โควิด-19 รอบสัปดาห์ แพทย์เผยอัตราระบาดลดลงเพราะส่วนใหญ่มีภูมิต้านทาน
สถานการณ์โควิด-19 รอบสัปดาห์ที่ 38 พบยอดผู้ติดเชื้อโควิดเพิ่มเล็กน้อย 234 ราย เสียชีวิตเฉลี่ยวันละ 1 คน ด้านนายแพทย์ยง เผยโควิด 19 การระบาดในปีนี้กำลังจะลดลง เพราะเปลี่ยนเป็นโรคประจำฤดูกาล จะคล้ายกับไข้หวัดใหญ่ จะพบตัวเลขสูงในช่วงเดือนมิถุนายน-กันยายนแล้วจะเริ่มลดน้อยลง
กรมควบคุมโรค รายงานสถานการณ์โควิด-19 รายสัปดาห์ ระบุว่า ข้อมูลของสัปดาห์ที่ 38 ระหว่าง 10-16 กันยายน 2566 มีจำนวนผู้ป่วยรายใหม่รักษาในโรงพยาบาล 234 ราย เฉลี่ยรายวัน 33 รายต่อวัน ป่วยสะสมตั้งแต่ต้นปี 2566 อยู่ที่ 33,365ราย ขณะที่ผู้ป่วยหนักปอดอักเสบพบรายงาน 106 รายและผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ 72 ราย ด้านผู้เสียชีวิตลดลงเหลือ 2 ราย เฉลี่ยวันละ 1 ราย เสียชีวิตสะสมตั้งแต่ต้นปี 2566 อยู่ที่ 803 ราย
โควิด-19 รอบสัปดาห์ ผู้ติดเชื้อลดต่ำ-ด้านไข้หวัดใหญ่เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า
โควิดกลายพันธุ์คู่-พลิกขั้ว น่ากังวลกว่า BA.2.86 เพราะหลบเลี่ยงภูมิได้ดีกว่า
สำหรับจำนวนผู้ได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ยังไม่พบการรายงานว่ามีผู้เข้ารับวัคซีนเพิ่มเติม โดยในปัจจุบันฉีดวัคซีนสะสม 144,951,341 โดส แบ่งเป็น วัคซีนเข็มที่ 1 จำนวน 57,233,919 โดส คิดเป็น 82.28% เข็มที่ 2 จำนวน 53,730,348 โดส คิดเป็น 77.25% และตั้งแต่เข็มที่ 3 ขึ้นไป จำนวน 33,987,074 โดส (อัพเดตวันที่ 26 พ.ค. 2566)
อาการ “ไวรัส RSV” แตกต่างจาก “ไข้หวัดใหญ่”อย่างไร?
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ระบุว่า โควิด 19 การระบาดในปีนี้กำลังจะลดลง เพราะเปลี่ยนเป็นโรคประจำฤดูกาล จะคล้ายกับไข้หวัดใหญ่ จะระบาดมากตั้งแต่เดือนมิถุนายนจนถึงเดือนกันยายน แล้วจะเริ่มลดน้อยลง นักเรียนเริ่มปิดเทอมในเดือนตุลาคม ความรุนแรงของโรคก็ลดลง
ทั้งนี้เพราะประชากรส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดเคยติดเชื้อมาแล้ว และมีภูมิต้านทานเกิดขึ้น รวมทั้งภูมิต้านทานที่เกิดจากการฉีดวัคซีน อาจจะมีการพบเพิ่มขึ้นอีกในช่วงปีใหม่ถึงเดือนกุมภาพันธ์ แต่ก็จะไม่มากเหมือนที่ผ่านมา ในปีหน้าก็จะเป็นวัฏจักรแบบนี้อีก ในขณะเดียวกันไวรัสเองก็พัฒนาตัวเอง เพื่อที่จะอยู่ตลอดไป ความรุนแรงของโรคในภาพรวมจึงลดลง ไม่ต่างกับโรคไข้หวัดใหญ่ ปัญหาของโรคจะเหลืออยู่ในเฉพาะผู้เสี่ยงสูง ที่มีร่างกายอ่อนแอ ภูมิต้านทานต่ำ
ในอนาคตการฉีดวัคซีนจะมุ่งเน้นไปยังกลุ่มดังกล่าว เช่นเดียวกับโรคไข้หวัดใหญ่ หลังจากที่เรามีการควบคุมการระบาดมายาวนาน โรคทางเดินหายใจชนิดอื่นก็ลดลงไปด้วยมาในปีนี้จึงมีการระบาดอย่างมาก ได้แก่ ไข้หวัดใหญ่ RSV Rhinovirus หรือไวรัสที่ทำให้เกิดโรคหวัด และอาจจะลงหลอดลมคล้ายกับ RSV ได้
อัปเดต! Quick Win นำร่อง“4 เขตสุขภาพ” รักษาทุกโรคแค่ใช้บัตรประชาชน
“ไข้หวัดใหญ่”สูงต่อเนื่อง ด้าน “ไข้เลือดออก” ชะลอตัวแต่อัตราป่วยตายสูง