“กาชาด” โต้ กสม. ปมไม่ให้หญิงข้ามเพศบริจาคเลือด ชี้ไม่เกี่ยวเพศสภาพ
“กาชาด” โต้ กสม. ปมไม่ให้หญิงข้ามเพศบริจาคเลือด ชี้เรื่องนี้เคยอธิบายแล้ว และ ม่เกี่ยวกับเพศสภาพ แต่เป็นการพิจารณาจากความเสี่ยงทางเพศสัมพันธ์
จากกรณีที่ สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เผยแพร่ข่าวผ่านสื่อต่างๆ เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2566 กล่าวถึง ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย จำกัดสิทธิการบริจาคโลหิตในผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ
รศ.พญ.ดุจใจ ชัยวานิชศิริ ผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย อธิบายข้อเท็จจริงว่า ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ตระหนักถึงหลักการความเท่าเทียมกันของมนุษย์และมาตรฐานสากลในการคัดเลือกผู้บริจาคโลหิต ที่ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริจาคและผู้ป่วยผู้รับโลหิตเป็นสำคัญ
"ชีส"ควรกินวันละกี่แผ่น? กินเยอะระวังคอเลสเตอรอลพุ่ง-โซเดียมกระจาย
ปากเบี้ยว ตาตก! สัญญาณ “โรคหน้าเบี้ยวครึ่งซีก” อันตรายของคนพักผ่อนน้อย
จากกรณีที่ กสม. เผยแพร่ข่าวว่าได้รับเรื่องร้องเรียนจากสมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย ระบุว่า ผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้หญิงข้ามเพศที่ไปบริจาคโลหิต กับศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ เมื่อเดือนกรกฎาคม 2562 ถูกปฏิเสธการบริจาคโลหิตจากเพศสภาพนั้น ไม่เป็นความจริง เนื่องจากเหตุผลที่ไม่ผ่านการคัดเลือกครั้งนั้น คือ การให้ประวัติว่ามีเพศสัมพันธ์แบบชายกับชาย ซึ่งเป็นความเสี่ยงด้านพฤติกรรมทางเพศสัมพันธ์ที่จำเป็นต้องงดบริจาคโลหิตตามเกณฑ์สากลที่หลายประเทศยังคงยึดถือปฏิบัติ โดยมิได้ปิดกั้นกลุ่มบุคคลหลากหลายทางเพศ
ทั้งนี้ กรณีที่ปรากฏในคำร้องเรียนเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2562 ที่ผู้ร้องเรียนถูกปฏิเสธการบริจาคโลหิตจากพฤติกรรม เป็นไปตามเกณฑ์คัดเลือกเมื่อ 4 ปีที่แล้ว โดยที่ กสม. ไม่ได้พิจารณาให้ถี่ถ้วนว่าเป็นกรณีเดิมที่ กสม. เคยสอบถามมายังศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ เมื่อ พ.ศ. 2564 ซึ่งศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ได้ออกหนังสือตอบอธิบายไปแล้ว 2 ครั้ง และประเด็นนี้ยังอยู่ในการพิจารณาของศาลปกครองกลาง
อย่างไรก็ตาม ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ได้มีการทบทวนเกณฑ์ ปรับคำถามในการคัดกรองและประชาสัมพันธ์มาอย่างสม่ำเสมอ ให้ประชาชนมีความเข้าใจในสถานการณ์และเกณฑ์ต่างๆ ที่ปรับใหม่ให้ตรงกัน (ติดตามได้ทางเว็บไซต์ www.blooddonationthai.com)
นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2564 ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ยังได้ริเริ่มและอยู่ระหว่างดำเนินโครงการวิจัยความเสี่ยงของการถ่ายทอดเชื้อทางโลหิตในชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย โดยได้รับทุนจากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) และความร่วมมือจากสมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทยเป็นอย่างดี
จากข้อเท็จจริงทั้งหมดเป็นการยืนยันว่า ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย มิได้มีการเลือกปฏิบัติหรือตีตราผู้มีความหลากหลายทางเพศแต่อย่างใด หากแต่มุ่งมั่นในการให้บริการโลหิตที่ปลอดภัยทั้งผู้ให้และผู้รับ ตามมาตรฐานทางวิชาการระดับสากล การแถลงข่าวของ กสม. ทำให้สภากาชาดไทยในฐานะที่เป็นศูนย์กลางหลักของงานบริการโลหิตของประเทศ เสื่อมเสียชื่อเสียงและภาพลักษณ์องค์กร ขอให้ กสม. ทบทวนและแถลงแก้ข่าวที่คลาดเคลื่อนดังกล่าวด้วย
Friends with benefits (FWB)ความสัมพันธ์เพื่อนกันไม่ผูกมัดตามหลักจิตวิยา
“นิ่วในไต” กำลังเพิ่มขึ้นในเด็กผู้หญิง เช็กปัจจัยเสี่ยง-วิธีป้องกัน