กรณีที่เป็นข่าวดังเมื่อปีที่แล้ว ศิลปินแร็ปเปอร์ชื่อดังขับรถจักรยานยนต์เหยียบฝาท่อกลางถนนวิภาวดีจนตกรถและถูกคันหลังขับเหยียบได้รับบาดเจ็บสาหัส ตอนนั้นโครงกระดูกและไหปลาร้าแตก ล่าสุดพีพีทีวี สอบถามอาการไปว่า ผ่านมา 1 ปีสามารถกลับมาใช้ชีวิตปกติได้แล้ว แต่ยังต้องตรวจเช็คอาการจากแพทย์เป็นระยะๆ
พีพีทีวีพูดคุยกับ นายสมาน การิน จยย.รับจ้างอายุ 61 ปี ให้ข้อมูลกับทีมข่าวว่าขับจยย.อยู่ที่กรุงเทพฯมา 32 ปีปัญหาท่อกลางถนนเป็นปัญหาที่เจอแทบทุกพื้นที่ 50เขตในกทม. มีแบบนี้หมดอยากให้เร่งแก้ไขเพราะเสี่ยงอันตราย
เปิดวิสัยทัศน์ว่าที่ผู้สมัครผู้ว่าฯกทม. แก้ฝันร้ายคนกรุง
'บ้านสมเด็จโพลล์'เผยคนกรุง 32.2% ชี้ยังไม่มีคนเหมาะสมเป็นผู้ว่าฯ 16.2% เลือก'ชัชชาติ'
ด้านนายอ่ำ สุธารัตน์ รองผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการ แขวงทางหลวงกรุงเทพฯ อธิบายว่า ท่อที่เห็น สร้างขึ้นมาชั่วคราว มี 2 วัตถุประสงค์ คือ เป็นท่อสำหรับ วางท่อระบายน้ำ และ เป็น ท่อสำหรับ เปิดเพื่อเก็บสายไฟ หรือ สายโทรคมนาคม ซึ่งจะเก็บสายไฟลงดิน
ตามหลักการวางท่อ หรือ ฝาท่อ จะต้องวางแนบสนิทไปกับพื้น ห้ามมีเหล็กยื่นขึ้นมา หรือ มีหลุม หรือ ร่องเหล็ก เพราะ เสี่ยงทำให้รถล้มเกิดอุบัติเหตุ โดยเฉพาะ รถจักรยานยนต์ แต่ นายอ่ำ ก็ยอมรับว่า ในทางปฏิบัติการกำกับดูแลให้ วางฝาท่อแนบสนิทกับพื้นที่ดูแลยาก ไม่สามารถตรวจสอบได้ หากใครเห็นว่า จุดไหนไม่เรียบร้อยสามารถร้องเรียนแขวงทางหลวงได้
หนึ่งในคนที่ต้องเข้ามาเร่งแก้ปัญหานี้ คือ ผู้ว่าฯกทม. พีพีทีวี จึงประสานพูดคุยกับ 2 ว่าที่ผู้สมัคร ผู้ว่าฯกทม. คือ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ และ นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ให้ทั้งคู่แสดงวิสัยทัศน์
โดยนายชัชชาติ บอกว่า วิธีการแก้ไขปัญหานี้ กทม.ต้องเข้าไปเป็นตัวกลางในการประสานหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้แก้ไขปัญหาให้คลี่คลายเร็วที่สุด และควรใช้หลักวิศวกรรมเข้ามาแก้ปัญหา ดูแลผิวถนน
ส่วนนายวิโรจน์ มองตรงกันว่า ผู้รับเหมาที่รับผิดชอบควรใส่ใจดูแลพื้นผิวถนนในระหว่างก่อสร้าง ใช้หลักวิศวกรรมเข้ามาดูแล ส่วนระยะยาว มองว่า ต้องแก้ไขเปิดรับเรื่องร้องทุกข์ เพื่อให้ปัญหาถูกแก้ไข ประชาชนไม่ต้องวิ่งร้องหน่วยงานหลายหน่วยงาน