จากกรณีศาลรัฐธรรมนูญ นัดฟังคำวินิจฉัยกรณี 40 สว. ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสาม ประกอบมาตรา 82 ว่า ความเป็นรัฐมนตรีของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี สิ้นสุนสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรมนูญ มาตรา 170 วรรรคหนึ่ง (4) ประกอบมาตรา 160 (4) และ (5) หรือไม่ จากกรณีทูลเกล้าฯ รายชื่อทั้งที่รู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่าขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ
โดยศาลรัฐธรรมนูญกำหนดนัดแถลงด้วยวาจา ประชุมปรึกษาหารือ และลงมติ รวมทั้งนัดฟังคำวินิจฉัย ในวันที่ 14 ส.ค.นี้นั้น
ทีมข่าวพีพีทีวี จะพาย้อนไปดูต้อนเรื่องของคดีดังกล่าวเกิดขึ้นได้อย่างไร และระยะเวลาที่ผ่านมามีกระบวนการอะไรเกิดขึ้นบ้างระหว่างพิจารณาคดี ก่อนที่ศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยในวันที่ 14 ส.ค.นี้
“โซดาไฟ” รู้จักพิษผิวไหม้-เสี่ยงตาบอดและวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น
“วันสารทจีน” ควรไหว้อะไรบ้าง กับข้อห้ามที่ไม่ควรปฏิบัติ
เตรียมเก็บภาษี แอปฯ TEMU อีคอมเมิร์ซจีน หลังกระทบรายย่อยไทย
27-28 เม.ย.2567
วันที่ 27 เม.ย.2567 นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ยื่นทูลเกล้ารายชื่อ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี โดยหนึ่งในรายชื่อดังกล่าว มีการแต่งตั้ง นายพิชิต ชื่นบาน เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ด้วย จากนั้นวันที่ 28 เม.ย.2567 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี ตามที่นายเศรษฐายื่นทูลเกล้า
29 เม.ย.2567
หลังเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรีเผยแพร่รายชื่อรัฐมนตรีชุดใหม่เพียง 1 วัน นายวัชระ เพชรทอง อดีต สส.พรรคประชาธิปัตย์ ได้เข้ายื่นหนังสือร้องเรียนต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) โดยขอให้ไต่สวน นายเศรษฐา ส่อว่ากระทำผิดจริยธรรมร้ายแรงหรือไม่ ในการแต่งตั้งให้ นายพิชิต ชื่นบาน ให้ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
จากกรณีนายพิชิตเคยถูกสภาทนายความถอดชื่อออกจากทะเบียนผู้ประกอบวิชาชีพทนายความเป็นเวลา 5 ปี เพราะเคยถูกศาลฎีกาสั่งจำคุก 6 เดือน โดยไม่รอลงอาญา ในความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล กรณีพยายามนำถุงขนมใส่เงินสดจำนวน 2 ล้านบาท ไปมอบให้เจ้าหน้าที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในระหว่างการพิจารณาคดีที่ดินรัชดาฯ ดังนั้นการที่ นายเศรษฐาเสนอชื่อนายพิชิตให้ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี จึงส่อว่ากระทำการฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ รวมทั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินและหัวหน้าหน่วยงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ พ.ศ. 2561 หรือไม่
15 พ.ค.2567
สมาชิกวุฒิสภา (สว.)จำนวน 40 คนได้ร่วมกันเข้าชื่อ เพื่อส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยความสิ้นสุดลงของตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ของนายพิชิต ชื่นบาน หลังมีพฤติกรรมที่เข้าข่ายขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 170 (4) และ (5) ประเด็นที่ว่าด้วยขาดความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์และมีพฤติกรรมฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบีติตามมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง โดยยื่นเรื่องผ่านนประธานวุฒิสภา และส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ
18 พ.ค.2567
ระหว่างปฏิบัติภารกิจในต่างประเทศ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้ให้สัมภาษณ์ยืนยันว่า ก่อนที่จะมีการแต่งตั้ง ให้นายพิชิต ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้มีการสอบถามไปทางคณะกรรมการกฤษฎีกา และตนมั่นใจว่าจะสามารถตอบคำถามได้ เพราะอยู่บนหลักการของความถูกต้อง
21 พ.ค.2567
นายพิชิต ชื่นบาน ยื่นใบลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และให้มีผลในวันที่ 22 พ.ค. หรือ 23 พ.ค.2567 ก่อนที่ศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำสั่งรับไม่รับคดีไว้พิจารณา โดยให้เหตุผลว่าเพื่อเป็นทางออกไม่ให้กระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี
23 พ.ค.2567
ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมาก 6 ต่อ 3 เสียง รับคำร้องสมาชิกวุฒิสภา (สว.) 40 คน ขอให้พิจารณาความเป็นรัฐมนตรีของ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี สิ้นสุดลงเฉพาะตัวหรือไม่ กรณีแต่งตั้ง นายพิชิต ชื่นบาน ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ทั้งๆ ที่รู้อยู่แล้วว่าขาดคุณสมบัติต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้ ศาลรัฐธรรมนูญ ยังมีมติ 5 ต่อ 4 เสียง ไม่สั่งให้นายเศรษฐาหยุดปฏิบัติหน้าที่
30 พ.ค.2567
นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เซ็นต์คำสั่งแต่งตั้งนายวิษณุ เครืองาม อดีตรองนายกฯ ในรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เพื่อขอคำปรึกษาด้านกฎหมาย ในตำแหน่งที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีหลายฝ่ายมองว่านายเศรษฐาหวังดึงนายวิษณุเข้ามาช่วยในคดีที่ถูก 40 สว.ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อถอดถอนออกจากตำแหน่งนายกฯ
7 มิ.ย.2567
นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ส่งคำชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญ โดยยอมรับว่า นายวิษณุ เครืองาม ที่ปรึกษาของนายกฯ ได้ตรวจคำชี้แจงแล้ว
12 มิ.ย.2567
ศาลรัฐธรรมนูญประชุมปรึกษาคดี โดยศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาโดยการอภิปรายแล้ว มีคำสั่งให้คู่กรณียื่นบัญชีระบุพยานหลักฐาน ต่อศาลรัฐธรรมนูญ และเพื่อประโยชน์แห่งการพิจารณาให้สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเสนอต่อศาลรัฐธรรมนูญต่อไป กำหนดนัดพิจารณาต่อไปในวันที่ 18 มิ.ย.2567
18 มิ.ย.-24 ก.ค.2567
ศาลรัฐธรรมนูญประชุมปรึกษาคดี โดยสั่งให้หน่วยงานหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องจัดทำความเห็นและจัดส่งสำเนาเอกสารหลักฐานตามประเด็นที่ศาลรัฐธรรมนูญกำหนดยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ
กระทั่งวันที่ 24 ก.ค. 2567 ศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณาปรึกษาหารือ และสั่งยุติการไต่สวนในคดีดังกล่าว พร้อมสั่งให้นำคำร้องที่ผู้เกี่ยวข้องยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ ให้รวมไว้ในสำนวนคดี ก่อนกำหนดนัดแถลงด้วยวาจา ประชุมปรึกษาหารือ และลงมติในวันที่ 14 ส.ค.2567
29 ก.ค.2567
หลุดเอกสารชี้แจงของ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี จำนวน 32 หน้า โดยมีใจความสำคัญว่า ไม่ได้ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลหรือเอื้อประโยชน์ให้แก่บุคคลใดในการเสนอชื่อนายพิชิต เป็นรัฐมนตรี แต่ทำด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและคำนึงถึงผลประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดินเป็นสำคัญ ดังนั้นจึงไม่มีพฤติกรรมฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง
อีกทั้งตัวเอง ไม่มีภูมิหลังทางการศึกษาด้านนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ และมีประสบการณ์ทางการเมืองและการบริหารราชการแผ่นดินที่จำกัด จึงไม่อาจรู้หรือควรรู้ว่านายพิชิต เป็นบุคคลที่ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามในการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 160 (4) และ (5) หรือไม่
14 ส.ค.2567
ศาลรัฐธรรมนูญมีมติ 5 ต่อ 4 วินิจฉัยว่าความเป็นรัฐมนตรีของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี สิ้นสุนสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรมนูญ ส่งผลให้นายกเศรษฐาพื้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และทำให้คณะรัฐมนตรีต้องพ้นตำแหน่งตามไปด้วยทั้งคณะนั้น