จุฬาฯ ลงนามร่วมพัฒนาแอปพลิเคชั่น dBreast สำหรับดูแลมะเร็งเต้านม
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยลงนามร่วมกับบริษัท แลนซิ่ง บิสสิเนส ซิสเต็มส์ จำกัดพัฒนาแอปพลิเคชั่น dBreast ดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมอย่างแม่นยำคาดเสร็จภายใน 6 เดือน
ศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chulalongkorn University Technology Center: UTC) จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและบริษัท แลนซิ่ง บิสสิเนส ซิสเต็มส์ จำกัด ในการร่วมพัฒนานวัตกรรม “โครงการ dBreast” แอปพลิเคชั่นสำหรับแพทย์ผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านม
“โครงการ dBreast” เป็นการพัฒนาการดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็งเต้านมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เช็กสัญญาณ “มะเร็งเต้านม” และคนกลุ่มไหนบ้างที่เสี่ยงเกิดโรค
ก้อนเนื้อเต้านม จำเป็นต้องผ่าตัดไหม? ปัญหาสุขภาพที่ไม่ควรมองข้าม
โดยได้พัฒนาแอปพลิเคชั่น dBreast ที่รวบรวมฐานข้อมูลของผู้ป่วยและประวัติการรักษาอย่างละเอียดรวมไว้ในที่เดียวกัน
จากสถิติข้อมูลในปี 2563 พบว่ามีผู้หญิงไทยป่วยด้วยมะเร็งเต้านมรายใหม่ราว 18,000 คนต่อปี หรือคิดเป็น 49 คนต่อวัน และมีผู้เสียชีวิตจากมะเร็งเต้านมราว 4,800 คน หรือคิดเป็น 13 คนต่อวัน ซึ่งแนวโน้มอัตราการเกิดโรคเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การพัฒนาแอปพลิเคชั่น dBreast จะช่วยอำนวยความสะดวกให้แพทย์ผู้รักษาสามารถเข้าถึงข้อมูลได้จากทุกที่ ทุกเวลาแบบเรียลไทม์ สามารถนำข้อมูลไปใช้ในการวิเคราะห์และศึกษาเพิ่มเติม เพื่อพัฒนาการดูแลรักษาผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยแพทย์สามารถนำแอปพลิเคชั่นนี้ติดตัวไปได้ทุกที่ ในกรณีผู้ป่วยเกิดเหตุฉุกเฉิน แพทย์จะสามารถเข้าถึงผู้ป่วยได้ทันท่วงที
พร้อมคาดการณ์แอปพลิเคชั่น dBreast แล้วเสร็จภายใน 6 เดือนข้างหน้า เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับการวางแผนทางด้านสาธารณสุขของประเทศอีกด้วย
พฤติกรรม"มะเร็งเต้านม" กลัวไม่กล้าเข้าใกล้ สุขภาพแข็งแรงห่างไกลโรค
ตรวจก่อนป่วย ไม่ใช่ ป่วยก่อนตรวจ! ข้อคิดจากไวรัลฮิต “มะเร็ง” ควรเช็กตอนอายุเท่าไร
รู้ปัจจัยเสี่ยงมะเร็งเต้านม คัดกรองด้วย ‘ดิจิตอลแมมโมแกรม’เห็นชัดได้ไม่ต้องคลำเอง