จากกรณีนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ อดีตโฆษกพรรคเพื่อไทย เดินสายยื่นหนังสือร้องเรียน พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ อย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดวันนี้ยื่นถึงประธานรัฐสภาขอให้ตรวจสอบจริยธรรมการทำหน้าที่ สส. กรณีไม่ได้มาโหวตกฎหมายที่สำคัญหลายฉบับ โดยเฉพาะไม่ได้มาโหวตนายกรัฐมนตรีถึง 2 ครั้ง ไม่ได้มาลงมติสำคัญถึง 13 ครั้ง คิดเป็นเปอร์เซ็นต์คือ 81.25 เปอร์เซ็นต์
ซึ่งนายพร้อมพงศ์ บอกว่าหากเป็นเรื่องจริงถือว่าการทำหน้าที่ในฐานะ สส.น่าเป็นห่วง เพราะตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 กำหนดให้ ส.ส. ต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความชื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชน ส.ส. จะขาดประชุมได้ไม่เกิน 1 ใน 4 ของจำนวนวันประชุมในสมัยประชุมโดยไม่ได้รับอนุญาตจากประธานสภาฯ ไม่ฉะนั้นให้ถือว่าสมาชิกภาพการเป็น ส.ส. สิ้นสุดลง ขณะที่ข้อบังคับว่าด้วยประมวลจริยธรรมของ ส.ส. ก็ระบุไว้ว่า ส.ส. ต้องอุทิศเวลาให้กับการประชุม โดยคำนึงถึงการตรงต่อเวลา ต้องไม่ขาดการประชุมโดยไม่จำเป็น เว้นแต่เจ็บป่วยหรือมีเหตุสุดวิสัย
อย่างไรก็ตามสำหรับเรื่องที่ พล.อ.ประวิตร ไม่เข้าสภานัน้ ไม่ใช่เรื่องใหม่ เนื่องจากเมื่อช่วงเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา นายปดิพัทธ์ สันติภาดา ซึ่งขณะนั้นเป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 ก็ได้มีการโพสต์ข้อความระบุว่า "สส.ขาดประชุมได้ไม่เกิน 1 ใน 4 ของวันประชุมครับ ถ้าเกินโดยไม่ได้รับอนุญาตจากประธานสภาฯ จะสิ้นสุดสมาชิกภาพครับ" จนเรื่องดังกล่าวกลายเป็นประเด็นที่ผู้สื่อข่าวนำไปถามพล.อ.ประวิตรด้วย
รวมวิธีสมัครพร้อมเพย์ผูกเลขบัตรประชาชน รับ "เงินดิจิทัล"
สรุปผลยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ลีก นัดแรก บาเยิร์น-ลิเวอร์พูล-มาดริด คว้าชัย
อัปเดต เส้นทางพายุ “ดีเปรสชัน” จ่อขึ้นฝั่งเวียดนาม เคลื่อนปกคลุม “อีสาน-เหนือ”
โดยช่วงนั้น พล.อ.ประวิตร อยู่ระหว่างลงพื้นที่จังหวัดหนองคาย ในโครงการ พลังประชารัฐสัญจร โดยผู้สื่อข่าวถามว่าทำไมไม่เข้าสภาฯ เลย พล.อ.ประวิตร ถึงกลับย้อนถามนักข่าวเลยว่า "แล้วมันเกี่ยวอะไรกับคุณ ผมจะไปหรือไม่ไป แล้วมันผิดหรือเปล่าล่ะ"
ผู้สื่อข่าวจึงถามอีกว่า พรรคก้าวไกลอภิปรายถามหาท่านในสภาฯ พล.อ.ประวิตร ก็ย้อนถามว่า "ถามทำไมล่ะ ถ้าอยากมาหาก็มาหาดิ มาหาที่บ้าน"
อย่างไรก็ตามสำหรับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ในมาตรา 101 (12) เรื่อง สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง เมื่อขาดประชุมเกินจำนวนหนึ่งในสี่ ของจำนวนวันประชุม ในสมัยประชุมที่มีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบวัน โดยไม่ได้รับอนุญาตจากประธานสภาผู้แทนราษฎร
แต่ถ้าดูจำนวนครั้งที่นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ อดีตโฆษกเพื่อไทย บอกว่า พล.อ.ประวิตร ไม่ได้มาลงมติประมาณ 13 ครั้ง จากทั้งหมด 16 ครั้ง หากคิดเป็นเปอร์เซ็นต์เท่ากับ 81.25 เปอร์เซ็นต์ เท่าว่าเกิน1 ใน 4ของวันประชุมหรือไม่ แต่หากพล.อ.ประวิตรได้รับอนุญาตจากประธานสภาฯก็ถือว่าทำได้หรือไม่