สธ แจง กัญชาทางการแพทย์ มีงบจากกองทุนวิจัย กว่า 80 ล้านบาท ไม่ใช่เพียงวาทกรรม
ปลัดกระทรวงสาธารณสุข แจง การวิจัยกัญชาทางการแพทย์มีงบสนับสนุนต่อเนื่อง ปี 2566 ใช้งบจากหน่วยงานสนับสนุนการวิจัยมาวิจัยกัญชากัญชงครบวงจรกว่า 80 ล้านบาท
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงกรณีมีผู้ตั้งข้อสังเกตเรื่องการจัดสรรงบประมาณ ตามพ.ร.บ.งบประมาณ 2566 ไม่มีการจัดสรรงบฯ เพื่อศึกษาวิจัยกัญชาทางการแพทย์ให้กับหน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุข แสดงว่ากัญชาทางการแพทย์เป็นเพียงวาทกรรม ว่า ตั้งแต่เริ่มมีนโยบายกัญชาทางการแพทย์ ในปี 2562 กระทรวงสาธารณสุขได้เดินหน้าศึกษาวิจัยกัญชาทางการแพทย์อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถปลูกและผลิตเป็นยาใช้เองได้
วิจัยพบกลุ่มผู้ใช้กัญชาเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายสูงกว่ากลุ่มควบคุมถึง 2.5 เท่า
กรมการแพทย์ ย้ำ อย่าใช้กัญชาเพื่อสันทนาการ
สารสกัด "กัญชา" อีกหนึ่งยาความหวังรักษาโรคมะเร็ง
ช่วยลดรายจ่ายการนำเข้ายาจากต่างประเทศ และสร้างรายได้จากการส่งออกและดึงผู้ป่วยจากต่างประเทศเข้ามาใช้บริการ โดยมีการทบทวนข้อมูลทางวิชาการอย่างเป็นระบบ และจัดทำแนวทางการใช้กัญชาทางการแพทย์ เพื่อให้เห็นศักยภาพที่แท้จริงว่ายากัญชาจะช่วยแก้ไขปัญหาสุขภาพเรื่องใดได้บ้าง ซึ่งตั้งแต่เริ่มมีนโยบายกัญชาทางการแพทย์ในปี 2562 จนถึงปี 2565 มีผลงานศึกษาวิจัยเกิดขึ้นถึง 60 เรื่อง ครอบคลุมตั้งแต่การนำไปใช้ประโยชน์ การผลิตและสกัด สายพันธุ์ และระบบการกำกับติดตามให้เกิดการใช้ที่ปลอดภัย
นพ.โอภาสกล่าว กล่าวว่า งานวิจัยกว่าครึ่งเป็นการศึกษาประสิทธิผลและความปลอดภัยของการใช้ยากัญชาหลักๆ ใน 3 กลุ่มโรค คือ มะเร็ง นอนไม่หลับ และโรคทางสุขภาพจิตที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยามาตรฐาน ซึ่งนอกจากจะสร้างความมั่นใจให้กับแพทย์ที่เป็นผู้สั่งใช้ยาให้ผู้ป่วยแล้ว ยังถูกนำไปใช้เป็นหลักฐานในการเสนอบรรจุยากัญชาเข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติ 7 รายการ เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงยาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และยังส่งผลต่อเกษตรกรให้มีตลาดรองรับที่ชัดเจนจากการปลูกกัญชา
ในปีงบประมาณ 2566 กระทรวงสาธารณสุขยังมีการศึกษาวิจัยกัญชา กัญชง ครบวงจร ภายใต้งบวิจัยมากกว่า 80 ล้านบาท เช่น
- งบจาก สกสว. 4,106,000 บาท
- งบประมาณกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 15,000,000 บาท
- งบกองทุนภูมิปัญญา 13,370,000 บาท
- งบจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.) 2,716,000 บาท เป็นต้น
ไม่จริง! "กัญชา" บรรเทาอาการลมชัก ยิ่งใช้ยิ่งเสี่ยงรุนแรงมากขึ้น
โดยจะเน้นเรื่องการวิจัยเพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ พัฒนาเครื่องมือและวิธีการเพื่อควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้สั่งใช้ยา ผู้ป่วย และผู้บริโภค นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญกับการวิจัยจากงานประจำ เนื่องจากมีความเหมาะสมกับบริบทของแต่ละพื้นที่ นำไปสู่การส่งเสริมการใช้อย่างแท้จริงของพื้นที่โดยในแผนบริการสุขภาพ (Service Plan) สาขากัญชา ปีนี้ได้เพิ่มเติมให้ทุกเขตสุขภาพมีการวิจัยหรือจัดการความรู้อย่างน้อยปีละ 2 เรื่อง นอกเหนือจากตัวชี้วัดเรื่องการเข้าถึงยากัญชาของผู้ป่วยด้วย