ปัญหาสินบนในภาคธุรกิจและการลงทุน นอกจากการปราบปรามแล้ว สิ่งที่ต้องทำควบคู่กันไปคือ การป้องกัน ซึ่ง ป.ป.ช.ขับเคลื่อนมาตรการป้องกันเชิงรุกเข้าไปยังองค์กรธุรกิจต่าง ๆ ผ่านศูนย์ให้คำปรึกษาสำหรับนิติบุคคลเพื่อป้องกันการให้สินบน อะไรคือหัวใจสำคัญของมาตรการต่อต้านสินบนในบริษัทเอกชน
ศูนย์ให้คำปรึกษาสำหรับนิติบุคคลเพื่อป้องกันการให้สินบน หรือ Anti-Bribery Advisory Service (ABAS) หรือ เอแบส มีบทบาทหน้าที่ในการสร้างความรู้ความเข้าใจในข้อกฎหมาย และแนวทางปฏิบัติต่าง ๆ ให้กับภาคเอกชน
ป.ป.ช.ดึงเอกชนสร้างเครือข่ายปราบโกง
ศูนย์ TACC ตามยึดทรัพย์สินทุจริตซุกข้ามชาติ
พร้อมสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน ในการต่อต้านการให้สินบนเจ้าหน้าที่รัฐ
ศูนย์ ABAS เป็นแหล่งรวบรวมองค์ความรู้ ซึ่งจะช่วยทำให้นิติบุคคล มีความรู้ควาเข้าใจในเรื่องของกฎหมาย และมาตราการป้องกันการให้สินบนตามที่กฎหมายที่ป.ป.ช. กำหนด และตามมาตรฐานสากล และนิติบุคคล ยังสามารถนำความรู้เรื่องการจัดทำมาตราการการให้สินบนนี้ เอาไปปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม ทำให้องค์กรมีมาตรการป้องกัน การให้สินบนที่เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ
ป.ป.ช.ได้กำหนดมาตรการควบคุมภายในที่เหมาะสมสำหรับนิติบุคคลในการป้องกันรการให้สินบนเจ้าพนักงานของรัฐ โดยมีหัวใจสำคัญอยู่ 8 หลักการ ได้แก่
1.การป้องกันการให้สินบนต้องเป็นนโยบายจากระดับบริหารสูงสุด 2.ต้องประเมินความเสี่ยงในการให้สินบนเจ้าหน้าที่รัฐ 3. กรณีมีความเสี่ยงที่จะเป็นการให้สินบน เช่น ค่ารับรอง ค่าของขวัญ การบริจาค ต้องมีขั้นตอนการขออนุมัติ ควบคุมตรวจสอบรัดกุมชัดเจน 4. ต้องนำมาตรการป้องกันการให้สินบน ใช้กับบริษัทในเครือ หรือตัวแทน ด้วยการทำข้อตกลงในสัญญา
5.ต้องมีระบบบัญชีที่ดี บันทึกข้อมูลถูกต้อง โปร่งใส ตรวจสอบได้ ป้องกันการปกปิดค่าใช้จ่ายที่เป็นสินบน 6. ต้องมีการบริหารพนักงานที่สอดคล้องกับการป้องกัน ต่อต้านการให้สินบน 7.ต้องสนับสนุนให้มีการรายงานการกระทำความผิด และคุ้มครองผู้ร้องเรียน และ 8. ต้องทบทวน ตรวจสอบ ประเมินผลการป้องกันการให้สินบนเป็นระยะ
ที่ผ่านมา ตั้งแต่จัดตั้งศูนย์เมื่อปี 2560 เป็นต้นมามีบริษัทเอกชน รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานภาครัฐ รวมทั้งนักศึกษาติดต่อขอคำปรึกษา เชิญเจ้าหน้าที่ไปบรรยายให้ความรู้เป็นจำนวนมาก แต่ก็ยังมีอุปสรรคอยู่บ้างเพราะเจ้าหน้าที่มีไม่เพียงพอ อีกทั้งยังมีข้อจำกัดในการให้ความเห็นเพราะอยู่ในฐานะของผู้บังคับใช้กฎหมาย ซึ่ง ป.ป.ช.จะนำไปวางแผนปรับปรุงพัฒนาต่อไป.