วิธีใช้ “เครื่องกระตุกหัวใจ” เพิ่มโอกาสการรอดชีวิต ผู้ป่วยโรคหัวใจ
เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ Automated External Defibrillator หรือ AED อุปกรณ์กู้ชีพ ผู้ป่วยหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ ด้วยการช็อกไฟฟ้ากระตุกหัวใจ เปิดโอกาสให้หัวใจกลับมาเต้นใหม่ในจังหวะที่ถูกต้อง และวิธีการใช้งานที่ถูกต้อง
จากกรณี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ยอมรับ เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ Automated External Defibrillator หรือ AED ถูกขโมยไป 27 เครื่องทั้งหมด จาก 262 เครื่องทั่ว กทม. มูลค่าความเสียหาย กว่า 1.8 ล้านบาทพร้อมเตรียมดำเนินคดีตามกฎหมาย
โดยเครื่องช่วย AED เป็นเครื่องช่วยชีวิตที่ถูกกระจายไปตามจุดสาธารณะทั่วกทม. มีความสำคัญมากในการเพิ่มโอกาสรอดชีวิตในผู้ป่วยโรคหัวใจ หัวใจเต้นผิดจังหวะ ที่เกิดอาการวูบและต้องได้รับการกู้ชีพด่วนการเข้าถึง AED เร็วแค่ไหนก็มีโอกาสรอดชีวิตเพิ่มมากขึ้น
มือดีขโมย "เครื่องกระตุกหัวใจ" นำไปขายต่อ เสียหายกว่า 1.8 ล้านบาท
รพ.จุฬาฯ ยอมรับ เครื่องกระตุกหัวใจ หายหลายจุด เผย ไม่สามารถล็อกตู้ได้
รู้จักเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ AED
เครื่อง AED เป็นเครื่องมือที่ใช้ระบบปฏิบัติการแบบอิเล็กทรอนิกส์พกพา ซึ่งประชาชนทั่วไปที่ได้รับการฝึกฝนการใช้ก็สามารถใช้เครื่องนี้ได้ ภายใต้คำแนะนำของผู้ปฏิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉินผ่านสายด่วน1669 สามารถให้การรักษาด้วยการช็อกไฟฟ้ากระตุกหัวใจได้โดยใช้กระแสไฟฟ้าหยุด รูปแบบการเต้นของหัวใจที่ผิดจังหวะ เพื่อเปิดโอกาสให้หัวใจกลับมาเต้นใหม่ในจังหวะที่ถูกต้องได้
โดยการรักษานั้นระบบอิเล็กทรอนิกส์ในเครื่องจะออกคำสั่งให้เราเป็นผู้ ปฏิบัติตามได้ คือ
- เริ่มแรกผู้ที่ทำการช่วยเหลือจะต้องเปิดฝาเครื่อง AED และฉีกซองบรรจุอิเล็คโทรด โดยแผ่นอิเล็คโทรดจะมีอยู่ 2ชิ้น คือ
- ชิ้นแรกจะต้องนำไปติดบนทรวงอกตอนบนของผู้ป่วย
- แผ่นที่สองจะต้องติดบนผิวทรวงอกตอนล่างของผู้ป่วย
- เครื่องจะวิเคราะห์จังหวะการเต้นของใจ โดยห้ามสัมผัสตัวผู้ป่วยเด็ดขาด
- ภายหลังการวิเคราะห์ ในกรณีที่ผู้ป่วยต้องการความช่วยเหลือด้วยการช็อกไฟฟ้า เครื่องจะแนะนำให้กดปุ่ม shock ห้ามสัมผัสผู้ป่วยเมื่อกดปุ่มหลังจากนั้นให้ทำ CPR ต่อเนื่อง 2 นาทีทันที
- ไฟฟ้า เครื่องจะแนะนำว่า “มีความปลอดภัยสัมผัสผู้ป่วยได้” ให้ทำการ CPR ทันที
- ควรทำ CPR อย่างต่อเนื่อง จนกว่าเครื่องจะเริ่มวิเคราะห์จังหวะการเต้นของหัวใจหรือเจ้าหน้าที่กู้ชีพจะมาถึง โดยการช่วยเหลือควรทำภายใน 3-5 นาที จะช่วยเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตของผู้ป่วยฉุกเฉินได้มากขึ้น
อายุน้อยก็เป็นได้! 5 สัญญาณเตือนโรคหัวใจ วิธีดูแลให้สมดุลแข็งแรงตลอดชีวิต
ผู้เข้าให้การช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินจะต้องตระหนักถึงหลัก “3H” คือ
- Hazard ก่อนการช่วยเหลือผู้ช่วยเหลือควรตรวจสอบอันตรายหรือภาวะเสี่ยงก่อนโดยจะต้องดูว่าบริเวณที่ผู้ป่วยอยู่นั้นมีอะไรอันตรายบ้างที่จะมีผลกระทบต่อผู้ป่วยฉุกเฉิน
- Help คือการช่วยเหลือโดยโทรผ่านสายด่วน1669พร้อมทั้งทำการปฐมพยาบาลตามคำแนะนำของผู้ปฏิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉิน และ
- Hello คือการเข้าไปปลุกเรียกผู้ป่วยฉุกเฉินซึ่งหากผู้ป่วยไม่ตอบสนองจากการช่วยเหลือตามแนวทางสาม H แล้วให้ผู้เข้าให้การช่วยเหลือทำการฟื้นคืนชีพทันทีและรีบนำเครื่อง AED เข้ามาช่วยในการฟื้นคืนชีพก็จะทำให้โอกาสรอดชีวิตของผู้ป่วยฉุกเฉินเพิ่มมากขึ้นได้
ทั้งนี้ปัจจุบันได้มีการติดตั้งเครื่องกระตุกหัวใจไว้ตามสถานที่สาธารณะต่าง ๆ กว่า262 เครื่อง โดยสามารถสืบค้นจุดติดตั้งได้จาก aed. redcross.or.th หรือ download application “AED กระตุกหัวใจ” ได้ทั้งระบบ Android และ iOS
ขณะที่ประเทศไทย มีผู้ป่วยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะมากถึง 1.5 ล้านคน การแพร่หลายของโรคสอดคล้องกับอายุที่เพิ่มมากขึ้นและสังคมผู้สูงอายุ โดยพบในประชากรอายุระหว่าง 65 – 74 ปี 1.5% ถัดมา คือ 75 – 84 ปี 2.2% และ 85 ปีขึ้นไป 2.8% ตามลำดับ
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพ และ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
รู้จัก "โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ" ซ่อนตัวเงียบแต่อันตรายถึงชีวิต
วิธีทำ CPR 4 นาทีแห่งการต่อชีวิตผู้ป่วยหยุดหายใจฉุกเฉินอย่างเร่งด่วน