"ภูมิธรรม" ยัน คดีฮั้ว สว. ตรวจสอบรอบด้าน ตามหลักกฎหมาย ไม่ใช่เรื่องเกมทางการเมือง

โดย PPTV Online

เผยแพร่

"ภูมิธรรม" เผย การรับหรือไม่รับคดีฮั้ว สว. เป็นไปตามหลักกฎหมายและอำนาจหน้าที่ของ DSI เพื่อให้เกิดการตรวจสอบอย่างรอบด้าน สร้างความเชื่อมั่นต่อระบบนิติบัญญัติ

7 มี.ค. 2568 นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม โพสต์เฟซบุ๊ก โดยระบุว่า "ความโปร่งใสคือหัวใจของความชอบธรรม" เมื่อวานนี้คณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) ได้มีมติให้กรณีการสมคบกันในความผิดฐานฟอกเงินของบุคคลหรือคณะบุคคลที่กระทำผิดเป็นอั้งยี่ ที่เกี่ยวข้องกับการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา (สว.) เมื่อปี 2567 เป็น คดีพิเศษ ตาม มาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) แห่ง พระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 

คอนเทนต์แนะนำ
ด่วน! มติ กคพ.รับคดีฮั้ว สว. เป็นคดีพิเศษ เข้าข่ายความผิดฐานฟอกเงิน - อั้งยี่
แฉรัฐมนตรีพรรคใหญ่ล็อบบี้ สว.ไม่ให้ลงชื่อร้องศาล รธน.

 

 

สว. FB / Phumtham Wechayachai
"ภูมิธรรม" ยัน คดีฮั้ว สว. ตรวจสอบรอบด้าน ตามหลักกฎหมาย ไม่ใช่เรื่องเกมทางการเมือง

โดยพิจารณาบนฐานข้อเท็จจริงกรณีที่มีผู้เสียหายมาร้องทุกข์กล่าวหากับทาง DSI เป็นการสะท้อนถึงความมุ่งมั่นของภาครัฐในการตรวจสอบ ข้อสงสัยเกี่ยวกับความโปร่งใสของกระบวนการเลือกตั้ง ส.ว. การตัดสินใจครั้งนี้ดำเนินการตามหลักกฎหมายและอำนาจหน้าที่ของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) อย่างเคร่งครัด เพื่อให้เกิดการตรวจสอบอย่างรอบด้าน และสร้างความเชื่อมั่นต่อระบบนิติบัญญัติของประเทศ

•ใช้ข้อกฎหมายตรวจสอบ ไม่ใช่เรื่องการเมือง การพิจารณาและมีมติชี้ขาดของบอร์ด DSI ให้กรณีดังกล่าวเป็นคดีพิเศษ เนื่องจากเป็นการกระทำที่เข้าข่ายความผิดทางอาญาที่มีลักษณะซับซ้อน และส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์สาธารณะ โดยมิได้ยุ่งเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของ กกต. ซึ่งทำงานตามภารกิจในฐานะผู้ดูแลจัดการ
การเลือกตั้ง หากแต่เป็นการแยกกันทำหน้าที่ตามกรอบภารกิจที่เป็นข้อกำหนดในกฎหมาย
นี่คือกระบวนการที่เป็นไปตามหลักกฎหมาย ไม่ใช่การใช้ DSI เป็นเครื่องมือทางการเมืองเพื่อโจมตีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง การสืบสวนของ DSI มีเป้าหมายเพื่อตรวจสอบความถูกต้องและยืนยันความโปร่งใสของกระบวนการเลือกตั้ง สว. ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการใช้อำนาจนิติบัญญัติและการแต่งตั้งคณะกรรมการอิสระในอนาคต

•ความสำคัญของการตรวจสอบกระบวนการเลือกตั้ง สว. สมาชิกวุฒิสภา (สว.) มีบทบาทสำคัญในการถ่วงดุลอำนาจและกำกับดูแลการบริหารราชการแผ่นดิน อีกทั้งยังมีอำนาจในการให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งคณะกรรมการอิสระต่างๆ เช่น คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.), คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.), คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) ซึ่งล้วนเป็นกลไกสำคัญในกระบวนการยุติธรรมของประเทศ
หากการได้มาซึ่ง สว. มีข้อกังขาเกี่ยวกับการทุจริตหรือการสมคบกันเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ย่อมส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของระบบนิติบัญญัติและกระบวนการยุติธรรมโดยรวม 

อย่างไรก็ตาม กระบวนการในวันนี้ ไม่ได้หมายความว่า  ผู้ถูกล่าวหาเป็นผู้กระทำความผิด ทางกฎหมายแล้ว แต่ยังต้องมีการสอบสวน รวบรวมข้อเท็จจริง เพื่อนำเข้าสู่การพิจารณาตัดสิน ของศาล จึงจะถือเป็นข้อสรุปที่สิ้นสุด "ความโปร่งใสคือรากฐานของประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง"

การเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรมเป็นหัวใจของระบอบประชาธิปไตย และเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประชาชนสามารถไว้วางใจในกลไกของรัฐ การที่ DSI ใช้อำนาจตามกฎหมายเพื่อสืบสวนข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ส.ว. เป็นการดำเนินการที่จำเป็น ไม่ใช่เรื่องของเกมการเมือง แต่เป็นเรื่องของ หลักนิติรัฐและความยุติธรรม

เพื่อให้มั่นใจได้ว่าสมาชิกวุฒิสภาที่ได้รับเลือกมาปฏิบัติหน้าที่นั้น เป็นตัวแทนที่มาจากกระบวนการที่ถูกต้องและโปร่งใส รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพร้อมสนับสนุนให้มีการตรวจสอบอย่างตรงไปตรงมา เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนว่าการเลือกตั้ง ส.ว. เป็นไปตามกฎหมาย ไม่มีการเอื้อประโยชน์ให้กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง นี่คือ "หลักการสำคัญของการบริหารประเทศภายใต้รัฐธรรมนูญและหลักนิติธรรม" ที่รัฐบาลมุ่งมั่นดำเนินการอย่างจริงจัง
 
 

Bottom-PL-HLW Bottom-PL-HLW

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ