รู้จัก“มะเร็งต่อมน้ำเหลือง” พบบ่อยในไทย รักษาได้หากพบไว
จากกรณี “คุณหมอลูกหมู” เจ้าของเฟซบุ๊กเพจ "พักก้อน" เล่าประสบการณ์เป็นหนึ่งใน 6,000 คนจากทั่วโลก ต่อสู้ “มะเร็งต่อมน้ำเหลือง” สธ.แนะหมั่นสังเกตหากคลำพบต่อมน้ำเหลืองโตหรือมีอาการผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
จากกรณี “คุณหมอลูกหมู” เจ้าของเฟซบุ๊กเพจ "พักก้อน" เล่าประสบการณ์เป็นหนึ่งใน 6000 คนจากทั่วโลก ต่อสู้ “มะเร็งต่อมน้ำเหลือง” ชนิด diffuse large B-cell lymphoma (DLBCL) ที่ดุและโตเร็วมากที่สุด จนโรคสงบลงหลังรักษานาน 6 เดือน ในวัย 28 ปี ทั้งที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยง อาทิ กินเหล้า สูบบุหรี่ หรือเที่ยวกลางคืนเลย
นายแพทย์วีรวุฒิ อิ่มสำราญ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า มะเร็งต่อมน้ำเหลืองเป็นมะเร็งที่พบบ่อยในคนไทย สามารถพบได้ทุกช่วงอายุแล้วแต่ชนิด ประมาณ 3,000-4,000 คน/ปี
หมอสาว 28 ปี เล่าประสบการณ์ต่อสู้ “มะเร็งต่อมน้ำเหลือง” ชนิดดุ-โตเร็ว
“ตาโปน” แบบไหน ? สัญญาณเตือนโรค ไทรอยด์เป็นพิษ-มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
มะเร็งที่เกิดกับต่อมน้ำเหลืองเกิดได้ทุกบริเวณของร่างกาย ตั้งแต่บริเวณรักแร้ คอ ขาหนีบ ตามข้อพับ และในช่องอก ช่องท้อง นอกจากนี้แล้ว เซลล์ต่อมน้ำเหลืองยังมีอยู่ทุกอวัยวะในร่างกาย สามารถเกิดเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้ทั้งสิ้น เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลืองบริเวณลำไส้ มะเร็งต่อมน้ำเหลืองในสมอง เป็นต้น
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
- มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กิน (Hodgkin lymphoma) ผู้ป่วยมักจะมีต่อมน้ำเหลืองโตบริเวณคอและช่องอก ให้การรักษาโดยการใช้ยาเคมีบำบัดร่วมกับการฉายแสง โอกาสหายขาดสูง
- มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอนฮอดจ์กิน (Non-hodgkin lymphoma) พบมาก และแบ่งย่อยออกได้อีกประมาณ 30 ชนิด แต่แบ่งตามลักษณะการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้เป็น 2 แบบ
- ชนิดค่อยเป็นค่อยไป (Indolent lymphoma)
- ชนิดรุนแรง(Aggressive) ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตใน 6 เดือน ถึง 2 ปี
ทั้งนี้ถ้าได้รับการรักษาทันท่วงที มีโอกาสหายขาดจากโรคได้มาก แม้จะอยู่ในระยะไหนก็ตาม
การรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลือง
ปัจจุบันให้การรักษาด้วยยาเคมีบำบัดร่วมกับยาพุ่งเป้า (Targeted therapy) ที่เริ่มมีการศึกษาวิจัยและนำมาใช้มากขึ้นในปัจจุบัน ฉายแสงในบางกรณี และการปลูกถ่ายไขกระดูกในเคสที่กลับเป็นซ้ำ นอกจากนี้ยังมีวิธีการรักษาใหม่สำหรับโรคที่กลับเป็นซ้ำด้วยการใช้เซลล์บำบัด (CAR-T cell) ซึ่งยังอยู่ในช่วงการศึกษาวิจัยในประเทศไทย สำหรับการดูแลตัวเอง คือ พยายามทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นอาหารที่มีพลังงานเยอะ เช่น ไข่ขาว หรือมีโปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ต่าง ๆ หลีกเลี่ยงการทานพวกยาชุด ยาหม้อ ยาลูกกลอน และควรออกกำลังกาย เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและทำให้สุขภาพดีค่ะ
แพทย์แนะสังเกต “มะเร็งหัวใจ” หากพบอาการผิดปกติควรรีบพบแพทย์
4 มะเร็งที่วัย 40+ ควรตรวจ ป้องกัน รู้ทันสัญญาณเสี่ยง