การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงมะเร็ง อย่างการสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ การรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ขาดการออกกำลังกาย และมลพิษทางอากาศ รวมถึงการตรวจคัดกรองมะเร็งตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งลงได้สูงถึง 30-50 % เพราะหากค้นพบความผิดปกติตั้งแต่ระยะเริ่มต้น เพื่อเข้ารับการรักษาก่อนเข้าสู่ภาวะลุกลาม ลดโอกาสในการเสียชีวิต
เนื่องจากมะเร็งมักไม่แสดงอาการในระยะเริ่มต้น การตรวจคัดกรองมะเร็งจึงมีส่วนช่วยคัดกรองความเสี่ยงของโรคมะเร็งได้ ซึ่งในปัจจุบันมีการตรวจหลากหลายวิธี ดังต่อไปนี้
-ค่า Alpha-fetoprotein (AFP) ที่มักมีค่าสูงกว่าปกติในผู้ป่วยมะเร็งตับ (Hepatocellular carcinoma) รวมถึงมะเร็งของรังไข่ หรือ อัณฑะ ชนิด embryonal cell carcinoma
-ค่า Carcinoembryonic antigen (CEA) ซึ่งมักสูงผิดปกติผู้ป่วยมะเร็งของระบบทางเดินอาหารต่างๆ, มะเร็งตับอ่อน, มะเร็งปอด, มะเร็งรังไข่ มะเร็งเต้านม โดยเฉพาะ มะเร็งลำไส้ใหญ่ จะพบ ค่า CEA สูง บ่อยกว่ามะเร็งชนิดอื่นๆ
-ค่า Prostate-specific antigen (PSA) ในเพศชายเพื่อดูความเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมากและภาวะต่อมลูกหมากโตที่ไม่ใช่มะเร็ง (benign prostatic hyperplasia, BPH)
-ค่า Cancer antigens (CA15-3) เพื่อคัดกรองมะเร็งเต้านมในผู้หญิง
-ค่า Cancer antigens (CA125) เพื่อคัดกรองมะเร็งรังไข่ชนิด non-mucinous type
-ค่า Cancer antigens (CA19-9) เพื่อคัดกรองมะเร็งตับอ่อน และมะเร็งของท่อน้ำดี
2. การตรวจแปปสเมียร์ (Pap Smear หรือ Pap Test) เพื่อคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โดยแพทย์จะใช้เครื่องมือสอดเข้าไปในช่องคลอด เพื่อเก็บเซลล์จากมดลูกส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจหาเซลล์ที่ผิดปกติ หรือเซลล์ที่อาจพัฒนากลายเป็นเซลล์มะเร็ง รวมถึงการตรวจหาเชื้อไวรัส HPV (Human papillomavirus) ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้ โดยแนะนำให้ผู้หญิงเข้ารับการตรวจแปบสเมียร์ภายหลังเริ่มมีเพศสัมพันธ์ 3 ปี หรือเมื่อมีอายุครบ 25 ปี และควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทุก 1-2 ปี
3. การตรวจแมมโมแกรม (mammogram) เป็นการถ่ายภาพเต้านม สามารถแยกความแตกต่างของเนื้อเยื่อต่างๆและไขมันได้ เพื่อค้นหาความผิดปกติตั้งแต่ระยะเริ่มต้น เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการตรวจพบหินปูนในเต้านม แนะนำให้ผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป เข้ารับการตรวจแมมโมแกรมทุกปี
4. การตรวจ EDIM (Epitope Detection in Monocytes) เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่ช่วยในการคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งในระยะเริ่มแรก (Early detection cancer) โดยใช้การตรวจเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดโมโนไซต์ที่ถูกกระตุ้นกลายเป็นแมคโครฟาจ (macrophage) ซึ่งทำหน้าที่จับกินสิ่งแปลกปลอมทั่วร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น แบคทีเรีย เซลล์เสื่อมสภาพ รวมถึงเซลล์มะเร็ง จึงสามารถพบชิ้นส่วนของเซลล์ที่ผิดปกติอยู่ภายในเซลล์แมคโครฟาจได้ ส่วนสำคัญในวิธีการตรวจวัดนี้จะใช้ตัวบ่งชี้ 2 ตัว คือ DNaseX และ TKTL1 Gene เพื่อนำมาคำนวณเป็นคะแนน ใช้ดูความเสี่ยงของการมีเซลล์ผิดปกติที่มีโอกาสพัฒนาไปเป็นเซลล์มะเร็งได้
BDMS Wellness Clinic มุ่งมั่นพัฒนาและวิจัยเรื่องสุขภาพ เพื่อมอบเป็นของขวัญสุขภาพแก่คนไทยทุกคน เพราะสุขภาพที่ดี คือของขวัญที่ดีที่สุด Live longer, Healthier and Happier
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บีดีเอ็มเอส เวลเนส คลินิก (BDMS Wellness Clinic) ไลน์ : @bdmswellnessclinic or https://lin.ee/rdIDv1A เว็บไซต์ : www.bdmswellness.com