ทีมข่าว PPTV ได้พูดคุยกับนายแพทย์เจษฎา เขียวขจี นายแพทย์ชำนาญการสถาบันประสาทวิทยา อธิบายถึงสภาวะของผู้ป่วยโรคอัลไซเบอร์ว่า ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ส่วนใหญ่จะมีอายุเฉลี่ย 65 ปีขึ้นไป หรือกลุ่มผู้สูงอายุ มักจะมีปัญหาหลัก ๆ คือ ด้านความจำและการหลงลืม เช่น การถามซ้ำ ๆ พูดคุยไปแล้วจำไม่ได้ว่าพูดอะไรออกไป แต่หลายคนอาจจะไม่ทราบว่า ผู้ป่วยอัลไซเมอร์จำนวนไม่น้อยมักจะมีปัญหาด้านพฤติกรรมตามมาด้วย เราเรียกอาการแบบนี้ว่า อาการทางจิตประสาท จะพบในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมาก
เอาอีก! แชร์คลิปหลุด หลวงเจ๊ขอนแก่นจ้างเณรตำน้ำพริก คาห้องน้ำวัด
ยอมสึกแล้ว! พระตั้งวงก๊งเหล้าเมากร่าง อ้างฆ่าเชื้อโควิด
ซึ่งระดับความรุนแรงของโรคนี้จะแบ่งได้ออกเป็น 3 ระยะ คือ อาการน้อย ปานกลาง และรุนแรงมาก ที่น่าเป็นห่วงคือ ผู้ป่วยในกลุ่มอาการระดับปานกลางและรุนแรง กลุ่มนี้จะมีอาการทางจิตประสาทค่อนข้างมาก
หากเปรียบเทียบกับอาการของหลวงปู่แสง นายแพทย์เจษฎา บอกว่า ตอบไม่ได้ต้องให้แพทย์ที่รักษาโดยตรงเป็นผู้ประเมิน
แต่ถ้าถามว่า การแสดงออกทางพฤติกรรมที่ไม่พึ่งประสงค์เกิดขึ้นได้หรือไม่นั้น ในทางการแพทย์ก็เกิดขึ้นได้ เพราะฉะนั้นต้องให้แพทย์ประเมินว่าอาการอยู่ในระดับไหน หากอยู่ในระดับปานกลางถึงรุนแรงก็อาจจะส่งผลต่อพฤติกรรมการแสดงออกได้ เช่น ผู้ป่วยมีพฤติกรรมสร้างความรบกวน รำคาญให้คนใกล้ชิด ควบคุมตัวเองไม่ได้ พฤติกรรมที่แสดงออกมาเป็นได้ทั้งบวกและลบ ถ้าหากอยู่เฉย ๆ นิ่ง ก็จะกลายเป็นโรคซึมเศร้า ซึ่งภาวะดังกล่าวมีผลมาจาก
นายแพทย์เจษฎา ยังอธิบายด้วยว่า กรณีหากผู้ป่วยถูกกระตุ้นหรือยุงยงจากคนใกล้ชิดให้กระทำพฤติที่ไม่เหมาะสมออกมา เป็นไปได้หรือไม่ที่ผู้ป่วยจะแสดงพฤติกรรมโดยที่ไม่รู้ตัวได้ ซึ่งคนที่คอยดูแลใกล้ชิดมีส่วนสำคัญมากที่จะทำให้คนไข้กระทำหรือไม่ทำพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ถ้าคนในครอบครัวคนใกล้ชิด เข้าใจเทคนิคในการจัดการคนไข้ก็สามารถช่วยให้ผู้ป่วยหยุดการทำพฤติกรรมในลักษณะนั้นได้ เช่น บางคนชอบพูดจาหยาบ ก็อาจจะให้ทำกิจกรรมอย่างอื่น
ในทางตรงกันข้ามถ้าญาติไม่เข้าใจ ก็จะยิ่งทำให้พฤติกรรมรุนแรงขึ้นถึงขึ้นขว้างปาสิ่งของ การทำร่างกาย รวมไปถึงพฤติกรรมทางเพศด้วย อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่พบว่าเป็นโรคอัลไซเมอร์ควรจะได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องเพื่อไม่ให้อาการรุนแรง เพราะโรคนี้ในบางชนิดหากอาการไม่รุนแรงสามารถรักษาให้อาการดีขึ้นจนถึงขั้นเกือบจะหายขาดได้