นอกจากการจัดตั้งรัฐบาลโควตารัฐมนตรีกระทรวงต่างๆที่ถูกคนในสังคมจับตามองอย่างใกล้ชิดแล้ว อีกเรื่องที่คนให้ความสนใจไม่แพ้กันคือเรื่องร้องเรียน น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี หรือที่หลายคนเรียกว่า "นิติสงคราม"
โดย รศ.ธนพร ศรียากูล นักวิเคราะห์การเมือง มองเรื่องดังกล่าวว่า รัฐบาลน.ส.แพทองธาร จะอยู่รอดจนครบเทอมแน่นอนหากเป็นการเมืองในสภา เพราะ 325 เสียงนั้นแน่นปึก เมื่อเทียบกับเสียงทั้งหมด493 เสียงถือว่าเกินกึ่งหนึ่ง รวมถึงตอนนี้ยังไม่มีพรรคใดอยากยุบสภาแล้วเลือกตั้งนอกจากพรรคประชาชน
โดย รศ.ธนพร บอกว่า เรื่องการเมืองในสภาฯ ขณะนี้การเมืองในสภาฯยังไม่มีพรรคไหนอยากเลือกตั้งนอกจากพรรคสีส้ม เพราะฉะนั้นแล้วเสถียรภาพรัฐบาล 300 กว่าเสียงต้องถือว่าแน่นปึก เพราะไม่มีพรรคไหนอยากยุบสภาแล้วเลือกตั้งแล้ว และในประวัติศาสตร์การเมืองไทยไม่เคยมีนายกฯคนไหนแพ้โหวตในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ดังนั้นการเมืองในสภาฯ ไม่ทำให้นายกฯต้องเสียเก้าอี้
อาลัย "ยุวดี มีทำ" นักธุรกิจสาวเจ้าของแคบหมึก "โอเชี่ยนบอย"
กาง 9 ประเด็นร้อน! รอสอย “นายกอิ๊งค์-พรรคเพื่อไทย”
พยากรณ์ฝนล่วงหน้า 1-10 ก.ย. ร่องมรสุมพาดผ่าน ฝนตกหนักถึงหนักมาก
แต่นอกจากเกมในสภาฯที่ รศ.ธนพร มองว่ารัฐบาลนาวสางแพทองธารนั้นมีเสถียรภาพ มากพอที่จะอยู่รอดจนครบเทอม แต่เมื่อมองเรื่องร้องเรียนที่บรรดานักร้อง จ่อร้องเรียนอยู่นั้น รศ.ธนพร ก็เป็นเรื่องน่าหนักใจในรัฐบาลนี้ เพราะจะไม่มีเวลาไปขับเคลื่อนนโยบายต่างๆ ได้เต็มที่ ต้องเอาเวลาไปต่อสู้กับ "นิติสงคราม" ที่ถาโถมเข้ามา แต่รศ.ธนพรเชื่อว่า รัฐบาลนี้จะผ่านไปได้แบบล่อแล่ โดยมีบารมีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ค่อยช่วยเหลือ
“นายใหญ่ในฐานะคนมีประสบการณ์เคยจัดการนิติสงครามเมื่อตอนคดีซุกหุ้นเมื่อปี 2544ด้วยคะแนนเสียง 8 ต่อ7 มาแล้วก็จะไม่มีทางยอมให้เกิดเหตุการณ์นี้ซ้ำรอยเป็นครั้งที่ 2 เพราะฉะนั้นแล้วเกมอะไรก็ตามที่เกิดขึ้นตอนคุยเศรษฐา 5 ต่อ 4 ที่ศาลรัฐธรรมนูญ เกมนี้นายใหญ่ก็จะใช้ ทรัพยากรของตัวเองที่มีอยู่ตอบโต้เกมเกมนี้เช่นเดียวกัน”
ซึ่ง รศ.ธนพร มองว่า นายทักษิณจะเดินเกมใต้ดินวิ่งเต้นองค์กรอิสระ สู้กับขั้วองค์กรอิสระเดิมที่รู้กันอยู่ว่าเป็นคนของคนบ้านในป่าได้ และมีความได้เปรียบเนื่องจากองค์กรอิสระขั้วเก่าจะหมดวาระภายใน 1-2 ปีนี้ และตอนนี้บ้านใหญ่สีน้ำเงินคุมองค์กรอิสระอยู่ ซึ่งนายทักษิณจะสามารถต่อรองได้
นอกจากนั้น รศ.ธนพร ยังมองว่า จากรายชื่อครม.แพทองธาร 1 ที่ออกมา มองแล้วยี้มากกว่าว้าว ดังนั้นจึงมีข้อเสนอว่า ในการแถลงนโยบายที่อาจจะมีขึ้นในช่วง 16 - 17 กันยายนนี้ ต้องกำหนดไทม์ไลน์ของแต่ละนโยบาย ให้ชัดเจน เช่น ดิจิทัลวอลเล็ตจะได้วันไหน ลดค่าน้ำค่าไฟค่าพลังงานทำได้วันไหน ก็จะเรียกความเชื่อมั่นกลับมาได้ นอกจากนี้ควรประกาศ ดัชนีชี้วัด หรือ KPI ในโครงการต่างๆ ให้ชัดเจน เช่น รถไฟฟ้า 20 บาทจะ20 บาทได้กี่สายได้เมื่อไหร่ และควรรักษาสัญญาประชาคมในการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2560 ด้วย