เมียนมา เรียกนักการทูตนับร้อยคนกลับประเทศ สกัดแตกแถวหนุน “ซูจี”

โดย PPTV Online

เผยแพร่

รัฐบาลทหารเมียนมาเรียกเจ้าหน้าที่นักการทูตชุดใหญ่กลับประเทศ หวั่นแตกแถวแสดงจุดยืนต่อต้านรัฐประหาร

"อองซาน ซูจี" ถูกตั้งข้อหาเพิ่มอีก 2 ข้อหา

สิงคโปร์ จี้กองทัพเมียนมา หยุดทำร้ายประชาชน - ปล่อยตัว “ซูจี”

นานาชาติร่วมมือกดดัน กองทัพเมียนมา

เว็บไซต์สำนักข่าวอิรวดี (Irrawaddy) รายงาน อ้างอิงเอกสารที่รั่วไหลว่า สภาบริหารแห่งรัฐเมียนมา มีคำสั่งให้เรียกเจ้าหน้าที่ทางการทูตนับร้อยคน จาก 19 ประเทศและเขตการปกครอง ได้แก่ สหรัฐฯ สหราชอาณาจักร อิตาลี ออสเตรีย บราซิล ฝรั่งเศส นอร์เวย์ เบลเยียม เซอร์เบีย จีน ญี่ปุ่น อินเดีย สิงคโปร์ ไทย ฮ่องกง อินโดนีเซีย กัมพูชา เกาหลีใต้ และฟิลิปปินส์ กลับประเทศเป็นการด่วน

นอกจากนี้ ยังมีคำสั่งให้โยกย้ายเจ้าหน้าที่มากกว่า 50 คน จากกระทรวงการต่างประเทศในกรุงเนปิดอว์ ไปรับตำแหน่งที่่ว่างลงในประเทศเหล่านี้

ความเคลื่อนไหวดังกล่าวมีขึ้น หลังเกิดกรณีที่นาย จอ โม ตุน เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรของเมียนมา ชู 3 นิ้วกลางที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติในนครนิวยอร์ก พร้อมเรียกร้องให้นานาชาตินำประชาธิปไตยกลับคืนสู่ประเทศ ส่งผลให้เขาถูกปลดจากตำแหน่ง ด้วยความผิดฐานทรยศต่อชาติ

เมียนมาขู่ปิดสื่อหากยังใช้คำ "รัฐประหาร"

เจ้าหน้าที่ประจำสถานทูตสหรัฐฯ ในเมียนมา เปิดเผยว่า การกระทำของท่านทูตจอเป็นการส่งสัญญาณชัดเจนไปยังเจ้าหน้าที่ทูตในต่างแดน ที่เคยทำงานกับรัฐบาลพลเรือนของนางออง ซาน ซู จี ให้ร่วมแสดงอารยะขัดขืนต่อต้านกองทัพอย่างเปิดเผย

ก่อนหน้านี้ ซู จี ได้ขึ้นศาลผ่านระบบวีดีโอคอนเฟอเรนซ์ ซึ่งศาลได้แจ้งข้อหาเพิ่มเติมอีก 2 ข้อหา คือยุยงปลุกปั่นให้เกิดความหวาดกลัว และไม่มีใบอนุญาตครอบครองเครื่องมือสื่อสาร โดยนัดพิจารณาคดีครั้งถัดไปในวันที่ 15 มี.ค.นี้ ด้านทนายความ เปิดเผยว่า เธอยังดูสุขภาพแข็งแรงดี

วันนี้ (2 มี.ค.64) ต้องจับตาการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศของชาติอาเซียนที่จะร่วมหารือกันผ่านระบบทางไกล เพื่อหาทางออกให้กับวิกฤตการเมืองที่กำลังเกิดขึ้นในเมียน ขณะที่สหรัฐฯ ก็มีความพยายามจะเปิดการหารือในเรื่องนี้เช่นกัน โดยนาง ลินดา โทมัส-กรีนฟิลด์ ทูตสหรัฐฯ ประจำยูเอ็น ซึ่งเป็นประธานหมุนเวียนของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UNSC) ประจำเดือนมีนาคม ระบุว่า สหรัฐฯ จะใช้โอกาสนี้จัดการประชุมเพื่อหารือกันอย่างจริงจังอีกครั้ง

 

Photo : UNITED NATIONS / AFP

 

Bottom-PL-24 Bottom-PL-24

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ