สธ.เปิดมาตรการโควิด“ธุรกิจ-ปชช.” รับ 1 ต.ค. ปรับเป็นโรคติดต่อเฝ้าระวัง
สธ.ย้ำแม้โควิดกลายเป็นโรคติดต่อเฝ้าระวัง ธุรกิจต่าง ๆ ยังต้องประเมิน Thai Stop Covid 2 Plus-ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.การสาธารณสุข ส่วน ปชช.ทำตามหลัก DMH
หลังสถานการณ์โควิด-19 ภายในประเทศลดลงอย่างเห็นได้ชัด และรัฐบาลได้ประกาศลดระดับโรคนี้จากการเป็น “โรคติดต่ออันตราย” ไปสู่ “โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง” ในวันที่ 1 ตุลาคมนี้
ทำให้หลายคนเกิดข้อสงสัยว่า เมื่อเปลี่ยนผ่านโควิด-19 แล้วจะสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติเหมือนช่วงก่อนเกิดการระบาดของโรคอุบัติใหม่นี้ได้หรือไม่
นายแพทย์เอกชัย เพียรศรีวัชรา รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า แม้จะมีการยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรค หลังโควิด-19 กลายเป็นโรคติดต่อเฝ้าระวังแล้ว
โควิดวันนี้ (29ก.ย.65) คร่าชีวิตเพิ่ม 10 ราย กำลังรักษาพุ่งกว่า 6 พันราย
รัฐบาลแนะแม้ปรับลดชั้นโควิดแล้วปชช.ยังต้องป้องกันตัวเอง-ฉีดวัคซีนเสริมภูมิ
แต่ พ.ร.บ.โรคติดต่อ, พ.ร.บ.การสาธารณสุข และกฎหมายอื่นเกี่ยวกับการป้องกันการแพร่ระบาดยังจำเป็นต้องใช้อยู่ เพียงแต่อาจลดระดับการคุมเข้มลง เนื่องจากลักษณะของตัวโรคโควิด-19 แสดงให้เห็นว่ายังอาจเกิดการระบาดเป็นระลอก ๆ อยู่
สรุปว่า มาตรการ Thai Stop Covid 2 Plus ของกระทรวงสาธารณสุข ที่ให้สถานประกอบการเข้ามาประเมิน เพื่อควบคุมคุณภาพมาตรฐานในการให้บริการ ยังไม่มีการยกเลิกแพลตฟอร์ม และผู้ประกอบการยังสามารถเข้ามาประเมินตนเองได้ เพียงแต่ปรับรายละเอียดให้ผ่อนคลายมากขึ้น เหลือเพียงส่วนสำคัญ เพื่อป้องกันกรณีมีการติดเชื้อเกิดขึ้น
นอกจากนี้กิจการตามที่กำหนดใน พ.ร.บ.การสาธารณสุข ทั้งหมด 142 ประเภท อาทิ กลุ่มกิจการที่เกี่ยวกับการบริการ (สถานบริการดูแลเด็กปฐมวัย, สปา, อาบอบนวด, โรงแรม หอพัก, โรงหนัง และ สวนสนุก เป็นต้น) รวมถึงตลาด ร้านอาหาร ร้านสะดวกซื้อ และซูเปอร์มาร์เก็ต ยังต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดใน พ.ร.บ.การสาธารณสุข
โดยมาตรการที่สถานประกอบการต่าง ๆ ควรปฏิบัติมีดังนี้
ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม
- การทำความสะอาดจุดสัมผัส
- การจัดสถานที่ให้มีการระบายอากาศภายใน
- จัดให้มีอุปกรณ์ล้างมืออย่างเพียงพอ
- มีสุขอนามัยส่วนบุคคลที่ดี
- มีการคัดกรองอาการป่วยของพนักงาน หากใครป่วยให้รายงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทันที และให้หยุดปฏิบัติงาน
- เข้ารับวัคซีนให้ครบตามเกณฑ์
- กรณีเป็นร้านอาหาร พนักงานจะต้องสวมหน้ากากและผ่านการอบรมมาตรฐานของผู้สัมผัสอาหาร
ส่วนประชาชนที่เข้ารับบริการ เน้นย้ำให้คงมาตรการสวมหน้ากากอนามัย (Mask Wearing) เมื่อเข้าไปในสถานที่ที่มีผู้คนแออัด หรือเมื่อมีอาการป่วยทางเดินหายใจ พร้อมให้ตรวจ ATK เมื่อมีอาการป่วยสงสัย (Testing) และหมั่นล้างมือบ่อย ๆ (Hand washing) เมื่อมีการสัมผัสอุปกรณ์ สิ่งของ หรือพื้นผิวสัมผัสร่วมกัน นอกจากนี้กลุ่มเสี่ยง ผู้มีอายุมากกว่า 60 ปี, ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และหญิงตั้งครรภ์ (กลุ่ม 608) ควรเข้ารับวัคซีนให้ครบตามเกณฑ์ เพราะผู้ติดเชื้อแล้วเสียชีวิตจากโควิด-19 ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่ม 608 ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนหรือรับวัคซีนไม่ครบถึง 97%
ขณะนี้สถานการณ์โควิด-19 จากวันนั้นถึงวันนี้ เราเกิดยุคที่เรียกว่า New Normal การที่เราใส่หน้ากากตลอดเวลา โดยเฉพาะเราพบว่ามีความเสี่ยง ถือว่าเป็นสุขอนามัย สุขนิสัยที่ดี นอกจากจะช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเดินหายใจแล้ว ยังช่วยป้องกันโรคที่มาจากอากาศ มลพิษต่าง ๆ หลายคนพบว่านอกจากจะไม่ค่อยเป็นหวัดแล้ว อาการภูมิแพ้จากฝุ่นละอองก็ดีขึ้นด้วย ถามว่าจะกลับไปใช้ชีวิตได้เหมือนเดิมไหม อาจจะไม่เหมือนเดิมแล้ว เพราะในการเฝ้าระวังเรื่องสุขภาพของพี่น้องประชาชนดีขิ้น สุขภาพอนามัยพื้นฐานถือเป็นพฤติกรรมเริ่มต้นที่ควรทำ และต้องทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันโรค
สธ.ปิดศูนย์ EOC โควิด ยันยาเพียงพอ ปรับเกณฑ์ UCEP Plus เฉพาะกลุ่มสีแดง
1 ต.ค.65 สปสช.ยกเลิกแจก ATK ตามร้านยา แต่ยังรักษาโควิดฟรีตามสิทธิ