5 กลุ่มเสี่ยง-สัญญาณ“พาร์กินสัน” โรคทางสมองอันดับ 2 รองจากอัลไซเมอร์
โรคพาร์กินสันพบบ่อยเป็นอันดับ 2 รองจากโรคอัลไซเมอร์ มักพบในผู้สูงวัย ที่มีอายุเฉลี่ย 60-65 ปี ปัจจุบันพบว่ามีแนวโน้มผู้ป่วยสูงขึ้น เนื่องจากจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นและที่น่าตกใจ พบว่าผู้ป่วยร้อยละ 8 เป็นโรคพาร์กินสันก่อนอายุ 40 ปีอีกด้วย อะไรคือสัญญาณเตือน แล้วกลุ่มเสี่ยงคืออะไร ?
โรคพาร์กินสัน หรือ โรคสั่นสันนิบาต ในคนไทยมีโอกาสพบ 1-1.5 แสนคน มีอัตราป่วย 3 ใน 1,000 คน โดยเฉพาะกลุ่มผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปี นับเป็นโรคระบบประสาทและสมอง ที่พบได้บ่อยเป็นอันดับ 2 รองลงมาจากอัลไซเมอร์ และที่น่าตกใจ พบว่าผู้ป่วยร้อยละ 8 เป็นโรคพาร์กินสันก่อนอายุ 40 ปีอีกด้วย ซึ่ง โรคพาร์กินสัน เกิดจากความเสื่อมของสมองอย่างช้าๆ ทำให้สารสื่อประสาทโดปามีน (Dopamine) ในสมองลดลง
กลุ่มอาหารทำลายสมอง เพิ่มความเสี่ยงอัลไซเมอร์-เบาหวาน
6 สุดยอดเครื่องดื่มอายุยืน ลดความเสี่ยงอัลไซเมอร์-โรคหัวใจ ร่างกายอักเสบ
ซึ่งมีส่วนสำคัญในการเคลื่อนไหวร่างกาย ส่งผลให้เกิดอาการต่างๆ เช่น การเคลื่อนไหวช้า อาการสั่นหรืออาการแข็งเกร็ง รวมทั้งมีปัญหาในการทรงตัวด้วยเช่นกัน และยังพบว่าผู้ป่วยบางรายมีประวัติครอบครัวเป็นโรคพาร์กินสัน เนื่องจากโรคนี้สามารถถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรมอีกด้วย
ใครบ้างที่มีความเสี่ยงเป็น “โรคพาร์กินสัน”
- กลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุเฉลี่ย 60-65 ปี และผู้ชายมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้มากกว่า 1.5 เท่า
- ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคพาร์กินสัน เพราะโรคนี้ถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรม
- ผู้ที่สัมผัสกับยาฆ่าแมลงหรือยาฆ่าวัชพืชอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน
- ดื่มแอลกอฮอล์หนัก ทำให้สมองฝ่อ(ปัจจัยการเกิดพาร์กินสันในวัยรุ่น)
- ผู้ที่เคยได้รับแรงกระทบกระเทือนบริเวณศีรษะมาก่อน ทั้งจากอุบัติเหตุ และการเล่นกีฬา โดยเฉพาะนักกีฬาที่ต้องมีการปะทะบ่อยๆ เช่น นักมวย,นักฟุตบอล
สัญญาณเตือนแรกของพาร์กินสัน
ในระยะผู้ป่วยจะมีอาการ เคลื่อนไหวช้าลง เดินลากขา ไม่แกว่งแขน ตัวแข็งเกร็ง พูดเสียงเบาและช้าลง เขียนหนังสือตัวเล็กลงกว่าเดิม เป็นต้น โดยทั่วไป ผู้ป่วยแต่ละรายจะมีอาการแสดงออกมากน้อยแตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ ด้าน เช่น อายุของผู้ป่วย ระยะเวลาการเป็นโรค และภาวะแทรกซ้อนที่ตามมา ซึ่งอาการแสดงแบ่งเป็น 2 กลุ่มหลักๆ คือ
อาการที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว
- อาการสั่น เป็นอาการเริ่มต้นของโรค พบมากที่มือและเท้า ซึ่งอาการจะสั่นรุนแรงมากเป็นพิเศษเวลาอยู่นิ่งๆ หรือขณะพัก
- อาการเกร็ง ปัญหากล้ามเนื้อเกร็ง
- เคลื่อนไหวช้า ผู้ป่วยเคลื่อนไหวช้า ขาดความกระฉับกระเฉง
- ปัญหาการทรงตัว ผู้ป่วยมีการทรงตัวไม่ดี เวลาเดินหกล้มได้ง่าย
- ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการทางจิตประสาท เช่น ซึมเศร้า วิตกกังวล โมโหร้าย
- อาการร่วม มีปัญหาเรื่องการรับกลิ่น มีอาการท้องผูก เวียนศีรษะ หรือง่วงนอนในตอนกลางวัน นอนไม่หลับในเวลากลางคืน เนื่องจากการทำงานผิดปกติของระบบประสาทนั่นเอง
เช็ก 10 ข้อ ขี้หลงขี้ลืมแบบไหนเป็นสัญญาณเตือนโรคสมองเสื่อม
การรักษาโรคพาร์กินสัน แม้ว่าขณะนี้ยังไม่มียาที่จะสามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่มีวิธีช่วยชะลอโรคหลายวิธี
- การกายภาพบำบัด และการออกกำลังกาย ช่วยให้ผู้ป่วยมีการเคลื่อนไหวที่ถูกต้องและสมส่วน รวมถึงปรับการทรงตัวของร่างกายให้มีความยืดหยุ่นและแข็งแรง
- การรักษาด้วยยาเพื่อเพิ่มระดับสารโดปามีน หรือ การกระตุ้นตัวรับโดปามีนในสมอง ช่วยลดอาการสั่นและควบคุมการเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น
- ฉีดยาแบบให้ต่อเนื่อง เพื่อลดปัญหาการตอบสนองต่อยาที่ไม่สม่ำเสมอ ผ่านการปลดปล่อยยาอย่างต่อเนื่องด้วยปั๊ม ประกอบด้วยยา 2 ชนิดคือ ยา Apomorphine และ ยา Levodopa-carbidopa intestinal gel
- การผ่าตัด การผ่าตัดกระตุ้นสมองส่วนลึก (Deep Brain Stimulation หรือ DBS) คือการรักษาด้วยการผ่าตัดฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าในสมอง ใช้สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการตอบสนองต่อยาที่ไม่สม่ำเสมอ หรือ มีอาการสั่นรุนแรง
ไม่ว่าจะเป็นการรักษาแบบใดก็ตาม จะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ แม้ว่าโรคพาร์กินสันจะรักษาให้หายขาดไม่ได้ แต่เป้าหมายสำคัญกว่านั้นคือ การทำให้ผู้ป่วยกลับคืนมาสู่สภาพชีวิตที่ดีและใกล้เคียงกับคนปกติให้ได้มากที่สุด
ข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไท
“เลเคนแมบ” ความหวังผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์! ชะลอสมองเสื่อมถอยได้
“พริก” แซ่บได้แต่พอดีเป็นประโยชน์ ป้องกันโรคพาร์กินสัน-มะเร็งปอด