แพทย์เผยต้นกำเนิด“ไวรัสมาร์บวร์ก”ยันไม่ใช่ไวรัสใหม่-ไม่ระบาดวงกว้าง
ศ.วสันต์ หัวหน้าศูนย์จีโนมทางการแพทย์ โรงพยาบาลรามาธิบดี อธิบายถึงต้นกำเนิด ไวรัสมาร์บวร์ก หลังคร่าชีวิตชาวแอฟริกากลางไปถึง 9 คน ภายใน 8 วัน ย้ำไม่ใช่ไวรัสใหม่ระบาดมาแล้วหลาย 10 ปี คาดไม่ระบาดทั่วโลกเหมือนโควิด19 เนื่องจากความรุนแรงของโรคที่ชัดเจน
จากกรณีของ ไวรัสมาร์บวร์ก (Marburg virus disease) ในประเทศอิเควทอเรียลกินี (Equatorial Guinea) แอฟริกากลาง ที่ทำให้มีผู้ป่วยเสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 9 ราย โดยได้รับรายงานว่า ผู้เสียชีวิตทั้งหมดมีอาการติดเชื้อรุนแรง เป็นไข้และอาเจียนเป็นเลือด และยังมีผู้ป่วยสงสัยอีก 16 ราย ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขไทยได้จับตาและเฝ้าระวังผู้เดินทางมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยง เนื่องจากไวรัสมาร์บวร์ก เป็น1ใน13 โรคติดต่ออันตราย ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 อัตราการป่วยเสียชีวิตสูงถึง 88%
WHO ยืนยัน "ไวรัสมาร์เบิร์ก" ระบาดใน "อิเควทอเรียลกินี" หลังเสียชีวิตอย่างน้อย 9 คน
จับตา “ไวรัสมาร์บวร์ก” แอฟริกากลาง อัตราตายสูง ลักษณะโรคเหมือนอีโบลา
ทีมข่าว พีพีทีวี ได้สอบถามสถานการณ์ของไวรัสมาร์บวร์กไปที่ ศ.วสันต์ จันทราทิตย์ หัวหน้าศูนย์จีโนมทางการแพทย์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้ประเมินเชื้อดัวกล่าวว่าเป็นโรคระบาดที่เป็นไปได้ยากที่จะระบาดวงกว้างเหมือนโควิด-19 เพราะคนที่ได้รับเชื้อจะมีอาการเจ็บป่วยหนักและเห็นชัดว่าติดเชื้อ ไม่สามารถเดินทางได้เหมือนกันโควิด-19ที่บางรายไม่มีอาการหรือมีอาการน้อย ซึ่ง 9 คนที่เสียชีวิตอันเนื่องมาจากไปงานศพของผู้เสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุ แล้วไปจับศพ จึงทำให้ติดเชื้อไวรัสมาร์บวร์กและเสียชีวิตลง
ขณะที่ผู้ใกล้ชิดทั้งหมดก็อยู่ในการควบคุมของรัฐแล้ว ซึ่งไวรัสมาร์บวร์ก ไม่มีการรักษา เพราะไม่มีทั้งยาและวัคซีนการป้องกันคือหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อหรือกลุ่มเสี่ยง เนื่องจากไม่ได้ติดต่อกันผ่านทางลมหายใจ โดยต้นตอของโรคมาจากค้างคาว เพราะฉะนั้นการที่จะเข้าไปในถ้ำต้องระวังเพราะอาจจะติดเชื้อจากเห็บหรือมูลของค้างค้าวก็ได้ ซึ่งในไทย ศ.วสันต์ ได้อธิบายต่อว่าตนเองก็ได้ทำวิจัยกับทางวิทยาโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน เพื่อศึกษาเห็บที่ค้างคาวมาเพื่อมีไวรัสอยู่หรือไม่ เพื่อเตรียมความพร้อมในไทยเอาไว้เช่นกัน
อาการของไวรัสมาร์บวร์ก
- ปวดหัวตัวร้อนเฉียบพลัน
- ตกเลือด
- ท้องเสีย
- ล้มเหลวของอวัยวะภายใน
- เลือดออกข้างใน จ้ำเลือดตามตัวไม่ได้เป็นตุ่มพองขึ้นมา
แพทย์หลายสำนัก ยันอย่ากังวลหลังจีนเปิดประเทศ ยันเป็นโควิดสายพันธุ์รับมือได้
ไวรัสมาร์บวร์กอัตราการเสียชีวิตที่สูงถึง 88 % ?
ศ.วสันต์ ระบุว่า เนื่องจากในบางพื้นที่ที่ระบาดอาจจะห่างไกลจึงทำให้การรักษาเป็นไปได้ยาก แต่เมื่อ องค์การอนามัยโลก (WHO) เข้าไปถึงแล้ว ซึ่งในกรณีนี้เพียง 3 วันเท่านั้น อาจจะช่วยลดอัตราการตายลงได้จากการรักษาตามอาการ ซึ่งในความจริงแล้วอัตราการตายของโรคอยู่ที่ 22-88% แต่ในรายที่เป็นรุนแรงมากจะเสียชีวิตได้ใน 8 วัน เพราะโรคดังกล่าวมีระยะเวลาฟักตัวเร็ว 2-12 วันเท่านั้นและย้ำว่าลักษณะอัตราการตายที่สูงเช่นนี้ไม่สามารถแพร่ระบาดได้ทั้งโลกเหมือนโควิด-19 อย่างแน่นอน
ศ.วสันต์ อธิบายต่อว่า ไวรัสมาร์บวร์ก ไม่ใช่ไวรัสใหม่มีมานานหลาย 10 ปี แพร่ระบาดเป็นโรคประจำถิ่นมานานแล้วที่แอฟริกาแต่ยังไม่มีการตั้งชื่อ หลังจากนั้นได้มีการนำลิงเขียวจากแอฟริกาไปทดลองในประเทศเยอรมัน และเกิดมีคนบาดเจ็บ เสียชีวิต จึงทำให้มีชื่อว่า “มาร์บวร์ก” ซึ่งเป็นชื่อเมืองของเยอรมัน
ทั้งนี้ตามรายงานขององค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุไว้ว่าไวรัสมาร์เบิร์กมีรหัสพันธุกรรมเดียวกันกับเชื้อไวรัสอีโบลา ถูกค้นพบเป็นครั้งแรกหลังจากมีผู้ติดเชื้อ 31 คนและเสียชีวิต 7 รายในช่วงการระบาดเดียวกันเมื่อปี 1967 ที่มาร์เบริ์กและแฟรงก์เฟิร์ต ประเทศเยอรมนี และ เบลเกรด ประเทศเซอร์เบีย
โควิด XBB.1.5 พบในไทย 2 คน รักษาหายแล้ว ยังไม่เจอคนใกล้ชิดติดเชื้อ
โควิด-19 รอบสัปดาห์ ยังลดต่ำ ติดเชื้อเฉลี่ยวันละ 56 คน เสียชีวิต 1 ราย