“แอสปาร์แตม” ยังปลอดภัย ใช้ได้ตามเงื่อนไขที่ อย.อนุญาต
คณะกรรมการอาหารและยาไทยเปิดเผยมีการเฝ้าระวังโดยสุ่มตรวจสารให้ความหวานแทนน้ำตาลในอาหารตั้งแต่ปี 63 ซึ่งยังไม่พบปัญหาแต่อย่างใด ยังใช้แอสปาร์แตมได้ปลอดภัยตามเงื่อนไขที่ อย.อนุญาต
เภสัชกรเลิศชาย เลิศวุฒิ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า อย. มีการตรวจสอบและประเมินความปลอดภัยการใช้สารแอสปาร์แตม ตามรูปแบบการบริโภคของประชากรไทย โดยอ้างอิงตามมาตรฐานสากล (โคเด็กซ์) และปรับเงื่อนไขการอนุญาตให้มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคของไทย อีกทั้ง อย.มีการเฝ้าระวังโดยสุ่มตรวจสารให้ความหวานแทนน้ำตาลในอาหารตั้งแต่ปี 63 ซึ่งยังไม่พบปัญหาแต่อย่างใด จึงขอให้ผู้บริโภคมั่นใจว่าสารให้ความหวานแทนน้ำตาลที่ อย.อนุญาต และกำกับดูแลการใช้ให้เป็นไปตามประกาศ สธ. มีความปลอดภัย
รู้จัก “แอสปาร์แตม” ที่ WHO เตรียมขึ้นบัญชีสารก่อมะเร็ง-สุขภาพพัง
ประโยชน์-โทษความหวานหลัง แอสปาร์แตมเตรียมขึ้นบัญชีสารก่อมะเร็ง
รองเลขาธิการฯ อย. กล่าวในตอนท้ายเพื่อแนะนำผู้บริโภคว่า ควรเลือกบริโภคอาหารหลากหลายครบ 5 หมู่ เพื่อลดความเสี่ยงจากการได้รับสารแอสพาร์เทมที่มากเกินไป รวมถึงควรระวังในผู้บริโภคบางกลุ่ม โดยให้อ่านฉลากอาหารที่มีการใช้แอสพาร์เทม ซึ่งจะมีข้อความระบุ “สารให้ความหวาน” หรือ “วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาล” และสำหรับผู้ที่มีสภาวะฟินิลคีโตนูเรีย ควรหลีกเลี่ยง
ไม่น่ากังวล! “แอสปาร์แตม” สารอาจก่อมะเร็ง กับการประเมินความปลอดภัย WHO