TNAF มอบ 8 รางวัล ชนะการประกวดทำคลิปรณรงค์ยุติโรคเอดส์
มูลนิธิเอดส์แห่งประเทศไทยมอบ 8 รางวัลให้ผู้ชนะการประกวดทำคลิปรณรงค์ยุติโรคเอดส์ พร้อมเตรียมนำผลงานไปเผยแพร่สู่สังคมต่อ
วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566 นายแพทย์มานิต ธีระตันติกานนท์ (ประธานกรรมการ มูลนิธิเอดส์แห่งประเทศไทย : TNAF) ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธี งานมอบรางวัลผู้ชนะการประกวด VDO Clip “Equalize : ทำให้เท่าเทียม” ณ โรงแรม เอบีน่า เฮ้าส์ ซอยวิภาวดีรังสิต 64 กรุงเทพมหานคร และยังมีองค์กรภาคี ทั้งภาครัฐและภาคประชาสังคม ร่วมงานมอบรางวัลและรับชมผลงานของผู้เข้าประกวดที่มีผลงานผ่านการคัดเลือก 8 ทีม กิจกรรมในครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจาก ทุกภาคส่วนเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการยุติปัญหาเอดส์ในประเทศไทย
“ติดเชื้อHIV” ไม่เท่ากับ “ติดเอดส์” แต่อันตรายถึงชีวิตหากไม่รู้จักป้องกัน
ลดน้ำหนักแบบ“คีโต ไดเอต” กินมัน(ดี)เพื่อเบิร์นไขมัน
สืบเนื่องในวันเอดส์โลก 1 ธันวาคม 2565 โครงการเอดส์แห่ง สหประชาชาติ (UNAIDS) ได้เรียกร้องให้แต่ละฝ่ายร่วมแก้ไขปัญหา ความไม่เท่าเทียมที่ขัดขวางความก้าวหน้าในการยุติเอดส์ โดยมีคำขวัญ "Equalize" เรียกร้องให้เกิดการปฏิบัติ เพื่อเป็นการกระตุ้นเตือนให้ทุก คนทำงานเพื่อจัดการกับความไม่เท่าเทียมและช่วยยุติเอดส์
ข้อมูลจาก โครงการเอดส์แห่งสหประชาชาติ เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาเอชไอวีทั่ว โลกเปิดเผยว่า ในช่วงสองปีที่ผ่านมาที่เกิดสถานการณ์โควิด-19 และ วิกฤตการณ์ระดับโลกอื่น ๆ ความคืบหน้าในการต่อสู้กับการแพร่ระบาด ของเอชไอวีได้ลดลง ทรัพยากรหดหาย และส่งผลให้คนหลายล้านชีวิต ตกอยู่ในความเสี่ยงและ ความไม่เท่าเทียม ซึ่งยังคงมีอยู่ในการระบบ การจัดบริการพื้นฐาน เช่น การตรวจหาเชื้อ การรักษา และบริการ ถุงยางอนามัย
มูลนิธิเอดส์แห่งประเทศไทย (TNAF) ร่วมมือกับ สมาคมโรค เอดส์แห่งประเทศไทย (TAS) และ องค์กรภาคีเครือข่าย 18 องค์กร จัดกิจกรรมรณรงค์เนื่องในวันเอดส์โลก ภายใต้หัวข้อ “Equalize : ทำให้ เท่าเทียม” เพื่อสร้างความตื่นตัว และตระหนักในเรื่องความเท่าเทียม..สู่ การยุติเอดส์ ตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน ถึงวันที่ 12 ธันวาคม 2565 โดยเชิญชวนทุกคนมีส่วนรณรงค์ด้วยการส่ง VDO Clip เข้าร่วมประกวด ในหัวข้อ Equalize : ทำให้เท่าเทียม (ความยาวไม่เกิน 1 นาที)
มีผู้สนใจส่งผลงานเข้าร่วมประกวดชิงรางวัล และได้รับการพิจารณา คัดเลือกโดยคณะกรรมการซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญจากหลายภาคส่วน และมี เกณฑ์การให้คะแนนประกอบด้วย มีเนื้อเรื่องชัดเจน สื่อสารอย่าง น่าสนใจ และเข้าใจง่าย รวมถึงการนำเสนอสามารถสร้างความตระหนัก อยากมีส่วนร่วม และบอกต่อ โดยมีผลงานที่ชนะการประกวด 8 รางวัล ดังนี้
รางวัลชนะเลิศยอดเยี่ยม
ผลงานชื่อ “พูดจากใจ” โดย คุณ พชรดล สงวนพงษ์ ได้รับเงินสด 1.5 หมื่นบาท พร้อมใบประกาศ
รางวัลรองชนะเลิศ
อันดับ 1 : ผลงานชื่อ “HIV เราเป็นเพื่อนกัน ได้ ทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันได้” โดย คุณกุลรัตน์ มิตรอุปถัมภ์ ได้รับ เงินสด 1 หมื่นบาท พร้อมใบประกาศเกียรติคุณ และของรางวัลอื่นๆ
อันดับ 2 : ผลงานชื่อ “คำนวณความเท่า เทียม” โดย คุณภูเทพ ฮั้นสกุล ได้รับเงินสด 5 พันบาท พร้อมใบ ประกาศเกียรติคุณ และของรางวัลอื่นๆ
รางวัลชมเชย
- ผลงานชื่อ “ Watch Over You ฉันจะอยู่เคียงข้างคุณ” โดย คุณลำธารดาว ฑีฆะจุฑาโชติ 2
- ผลงานชื่อ “พร้อมสู้ต่อ” โดย คุณวรฤทธิ์ อุดพรม
- ผลงานชื่อ “Understanding” โดย คุณธเนศพล ต้นพิมพ์ คุณ สิทธิพงษ์ รุ่งหนองกระดี่ คุณธีรเดช สายธิไชย คุณเอกเพชร อัคร จันทร์ และ คุณเกณิกา ผาอินทร์
- ผลงานชื่อ “คิดยังไงกับผู้ป่วยเอดส์” โดย คุณสุทธิรัก สิงห์ชารี
- ผลงานชื่อ “สองสหายปฏิวัติ” โดย คุณสรยุทธ จ่ามมาตย์
โดยทั้งหมดได้รับเงินสดคนละ 1,000 บาท พร้อมใบประกาศเกียรติคุณ และของรางวัลอื่นๆ
ผลงานที่ผ่านการคัดเลือกดังกล่าว จะนำไปเผยแพร่สื่อสารกับสังคม ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการยุติเอดส์โดยการส่งต่อความรู้ความเข้าใจในการป้องกันเอชไอวี/เอดส์อย่างถูกต้อง รวมถึงการไม่รังเกียจ กีดกัน และไม่เลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์เพื่อไปสู่เป้าหมายการยุติเอดส์ในประเทศไทย
ทั้งนี้ ภายในงานดังกล่าว TNAF ได้แนะนำโลโก้ใหม่เป็นสัญลักษณ์ “โบว์แดงวางชิดกัน” ให้มีลักษณะเหมือนการจับมือกันเป็นทอดๆ เพื่อสื่อถึงความสามัคคี ร่วมมือ ร่วมใจปฏิบัติหน้าที่ให้บรรลุเป้าหมาย
วาเลนไทน์ 2566 ป้องกันด้วยถุงยางอนามัย ลดอัตราติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์
ก่อนวาเลนไทน์ 2566 ! รู้จัก 6 โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่ป้องกันได้!