“หมอธีระวัฒน์” เผยงีบกลางวันนานและบ่อยเสี่ยงสมองเสื่อม-อัลไซเมอร์
หมอธีระวัฒน์ เปิดข้อมูลคนงีบบ่อยงีบนาน ส่อว่าเริ่มมีหรือมีสมองเสื่อม-อัลไซเมอร์พร้อมแนะวิธีนอนอย่างเหมาะสม
นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ผ่านเฟชบุ๊ก ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha ว่า เป็นความจริง ที่งีบนาน บ่อยทำให้เสี่ยงมากขึ้นทั้งนี้ไม่ทราบกลไกชัดเจน การศึกษาก่อนหน้า สมองของคนอัลไซเมอร์พบว่ามีการเสื่อมสลายของกลุ่มเซลล์ที่กระตุ้นให้ตื่นโดยจากการตรวจจีโนมของประชากรประมาณ 450,000 ราย พบ 123 ตำแหน่งที่สัมพันธ์กับการงีบหลับกลางวันบ่อย
แพทย์เผย “ผู้ป่วยอัลไซเมอร์” มีปัญหาด้านพฤติกรรมได้
"นอนแต่พอดี" ช่วยเรื่องประสิทธิภาพในการทำงานของสมอง
เชื่อมโยงกับสภาวะสุขภาพแย่และสมองเสื่อมการติดตามประชากรตั้งแต่ปี 2005 ถึง 2020 อายุเฉลี่ย 81.4 ปีเป็นจำนวนประมาณ 1400 ราย และรายงานในปี 2022 พบว่า ถ้างีบบ่อยงีบนาน “ส่อ”ให้เห็นสภาพ ว่าเริ่มมีหรือมีสมองเสื่อม อัลไซเมอร์ โดยเริ่มต้นการติดตามมีคนปกติ 76% เริ่มมีอาการก้ำกึ่ง 20% และมีสมองเสื่อมแล้ว 4% เมื่อติดตามไป คนปกติงีบ 11 นาที คนที่สมองเริ่มก้ำกึ่ง งีบ 24 นาทีและคนที่มีสมองเสื่อมจะงีบกลางวัน 69 นาทีต่อวันงีบนาน งีบบ่อย “เสี่ยง” สมองเสื่อมเมื่อติดตามคนที่เริ่มต้นปกติและเกิดสมองเสื่อมในหกปีพบว่า
-
ถ้างีบนานกว่า 1 ชั่วโมงจะเพิ่มความเสี่ยง 40%
-
ถ้างีบบ่อยมากกว่าหนึ่งครั้งจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 40%
ทั้งนี้คล้องจองกับรายงานในปี 2019 ที่ศึกษาในผู้ชายและพบว่าถ้างีบกลางวัน 2 ชั่วโมงจะมีโอกาสเสี่ยงสมองเสื่อมมากกว่ากลุ่มที่งีบ 30 นาทีต่อวัน
“หมอธีระวัฒน์” ไขข้อสงสัยกินเหล้าสมองพัง วิตามินช่วยได้หรือไม่
ปกติแล้ว งีบ หลับกลางวัน เป็นเรื่องปกติทำได้ เพื่อทดแทนการนอนกลางคืนที่น้อยไป หรือนอนไม่ดีหรือเป็นประเพณีในบางประเทศที่เริ่มมีการปรับเปลี่ยน แต่จะงีบกลางวันทดแทนนานเท่าใดที่จะเหมาะสม?
- การงีบหลับกลางวันตามธรรมดาแล้วจะพบในกลุ่มที่นอนไม่ดีหรือนอนไม่มีคุณภาพ เช่น ในกลุ่มที่ทำงานไม่เป็นเวลา และข้อสำคัญคือมีโรคประจำตัวเมตาบอลิค รวมทั้งกลุ่มที่เป็นแล้วหรือกำลังจะเป็นโดยเฉพาะที่ครอบครัวมีสมองเสื่อมอยู่แล้ว และตนเองอาจกำลังเพาะบ่มสมองเสื่อมอยู่
- การงีบหลับกลางวันบ่อยครั้งและรุนแรงขึ้น จำเป็นต้องวิเคราะห์สุขภาพ หาสาเหตุที่ทำให้นอนกลางคืนไม่มีคุณภาพ มีการใช้ยาไม่เหมาะสม ดื่มเหล้า สูบบุหรี่จัด กลางคืนมีการหายใจติดขัดทำให้ออกซิเจนไม่ไปสมอง
- ระยะการนอนที่เหมาะสมอยู่ที่6ถึง 8 ชั่วโมงโดยมีช่วงหลับลึกอยู่ที่ 13 ถึง 23%
พวกเราประชาชนทั่วไปต้องส่งเสริมการกินอาหารที่เข้าใกล้มังสวิรัติที่ไม่ก่อให้เกิดการอักเสบต้องพยายามหมั่นออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ งดเว้นบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากเกินที่กำหนด ทั้งหลายเหล่านี้ทำให้สุขภาพดีการนอนมีคุณภาพและปลอดภัยจากภาวะสมองเสื่อมและโรคทางกายอื่นๆด้วย
กินอาหารแปรรูปมาก เสี่ยง “ขาดสารอาหาร แก่ก่อนวัย สมองเสื่อม”
แนะอาหารสมอง...ต้องเลือกให้เป็นป้องกันการเสื่อมได้