4 มะเร็งที่วัย 40+ ควรตรวจ ป้องกัน รู้ทันสัญญาณเสี่ยง
“โรคมะเร็ง” สาเหตุการเสียชีวิตของคนไทยอันดับ 1 นำหน้าการเกิดอุบัติเหตุ และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี จากสถิติจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติพบว่า คนไทยมีผู้ป่วยโรคมะเร็ง รายใหม่ถึงวันละ 336 คน หรือ 122, 757 คนต่อปี และเสียชีวิตวันละ 221 คน หรือ 80,665 คนต่อปี ซึ่งมักจะก่อโรคในลักษณะค่อย ๆ เป็นค่อย ๆ ไป และแสดงอาการชัดเมื่ออายุมากขึ้น!
รู้จัก 4 มะเร็งที่ วัย 40+ ต้องระวัง
มะเร็งตับ นับเป็นชนิดมะเร็งที่ชายไทยเสียชีวิตเป็นอันดับ 1 โดยเหตุผลที่เป็นเช่นนี้ เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่ มักจะได้รับการวินิจฉัยเมื่ออายุ 40-70 ปี เนื่องจากไม่มีอาการแบบเฉพาะเจาะจง และมระยะของโรคที่รวดเร็ว จึงทำให้ผลการรักษาไม่ดีเท่าที่ควร
ผู้ป่วยมะเร็งตับมักมีอาการดังนี้
- ตัวเหลือง ตาเหลือง
- ท้องมาน
- มีอาการทางสมอง จากภาวะตับวาย
- ผู้ป่วยกลุ่มที่เป็นโรคตับแข็ง ตับวายเรื้อรัง ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซีเรื้อรัง มีความเสี่ยงสูงที่จะพบโรคมะเร็งตับได้เช่นกัน
World Cancer Day มะเร็ง ป้องกันได้ ด้วยการตรวจคัดกรอง
7 สัญญาณ “โรคมะเร็ง” เนื้อร้ายคุกคามชีวิตรู้เร็วรักษาได้
มะเร็งตับอ่อนและท่อน้ำดี พบได้มากขึ้นในผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 45 ปีขึ้นไป ถึงแม้ซึ่งเป็นอัตราส่วนที่ต่ำมากแต่อันตรายไม่แพ้กัน ซึ่งมะเร็งตับอ่อนมีหลายชนิด ส่วนใหญ่จะเป็นชนิดที่เกิดจากเซลล์ท่อตับอ่อน (Ductal Adenocarcinoma) โดยมีส่วนน้อยที่เกิดจากเซลล์ที่สร้างฮอร์โมนต่าง ๆ อาการของมะเร็งตับอ่อน แบ่งเป็น 2 ลักษณะ
- ก้อนที่อยู่บริเวณหัวตับอ่อน เนื่องจากบริเวณหัวตับอ่อนจะเป็นทางผ่านของท่อทางเดินน้ำดี ดังนั้นผู้ป่วยจะมีอาการของการระบายน้ำดีออกไม่ได้และมีน้ำดีคั่งในกระแสเลือด ทำให้เกิดอาการตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะสีเข้ม อ่อนเพลีย กินได้น้อย น้ำหนักลด ถ่ายอุจจาระเป็นมัน
- ก้อนที่อยู่บริเวณตัวและหางตับอ่อน ส่วนนี้ไม่ได้อยู่ใกล้ท่อน้ำดี ในระยะแรกผู้ป่วยจึงมักไม่มีอาการ แต่จะเริ่มมีอาการเมื่อก้อนมีขนาดใหญ่หรือมีการกระจายของโรคแล้ว โดยผู้ป่วยจะมีอาการ เช่น อ่อนเพลีย กินได้น้อย น้ำหนักลด ปวดท้องจากก้อนไปเบียดเส้นประสาท ท้องมานจากการที่มีมะเร็งกระจายไปที่เยื่อบุช่องท้อง
ทั้งนี้ก้อนที่อยู่บริเวณหัวตับอ่อนมักเบียดท่อน้ำดีและทำให้เกิดอาการตัวเหลืองได้ง่าย ผู้ป่วยส่วนใหญ่จึงมาพบแพทย์ได้ทันท่วงที แต่สำหรับก้อนที่อยู่บริเวณหางตับอ่อนมักไม่มีอาการจนกระทั่งตรวจพบเมื่อก้อนมีขนาดใหญ่หรือในระยะลุกลาม ดังนั้นผู้ป่วยที่มีก้อนที่หัวตับอ่อนจึงมีการพยากรณ์โรคดีกว่าก้อนที่หางตับอ่อน
เช็กสัญญาณ“ไขมันพอกตับ”จุดเริ่มต้น ตับแข็ง – มะเร็งตับ คนผอมก็เสี่ยงได้!
ท้องผูกบ่อย 1 ใน 5 สัญญาณมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งอันดับต้นที่คนไทยเสียชีวิต
มะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับต้นของไทย ซึ่งหลายคนมักเจอโรคในระยะที่อาการหนักแล้ว ซึ่งสาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้วัย 40+ เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่มากวัยอื่น
เพราะเป็นช่วงวัยที่ระบบทางเดินอาหารและระบบย่อยอาหารเริ่มเสื่อมประสิทธิภาพลง โดยเฉพาะกลุ่มที่เลือกกินอาหารจำพวกเนื้อแดงทานเนื้อสัตว์ที่ผ่านขบวนการปรุงแต่ง และการสูบบุหรี่ดื่มแอลกอฮอล์ ฉะนั้นควรตรวจคัดกรองมะเร็งทุกๆ 3-5 ปี
อาการเตือนบอกโรคในระยะแรกอาจจะไม่มีอาการแสดงที่จำเพาะ โดยอาการที่บ่งบอกว่าอาจจะเป็นมะเร็งลำไส้ ได้แก่
- ขับถ่ายผิดปกติ ท้องผูกสลับท้องเสีย
- อุจจาระมีลักษณะเปลี่ยนไปเป็นเส้นเล็กลง
- มีเลือดออกทางทวาร อุจจาระปนเลือด
- ปวดท้องคล้ายลำไส้ถูกบิด
มะเร็งเต้านม มะเร็งที่ครองแชมป์ที่พบบ่อยที่สุดในผู้หญิงไทย และเป็นอันดับ 3 ทั้งเพศชายและหญิง โดยพบมะเร็งเต้านมรายใหม่ 22,158 ราย ต่อปี หรือชั่วโมงละ 2.5 คน และมีผู้เสียชีวิตจากมะเร็งเต้านม 8,266 รายต่อปี ยังไม่สามารถระบุสาเหตุของโรคได้อย่างแน่ชัด จึงยังไม่มีแนวทางการป้องกันที่แน่นอนชัดเจน แต่คาดว่า เกิดจากการที่เซลล์ท่อน้ำนมหรือต่อมน้ำนมแบ่งตัวผิดปกติ ทำให้เกิดเป็นก้อนเนื้องอก หรือการที่ระดับฮอร์โมนฮอร์โมนเอสโตรเจนที่สูงมากก็มีส่วนกระตุ้นการเกิดมะเร็งเต้านมได้เช่นกัน
ใครบ้างเสี่ยงมะเร็งเต้านม
- เพศหญิง มีโอกาสเกิดมะเร็งเต้านมมากกว่าผู้ชาย
- อายุ 40 ปีขึ้นไป มักเกิดความผิดปกติได้มากกว่าผู้ที่มีอายุน้อย ๆ โอกาสเป็นมะเร็งเต้านมจึงมากกว่า
- ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน 40-50 ปี ที่กินยาฮอร์โมนทดแทน
- ยังไม่มีบุตร การสร้างน้ำนมของผู้หญิงที่มีบุตรจะทำให้เซลล์เต้านมเจริญเติบโตได้สูงสุด โอกาสการแบ่งตัวผิดปกติจึงมีน้อย
- ยาคุมกำเนิด หากกินติดต่อกันนานเกิน 5 ปี เป็นการเพิ่มโอกาสเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งเต้านม
- พันธุกรรม โอกาสเสี่ยงมากขึ้นถึง 10%
อาการของมะเร็งเต้านม
- คลำพบก้อนที่เต้านม
- ความผิดปกติของหัวนม ได้แก่ มีการดึงรั้งจนหัวนมบุ๋มลง มีน้ำเหลือง / เลือดออกทางหัวนม
- คลำพบต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้
มะเร็งเต้านมในระยะแรกนั้นมักไม่แสดงอาการ ผู้หญิงทุกคนจึงต้องรับการตรวจเช็กเต้านมอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งแนะนำว่าผู้ที่อายุ 20 ปีขึ้นไป ควรคลำเต้านมตัวเองเดือนละครั้ง โดยคลำในช่วงหลังหมดประจำเดือน 7 วัน เพื่อดูว่าพบก้อนหรือไม่ และควรเข้ารับการตรวจโดยแพทย์ทุก ๆ 3 ปี ขณะที่กลุ่มอายุ 40 ปีขึ้นไปต้องเข้ารับการตรวจอย่างสม่ำเสมออย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี
อย่างไรก็ตามเห็นได้ว่า สิ่งที่ทั้ง 4 มะเร็งเหมือนกันคือใช้ระยะเวลาก่อตัวและฉวยโอกาสเมื่ออายุเพิ่มขึ้น ภูมิคุ้มกันลดลง ร่างกายเสื่อมถอย คล้ายการเปิดสวิตซ์ แต่ในปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์เพิ่มขึ้นเราสามารถพยากรณ์โรคและความเสี่ยงเฉพาะบุคคลได้ อาทิ การตรวจอวัยวะภายในช่องท้องส่วนบนโดยใช้คลื่นความถี่สูง (Ultrasound Upper Abdomen) ,การตรวจวัดปริมาณไขมันสะสมในตับ (Fibro Scan),การตรวจเอกซเรย์มะเร็งเต้านมด้วยเครื่องดิจิตอลและอัลตราซาวด์ (Digital Mammogram / Ultrasound) ,และการตรวจทางห้องปฏิบัติการ (Lab Test) โดยไม่จำเป็นต้องรอให้เกิดโรคก่อนเพื่อวางแผนสุขภาพในระยะยาว มีคุณภาพชีวิตที่ดี สุขภาพแข็งแรง
ข้อมูลสุขภาพ : บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด(มหาชน) : BDMS
เช็กสัญญาณ “มะเร็งเต้านม” และคนกลุ่มไหนบ้างที่เสี่ยงเกิดโรค
รวมเรื่องอาหารของผู้ป่วย “มะเร็ง” ฉายแสง-เคมีบำบัดแล้วกินอะไรได้บ้าง