โควิด-19 รอบสัปดาห์ติดเชื้อยังทรงตัว ด้าน “ไข้เลือดออก” พุ่งสูง 6 พันต่อสัปดาห์
สถานการณ์โควิด-19 รอบสัปดาห์ที่ พบยอดผู้ติดเชื้อโควิดเพิ่มขึ้นเล็กน้อยแต่ยังทรงตัว 389 ราย เสียชีวิตเฉลี่ยวันละหนึ่งคน ขณะที่สถานการณ์ไข้เลือดออกยังพุ่งสูง ผู้ป่วยสะสม 65,552 ราย โดยช่วง 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา มีผู้ป่วยรายใหม่ประมาณ 5,000-6,000 รายต่อสัปดาห์ เสียชีวิตสะสม 58 ราย ในจำนวนนี้เป็นเด็กโตและผู้ใหญ่ถึง 40 ราย
กรมควบคุมโรค รายงานสถานการณ์โควิด-19 รายสัปดาห์ ระบุว่า ข้อมูลของสัปดาห์ที่ 33 ระหว่างวันที่ 13-19 สิงหาคม 2566 มีจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ รักษาในโรงพยาบาล 389 ราย เฉลี่ยรายวัน 56 รายต่อวัน ป่วยสะสมตั้งแต่ต้นปี 2566 อยู่ที่ 32,232ราย ขณะที่ผู้ป่วยหนักปอดอักเสบพบรายงาน 128 รายและผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ 81 ราย ด้านผู้เสียชีวิตลดลงเหลือ 9 ราย เฉลี่ยวันละ 1 ราย เสียชีวิตสะสมตั้งแต่ต้นปี 2566 อยู่ที่ 784 ราย
โควิด-19 รอบสัปดาห์ ผู้ติดเชื้อ-ป่วยหนักยังทรงตัวยอดเสียชีวิตลดลง
ยุทธวิธีล่าสุดโควิด19 “กลายพันธุ์คู่-พลิกขั้ว” คาดสายพันธุ์หลักในอนาคต
สำหรับจำนวนผู้ได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ยังไม่พบการรายงานว่ามีผู้เข้ารับวัคซีนเพิ่มเติม โดยในปัจจุบันฉีดวัคซีนสะสม 144,951,341 โดส แบ่งเป็น วัคซีนเข็มที่ 1 จำนวน 57,233,919 โดส คิดเป็น 82.28% เข็มที่ 2 จำนวน 53,730,348 โดส คิดเป็น 77.25% และตั้งแต่เข็มที่ 3 ขึ้นไป จำนวน 33,987,074 โดส (อัพเดตวันที่ 26 พ.ค. 2566)
'หมอยง' เผยโควิดไทยมีแนวโน้มเปลี่ยนสายพันธุ์ เป็น EG.5.1 ตามยุโรป-อเมริกา
ข้อมูลจากกรมควบคุมโรคเผยข้อมูลล่าสุด เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2566 ถึงสถานการณ์โรคไข้เลือดออกของประเทศไทย ขณะนี้มีผู้ป่วยสะสม 65,552 ราย โดยช่วง 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา มีผู้ป่วยรายใหม่ประมาณ 5,000-6,000 รายต่อสัปดาห์ ได้เปิดศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านสาธารณสุข กรณีโรคไข้เลือดออกแล้ว 31 จังหวัด และเปิดในระดับเขตรวม 7 เขต ส่วนผู้เสียชีวิตสะสมมี 58 ราย
ในจำนวนนี้เป็นเด็กโตและผู้ใหญ่ถึง 40 ราย ปัจจัยที่ทำให้เสียชีวิต คือ ช่วงแรกที่ป่วยมักไม่ได้คิดถึงโรคไข้เลือดออก และได้รับยากลุ่มเอ็นเสดเพื่อลดไข้ ทำให้เลือดออกง่ายและมีความเสี่ยงเกิดภาวะช็อกจนเสียชีวิต ดังนั้น หากมีไข้ รับประทานยาลดไข้ 2 วันแล้วไม่ดีขึ้น ให้สงสัยว่าอาจจะเป็นโรคไข้เลือดออกและรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยโรคให้ชัดเจน และเนื่องจากโรคไข้เลือดออกยังไม่มียารักษาโดยเฉพาะ สิ่งสำคัญที่จะช่วยได้คือ การกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคทุกสัปดาห์ ซึ่งจากการสำรวจดัชนีลูกน้ำยุงลายในสถานที่ต่างๆ ยังพบมากทั้งในโรงเรียน โรงพยาบาล ครัวเรือน ศาสนสถาน โรงงาน โรงแรม และสถานที่ราชการ รวมทั้งกำจัดยุงในบ้านเรือนและป้องกันยุงกัดเมื่อพบผู้ป่วยสงสัยไข้เลือดออก
ภาพจาก : freepik
"ไข้เลือดออกไครเมียนคองโก" ระบาดหลายประเทศ สธ.ยันยังไม่พบในไทย
ไทยพบ “ไวรัสซิกา” กระจายครบทุกภาคป่วยสะสม 172 รายยังไม่พบผู้เสียชีวิต