"สุรินทร์" เลื่อนประกาศโรคประจำถิ่น ห่วงคลัสเตอร์หลังสงกรานต์
สุรินทร์เลื่อนประกาศเข้าสู่โรคประจำถิ่น ยังไม่ผ่านเกณฑ์ประเมินหลายข้อ ห่วงคลัสเตอร์โควิดหลังสงกรานต์
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์ ได้มีการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดสุรินทร์ครั้งที่ 13/2565 เพื่อติดตามสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จังหวัดสุรินทร์ โดยมีนายเสริมศักดิ์ สีสันต์ รอง ผวจ.สุรินทร์ เป็นประธานการประชุม ร่วมกับ นายแพทย์สินชัย ตันติรัตนานนท์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์ พร้อมด้วยนายแพทย์วุฒิชัย แป้นทอง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีณรงค์ นำเสนอสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19
ดีเดย์ 1 เม.ย.นี้ “สุรินทร์”นำร่องจังหวัดแรก เปลี่ยนโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น
จริงหรือโอมิครอนตัวปิดเกม โควิด-19 กลายเป็นโรคประจำถิ่น?
โดยในที่ประชุมมีมติให้การประกาศเลื่อนการส่งเรื่องขอประกาศให้โรคโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่นไปก่อน เนื่องจากทางจังหวัดยังไม่ผ่านเกณฑ์มาตรการในหลายข้อที่จะปรับเป็นโรคประจำถิ่น จากทั้งหมด 13 ข้อ รวมถึงห่วงเกิดคลัสเตอร์อีกครั้งหลังช่วงสงกรานต์
อย่างไรก็ตาม ทางจังหวัดสุรินทร์เป็นเพียงผู้เสนอ โดย ศบค.ส่วนกลาง คือผู้อนุมัติว่าจังหวักสุรินทร์จะผ่านตามมาตรการหรือไม่ ถ้าไม่ผ่านก็ไม่อนุมัติให้เป็นโรคประจำถิ่น
ขณะที่อัตราการครองเตียงผู้ป่วย ของจังหวัดสุรินทร์ยังสูงอยู่ คร่าวๆ ค่าเฉลี่ยกว่า 8 % ซึ่งเกณฑ์อยู่เพียง 3 % อาจมาจากวัคซีน เข็ม 3 ที่เรายังมีตัวเลขไม่ถึง 20 % ทำให้มีผู้ป่วยหนักยังสูงอยู่ จำนวนเตียง ทั้งหมดใน โรงพยาบาล ทั้ง โรงพยาบาลสนาม CI อยู่ที่ 671 เตียง มีผู้ป่วยหนัก 71 เตียง ใส่ท่อช่วยหายใจ 8 เตียง
โควิด-19 ใน"เด็ก" ติดเชื้อ-หลังหายป่วย ยังมีเรื่องต้องระวัง
เปิดข้อแตกต่าง“ไข้เลือดออก-โควิด” เช็กอาการให้ชัวร์ป่วยเป็นโรคไหน
ทั้งนี้ ทีมแพทย์ยังกังวลสถานการณ์ช่วงสงกรานต์อยู่ จึงขอความร่วมมือทุกคน ก่อนกลับมาบ้าน งดไปพื้นที่เสี่ยง 7 วัน และตรวจ ATK ก่อนเดินทางจะลดความเสี่ยงลงได้มาก