12 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 – 12 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาล ทีมเลขานุการระดับส่วนกลางและเขต รวมถึงผู้มีส่วนร่วม รวม 505 คน ที่ร่วมติดตามข้อมูล พิจารณาและให้ข้อเสนอแนะแก่ผู้ป่วยจากเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ภายหลังได้รับวัคซีน และจัดการเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์อย่างถูกต้องเหมาะสมตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ทำให้ประเทศไทยสามารถบรรลุผลเป้าหมายการฉีดวัคซีน ได้กว่าร้อยละ 80 ของประชากร ช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนในการเข้ารับการฉีดวัคซีนว่ามีประสิทธิภาพ มีความปลอดภัย ช่วยลดการป่วยหนักและเสียชีวิตจากโรคโควิด 19 ให้กับประชาชนได้จำนวนมาก ทั้งนี้คณะผู้เชี่ยวชาญ ยังคงทำงานกันต่อไปเพื่อให้ประชาชนมีความมั่นใจต่อการฉีดวัคซีนโควิด 19 ในประเทศไทย
สหรัฐฯ ชื่นชมไทยแก้วิกฤตโควิดได้ดี ทั้งมาตรการสังคม-ยา-วัคซีน
"ไข้หวัดใหญ่" เปลี่ยนสายพันธุ์ทุกปี ฉีดวัคซีนจึงจำเป็น!