จับตา! กองกำลังชาติพันธุ์เมียนมา หลัง CRPH ปลดล็อก ยิงสู้กองทัพได้


โดย PPTV Online

เผยแพร่




กลุ่มชาติพันธุ์ โดยเฉพาะกลุ่มที่มีกองกำลังเป็นของตนเอง กลุ่มเหล่านี้จับอาวุธต่อสู้กับกองทัพเมียนมามากว่า 60 ปี เพื่อเรียกร้องสิทธิในการปกครองตนเอง เมื่อ 2 วันที่ผ่านมา สภาแห่งชาติชั่วคราว CRPH หรือรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งก่อนนางอ่องซานชูจีโดนยึดอำนาจ และยังมีบทบาทในสหประชาติ ประกาศให้กองกำลังชาติพันธุ์ต่างๆเป็นกองกำลังที่ถูกกฏหมาย เป็นการเปิดหน้าสู้ของบรรดานักการเมืองที่ได้รับเลือกตั้ง ที่ตอนนี้หนีตายและต้องหลบซ่อนตัว เป็นการสู้แบบตาต่อตา ฟันต่อฟัน โดยพึ่งพาอาวุธและทหารจากบรรดากลุ่มชาติพันธุ์ท

รัฐบาลพลเรือนเมียนมา ประกาศปฏิวัติโค่นล่มรัฐบาลทหาร คืนอำนาจประชาชน

สภาสงฆ์เมียนมา แตกหักรัฐบาลทหาร ประณามปราบม็อบรุนแรง

สมัชชาแห่งสหภาพ หรือ CRPH ถูกตั้งขึ้นโดยคนในรัฐบาลนาง ซูจี และสมาชิกรัฐสภาที่ได้รับเลือกตั้งจากประชาชน เพื่อปฏิเสธความชอบธรรมของสภาบริหารแห่งรัฐ (SAC) ที่กองทัพเมียนมาร์ตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่รัฐบาลชั่วคราวหลังยึดอำนาจ

แถลงการณ์ล่าสุดของ CRPH ที่ให้กองกำลังติดอาวุธของกลุ่มชาติพันธุ์เป็นกองกำลังที่ถูกกฎหมายคือการประกาศว่า พวกเขาพร้อมจับอาวุธขึ้นสู้ เป็นการสู้โดยการพึ่งพาคู่แค้นเก่า การจับอาวุธลุกขึ้นสู้ของประชาชนที่ถูกปราบปราม เป็นสิ่งที่นักวิเคราะห์มองว่า คือทางเดียวที่เหลืออยู่

 

เมียนมา คือประเทศที่มีความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์มากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก แต่ละกลุ่มมีวิถีและวัฒนธรรมเป็นของตัวเอง

ตั้งแต่ปี 1842 จนถึงปี 1948 รวม 124 ปี ในฐานะอาณานิคมของอังกฤษ ความแตกต่างแปรเป็นความขัดแย้งที่ฝังรากลึก แต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ต้องการอิสระในการปกครองตนเอง และความปราถนานี้เกือบจะบรรลุผล

ปี 1947 หนึ่งปีก่อนที่เมียนมาได้เอกราชจากอังกฤษ นายพลออง ซาน บิดาของนางออง ซาน ซู จีลงนามในข้อตกลงปางโหลง ยืนยันให้อิสระในการปกครองกับชาติพันธุ์ทุกกลุ่มของประเทศ นายพลอองซาน ถูกสังหารไม่นานหลังจากนั้น หลังจากนั้น เมียนมาก็เข้าสู่ยุคการปกครองของทหารเต็มรูปแบบ ความหวังถึงสิทธิ เสรีภาพหายไปพร้อมกับนายพลออง ซาน

ชาติพันธุ์ที่ไม่ใช่เมียนมา ถูกริดรอนสิทธิ์ กดขี่ นำมาสู่ก่อตั้งกองกำลังติดอาวุธเป็นของตนเองเพื่อเรียกร้องอิสระภาพ กลุ่มที่ใหญ่และเก่าแก่ที่สุด คือ สหภาพแห่งชาติกระเหรี่ยง หรือ KNU หลังจับอาวุธสู้รบมาเกือบ 70 ปี ความหวังที่จะมีอิสระมากขึ้นเริ่มแจ่มชัดอีกครั้งเมื่อนางอองซานซูจีชนะเลือกตั้งได้จัดตั้งรัฐบาล แต่พวกเขาก็ผิดหวัง ข้อตกลงหยุดยิงและการเจรจาสิทธิในการปกครองตนเองเป็นไปอย่างเชื่องช้า

กองทัพเมียนมา รัวกระสุนไม่หยุด หวั่นเป็นรัฐล้มเหลว

ต้นเดือนกุมภาพันธุ์ หลังการรัฐประหารไม่กี่วัน ปรากฏภาพของทหาร KNU เดินนำหน้าชาวกระเหรี่ยงในจังหวัดเมียวดีที่ออกมาทำอารยะขัดืน เดินขบวนประท้วงให้กองกอพเมียนมาร์ปล่อยตัวนางอองซานซูจีและคืนอำนาจให้ประชาชน เป็นภาพที่สะท้อนให้เห็นว่า แม้ KNU จะผิดหวังในตัวของนางอองซานซูจี แต่พวกเขาเลือกวางความผิดหวังไว้ เพราะวันนี้พวกเขามีศัตรูร่วมกัน นั่นคือ กองทัพเมียนมา

นับตั้งมีการยึดอำนาจ กลุ่มติดอาวุธชาวกระเหรี่ยงเปิดฉากต่อสู้กับกองทัพเมียนมาหลายครั้ง เช่น เมื่อวันที่ 9 มีนาคม รายงานเกิดการปะทะกัน มีทหารพม่าเสียชีวิต ต่อ 14 มีนาคม ปรากฏมีภาพเรือกองทัพเมียนมาบริเวณแม่น้ำสาละวิน ซึ่งเป็นพื้นที่มั่นของ KNU และนี่เป็นส่วนหนึ่งของระเบิดและกระสุนที่กองทัพเมียนมายิงเข้ามาในพื้นที่กะเหรี่ยง

ในด้านการเมือง KNU ได้พบปะพูดคุย CRPH ของนางซูจีแล้ว โดยตัวแทนคือ ซาไล หม่อง ไทน่ แซน หรือดอกเตอร์ชาซ่าโพสต์ข้อความการพบปะกันทางออนไลน์ ดร.ซา ซา ได้รับแต่งตั้งจาก CRPH ให้เป็นทูตผู้แทนประจำสหประชาชาติ (UN) ล่าสุดกองทัพเมียนมาร์ตั้งข้อหากบฏซึ่งมีโทษถึงประหารชีวิต

 

อีกกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีการเปิดหน้าสู่กับกองทัพเมียนมาร์แล้วคือ กองกำลังเอกราชคะฉิ่นหรือ (KIA) ก่อตั้งเมื่อ 60 ปีที่แล้วเพื่อเคลื่อนไหวต่อต้านกองทัพพม่า เป็นหนึ่งในกองกำลังที่เข้มแข็งมากที่สุด พื้นที่ปฏิบัติการของอยู่ในรัฐคะฉิ่นและบางส่วนในภาคเหนือของรัฐชาน 11 มีนาคมที่ผ่านมา กองกำลังคะฉิ่น KIA บุกโจมตีค่ายทหารกองทัพเมียนมาในจังหวัดโมญิน เขตรอยต่อระหว่างรัฐคะฉิ่นกับภูมิภาคสะกายของพม่า เพจ Kachin Liberation Media รายงานว่า การปะทะที่กินเวลายาวนาน 2 ชั่วโมงทำให้ทหารเมียนมาเสียชีวิตกว่า 20 นาย แนวรบบริเวณนั้นตึงเครียดขึ้นอีกครั้ง

นอกเหนือจากกระเหรี่ยงและคะฉิ่น อีกหนึ่งชาติพันธุ์ที่เปิดหน้าสู้กองทัพเมียนมาคือสภากอบกู้รัฐฉาน ที่ออกประณามการรัฐประหารและมีการปะทะกับกองทัพเมียนมาแล้วในจังหวัดจ๊อกแม ลางเคอ และดอยแหลมในรัฐฉาน

เปิดใจ “แม่ชีเมียนมา” ผู้คุกเข่าขอร้องเจ้าหน้าที่งดใช้ความรุนแรง

 

แต่ไม่ใช่ทุกกลุ่มชาติพันธุ์ที่จะอยู่ตรงข้ามกับกองทัพเมียนมาร์ กองทัพเมียนมาร์ใช้วิธีเสนอผลประโยชน์เพื่อไม่ให้กลุ่มติดอาวุธต่อต้านตัวเอง หลังยึดอำนาจได้ไม่กี่วัน กองทัพเมียนมาเสนอตำแหน่งทางการเมืองหลายตำแหน่งให้กับสมาชิกพรรคแห่งชาติอาระกัน หน่วยกองกำลังติดอาวุธของสมาชิกพรรคแห่งชาติอาระกันในรัฐยะไข่

อู ไข่ ตู ข่า โฆษกของพรรคออกมาแถลงทันทีว่า พร้อมร่วมมือกับกองทัพเมียนมา เพื่อผลประโยชน์ของชาวยะไข่ ต่อมากองทัพเมียนมาตอบแทนความร่วมมือนี้เพิ่มเติมด้วยการถอนกองทัพอาระกันออกจากรายชื่อกลุ่มก่อการร้าย

หลักการแบ่งแยกแล้วปกครองถูกนำมาใช้อีกครั้ง โดยมีฉากหลังคือการสังหารประชาชนอย่างโหดเหี้ยมของกองทัพเมียนมา ทับซ้อนด้วยการต่อสู้ระหว่างกองทัพเมียนมากับกลุ่มชาติพันธุ์ติดอาวุธ โดยรวม สถานการณ์กำลังถลำลึกสู่ความซับซ้อน สับสน และรุนแรงมากยิ่งขึ้น

 

 

TOP ต่างประเทศ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ