เปิดประวัติ "ชัยเกษม นิติสิริ" แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พรรคเพื่อไทย

โดย PPTV Online

เผยแพร่

"ชัยเกษม นิติสิริ" หนึ่งในคนสำคัญของพรรคเพื่อไทยด้านกฎหมาย ถือเป็น 1 ใน 3 ของผู้ที่มีรายชื่อเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรค

ชัยเกษม นิติสิริ เกิดเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ.2491 สำเร็จการศึกษา จบการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้นจาก โรงเรียนอัสสัมชัญ มัธยมปลายจาก โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รุ่นที่ 28 และจบการศึกษาปริญญาตรีแผนกนิติศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ (เกียรตินิยมอันดับ 2) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยทุนการศึกษา ประเภทเรียนดี จากมูลนิธิจอห์น เอฟ เคนเนดี้ ต่อมาศึกษาระดับปริญญาโท L.L.M. จากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ประเทศสหรัฐอเมริกา  

คอนเทนต์แนะนำ
สะพัด! เคาะชื่อ “ชัยเกษม นิติสิริ” ชิงนายกฯคนใหม่
"ทักษิณ" เรียกแกนนำพรรคร่วม เข้าหารือด่วนบ้านจันทร์ส่องหล้า

พรรคเพื่อไทย ช่างภาพพีพีทีวี
เปิดประวัติ "ชัยเกษม นิติสิริ" หนึ่งในแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พรรคเพื่อไทย

ด้วยทุนรัฐบาลตามความต้องการของกรมอัยการ (สำนักงานอัยการสูงสุด) และทุนของมูลนิธิ Starr ประเทศสหรัฐอเมริกา) และจบการศึกษาเนติบัณฑิต ไทยจากสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา   

ด้านการทำงาน นายชัยเกษม เริ่มรับราชการเป็นอัยการผู้ช่วย จังหวัดสมุทรสาคร อัยการประจำกอง กองคดี และได้รับการเลื่อนตำแหน่งเรื่อยมากระทั่งเคยดำรงตำแหน่ง อัยการจังหวัดภูเก็ต เป็นอธิบดีอัยการฝ่ายคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ เป็นอธิบดีอัยการฝ่ายคดีอัยการสูงสุด เป็นอธิบดีอัยการฝ่ายปรึกษา พ.ศ. 2546 - 2550 ดำรงตำแหน่งรองอัยการสูงสุด สำนักงานอัยการสูงสุดและตำแหน่งสูงสุด คือ อัยการสูงสุด ในเดือนตุลาคม พ.ศ.2550 ในขณะที่ดำรงตำแหน่งอัยการสูงสุดได้รับตำแหน่งกรรมการและกรรมการตรวจสอบ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กรรมการและประธานกรรมการตรวจสอบ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) กรรมการบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)

“เศรษฐา” ไม่รอด ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยขาดคุณสมบัติพ้นนายกฯ - ครม.หลุดทั้งคณะ

ไทม์ไลน์คดีถอดถอน “เศรษฐา” ก่อนศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่ง!

ผัก-ผลไม้จีน ทะลักตลาดสดโคราช ถูกกว่าไทยเท่าตัว-เกษตรกรไทยกระทบเต็มๆ

นายชัยเกษม นิติสิริ ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์พิเศษ ในสาขาวิชานิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่วันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ส่วนบทบาททางการเมือง ของนายชัยเกษม เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี สมัยนายเศรษฐา ทวีสิน ภายหลังจากการพ้นจากตำแหน่งของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้มีการประกาศกฏอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร โดยผู้บัญชาการทหารบก ก่อนได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่หัวหน้าคณะฝ่ายรัฐบาล ในการร่วมเจรจาหาทางออกวิกฤติการณ์ทางการเมือง เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ.2557 แต่การเจรจาในครั้งนั้นไม่สามารถตกลงกันได้ เขายืนยันว่า คณะรัฐมนตรีรักษาการจะไม่ลาออกจากตำแหน่ง ทำให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ตัดสินใจยึดอำนาจการปกครองประเทศ​ เมื่อเวลา 16.30น.  

ส่วนในอดีตนอกจากตำแหน่งหน้าที่ทางการเมืองแล้ว นายชัยเกษม ยังได้รับหน้าที่เป็นประธานกรรมการและกรรมการอีกหลายตำแหน่ง อาทิ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกำกับตลาดหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ประธานกรรมการในคณะกรรมการบริหารสถาบันเพื่อความยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) กรรมการและประธานกรรมการบริหารธนาคารอาคารสงเคราะห์ กรรมการสภามหาวิทยาลัยเนชั่น กรรมการสภามหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น กรรมการสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา 

นายชัยเกษม ยังเคยแสดงจุดยืนกรณีมาตรา 112 เช่น การเขียนจดหมายเปิดผนึกเรียกร้องให้มีการพิจารณาปล่อยนักโทษทางความคิดที่เห็นต่างทางการเมือง อ้างว่าเพื่อฟื้นฟูความเชื่อมั่นในระบบยุติธรรม และปัญหาการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือทางการเมือง เพื่อจำกัดความคิดเห็นประชาชนที่แตกต่างจากรัฐบาล และช่วงที่ม็อบราษฎรเคลื่อนไหว หนึ่งในข้อเรียกร้องคือการยกเลิกมาตรา 112 ภายหลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่า เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง  

ขอบคุณข้อมูลจาก : วิกิพีเดีย 
 

Bottom-PL-24 Bottom-PL-24

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ