เตือนอาหารทะเลหน้าร้อน ไม่ระวังเสี่ยงท้องร่วง แนะวิธีเลือกซื้อให้สด-สะอาด
กรมอนามัย เตือน ประชาชนหลีกเลี่ยงกินอาหารทะเลสุกๆ ดิบๆ เน้นปรุงสุก ช่วงหน้าร้อน พร้อมแนะเลือกซื้ออาหารทะเลสด แนะผู้ประกอบการห้ามนำฟอร์มาลินมาแช่อาหารมีความผิดทางกฎหมาย พิษร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต
นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประชาชนจะไปท่องเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ ซึ่งทะเลเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับต้นๆ และอาหารทะเลก็เป็นเมนูที่ต้องสั่งมากินเช่นเดียวกัน บางบ้านอาจเลือกซื้ออาหารทะเลสดมาปรุงประกอบที่บ้าน หรือรีสอร์ทที่พัก ทั้งนี้ อาหารทะเลเป็นอาหารสดที่เน่าเสียได้ง่าย
กรมอนามัย จึงแนะนำให้ประชาชนควรเลือกซื้ออาหารทะเลจากแหล่งที่เชื่อถือได้ เช่น ตลาดที่ได้มาตรฐาน
เตือน! อย่าหลงเชื่อ‘ปลาเหล็ก-กระทะเหล็ก’เพิ่มธาตุเหล็กป้องกันโลหิตจางได้
อย่าตื่นตระหนก! “ไข้หวัดนก H5N1” กัมพูชา แนะปรุงสุกลดการปนเปื้อนได้
ควรสังเกตอาหารทะเลที่จะซื้อ
- ปลา ต้องเลือกปลาที่มีเหงือกสีแดง ไม่เขียวคล้ำ เนื้อแน่น กดไม่บุ๋ม ไม่มีกลิ่นคาว ตาใส ไม่ช้ำเลือดหรือขุ่นเป็นสีเทา
- ปู จะต้องเลือกปูที่ยังไม่ตาย ตาต้องใส และขาต้องติดตัวปูครบทุกขา การเลือกซื้อ
- กุ้ง ต้องมีเนื้อแน่น ไม่มีกลิ่นคาวเหม็นคล้ายกลิ่นแอมโมเนีย ครีบและหางต้องเป็นมันสดใส หัวกับตัวจะยังติดกันแน่น เพราะกุ้งที่ไม่สด หัวหรือส่วนที่เป็นเปลือกส่วนหัวจะไม่ติดกับตัว
- แมงดา และแมงกะพรุน ต้องระวังในการเลือกซื้อ เนื่องจากแมงดาทะเลมี 2 ชนิด คือ แมงดาจานที่ไม่มีพิษ ส่วนแมงดาถ้วยหรือแมงดาไฟหรือเหรา เป็นแมงดาที่มีพิษ ต้องสังเกตให้ดีว่าเป็นแมงดาที่กินได้หรือไม่ได้ หากแยกไม่ออก ไม่ควรกิน เพราะอาจเสี่ยงได้รับพิษ ส่วนแมงกะพรุนที่กินได้ มี 2 ชนิด คือ แมงกะพรุนหนังและแมงกะพรุนจาน และควรระวังแมงกะพรุนไฟเพราะเป็นแมงกะพรุนมีพิษ
วิธีการเก็บรักษาวัสดุดิบ
- หากไม่นำมาปรุงกินทันที ควรล้างทำความสะอาดแยกเก็บใส่ตู้เย็น ที่ช่องแช่แข็ง อุณหภูมิติดลบที่ปรับตั้งได้ หากแช่ในอุณหภูมิ -1 ถึง 1 องศาเซลเซียส ระยะเวลาในการเก็บ ที่เหมาะสม 1-2 วัน เพื่อชะลอการเน่าเสีย
- ก่อนนำมาปรุงอาหารต้องล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ที่สำคัญเน้นปรุงสุกด้วยความร้อน หลีกเลี่ยงการกินแบบดิบ หรือ สุก ๆ ดิบ ๆ และขอให้
เตือนเทรนด์ “อิ๊วโซดา” เสี่ยงน้ำตาล-โซเดียมสูงเกินลิมิตสุขภาพพัง
ทั้งนี้ กรมอนามัยขอให้ผู้ประกอบการงดใช้วิธีการที่ผิดด้วยการนำมาแช่สารฟอร์มาลีน ซึ่งเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย หากกินอาหารที่ปนเปื้อนฟอร์มาลินไปในปริมาณ 60-90 มิลลิกรัม จะทำให้เป็นพิษต่อระบบทางเดินอาหาร อาจมีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง หัวใจเต้นเร็ว แน่นหน้าอก ปากและคอแห้ง คลื่นไส้อาเจียน ถ่ายท้อง ปวดท้องอย่างรุนแรง กระเพาะอาหารอักเสบ เกิดแผลในกระเพาะอาหาร ปัสสาวะไม่ออก หมดสติ ถ้าปล่อยไว้อาจทำให้เสียชีวิตเพราะระบบหมุนเวียนเลือดล้มเหลวได้ ทั้งนี้ขอให้ประชาชน ยึดหลัก กินร้อน ช้อนกลางล้างมือ เพื่อลดความเสี่ยงโรคอาหารเป็นพิษ และอุจจาระร่วง
เคล็ดไม่ลับ! ปลอดภัยจาก “ฟอร์มาลิน” ทั้งในอาหารและอากาศ
อาหารแช่ฟอร์มาลิน สารก่อมะเร็ง-พิษถึงชีวิต แนะวิธีเลือกซื้ออาหารสด