จีนสั่งแบนการ์ตูนเนื้อหาไม่เหมาะสม “อุลตร้าแมน-โคนัน” ปลิวแล้ว
จีน ประณาม สหรัฐฯ-อังกฤษ-ออสเตรเลีย ร่วมสร้างเรือดำน้ำนิวเคลียร์ ชี้นำโลกกลับสงครามเย็น
จีน เปิดตัวเริ่มต้นงานนิทรรศการการบินและอวกาศนานาชาติจีน หรือแอร์โชว์ ไชน่า (Airshow China) ด้วยการสาธิตทักษะการบินของทีมเหยี่ยวแดงและหน่วยบินผาดโผนปาอี แต่เครื่องบินที่โดนเด่นที่สุดในฝูงบินและเป็นสิ่งที่จีนต้องการโชว์ต่อสายตาชาวโลกมากที่สุดคือ เครื่องบินขับไล่ล่องหนแบบ J-20 หนึ่งในฮาร์ดแวร์ที่ล้ำหน้าที่สุดของจีน
การปรากฏตัวของ J-20 เรียกความสนใจจากคนได้มาก เพราะอะไร? J-20 เป็นยานพาหนะที่บ่งชี้ว่า จีนมาไกลมาก
เพราะนี่คือเครื่องบินขับไล่เทคโนโลยีหลบเลี่ยงเรดาร์ หรือเครื่องบินขับไล่แบบล่องหนที่สามารถปฏิบัติการระยะไกล และสามารถติดตั้งขีปนาวุธยิงจากอากาศสู่อากาศได้ จีนบินทดสอบเครื่องบินรุ่นนี้ครั้งแรกเมื่อปี 2011 ก่อนจะพัฒนาศักยภาพของมันมาเรื่อยๆ จนหลายฝ่ายคาดว่า ขณะนี้ J-20 มีศักยภาพเทียบเท่าเครื่องบินขับไล่ยุคที่ 5 อย่าง F-22 และ F-35 ของสหรัฐแล้ว
นับเป็นความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรมการบิน และเป็นตัวที่จะทำให้ขีดความสามารถในการปฏิบัติการทางอากาศของจีนปัจจุบันอยู่ในระดับสูงมาก
นอกเหนือจาก J-20 แล้ว ในงานแสดงแสนยานุภาพทางการทหาร จีนยังนำอากาศยานทันสมัยอีกมากมาโชว์ รวมถึง AG-600 อากาศยานสะเทินน้ำสะเทินบกที่ใหญ่ที่สุดในโลก ถึงแม้จะใหญ่แต่มีความเร็วสูง ลงจอดได้หลายพื้นที่ คล่องตัวสูง ถือเป็นอากาศยานสำคัญในระบบกู้ภัยฉุกเฉินของจีนทั้งภารกิจดับเพลิงและการกู้ภัยทางทะเลเพราะสามารถลงจอดบนผิวน้ำได้
นอกจากนี้จีนยังนำอากาศยานไร้คนขับอีกหลายตัวมาโชว์ รวมถึง Wing Loong II (วิงลุง) ซึ่งเป็นอากาศยานไร้คนขับที่มีความเร็วสูงสุด 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง บินได้สูง 32,500 ฟุต และบินได้นานถึง 32 ชั่วโมง มีกล้องและเรดาร์ตรวจการณ์ สามารถติดตั้งระเบิดจรวด และใช้เป็นอากาศยานไร้นักบินติดอาวุธได้ โดยอากาศยานไร้คนขับ Wing-Loong II มีศักยภาพเทียบเท่าอากาศยานไร้คนขับ MQ-9 Reaper ของสหรัฐ
มีหลักฐานชี้ว่า อาจมีการใช้อากาศยานตัวนี้แล้วในประเทศลิเบีย สำนักข่าวบีบีซีรายงานว่า เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2020 ขณะที่นักเรียนทหารที่โรงเรียนทหารทางตอนใต้ของกรุงตริโปลีกำลังฝึกซ้อมตามปกติ แต่จู่ ๆ ก็เกิดระเบิดขึ้น แรงระเบิดทำให้มีผู้เสียชีวิต 26 ราย จากการตรวจสอบเศษซากขีปนาวุธที่ตกเกลื่อนพื้นในบริเวณจุดเกิดเหตุแล้ว บีบีซีสรุปได้ว่าเป็นซากส่วนประกอบของขีปนาวุธบลูแอร์โรว์ 7 (Blue Arrow 7) การจากการวิเคราะห์โดยละเอียดพบว่าโดรนลำเดียวที่ปฏิบัติการอยู่ในกรุงตริโปลีของลิเบียในช่วงนั้นที่สามารถยิงขีปนาวุธนี้ได้คือ โดรน วิง ลุง 2 (Wing Loong II) ของจีน
นักวิเคราะห์ชี้จีนพยายามบีบไต้หวัน หลังเข้าร่วมCPTPP
นี่คือส่วนหนึ่งเทคโนโลยีด้านอากาศยานที่จีนนำออกมาโชว์ และหลายตัวเข้าประจำการในกองทัพอากาศจีนแล้ว การเดินหน้าแสดงแสนยานุภาพทางทหาร โดยเฉพาะทางอากาศเกิดขึ้นในช่วงที่จีนมีท่าทีแข็งกร้าวต่อไต้หวันมากขึ้น
นักวิเคราะห์ชี้ว่า นอกเหนือจากจะผลิตเพื่อขายแล้ว จีนจะใช้เทคโนโลยีด้านอากาศยานมากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อบีบไต้หวัน โดยเฉพาะอากาศยานไร้คนขับที่สามารถสอดส่องความเคลื่อนไหวได้ดี
ความตึงเครียดระหว่างไต้หวันกับจีนรอบนี้เริ่มตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา หลังสหรัฐฯ ไฟเขียวขายอาวุธยุทโธปกรณ์ล็อตใหม่ให้ไต้หวัน และโจ ไบเดน ประธานาธิบดีของสหรัฐฯ ย้ำจุดยืนของวอชิงตันในการสนับสนุนไต้หวัน ซึ่งจีนมองว่าเป็นการยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายใน เพราะมองว่าไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของจีน
จีนส่งฝูงเครื่องบินรบเข้ามาในเขตป้องกันภัยทางอากาศของไต้หวันบ่อยครั้ง ในขณะที่ไต้หวันก็มีการส่งฝูงบินเตือนกลับ ท่าทีของจีนทำให้ไต้หวันระมัดระวังตัวขึ้น
เมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน ในการซ้อมรบประจำปีของไต้หวันไต้หวัน มีการจำลองสถานการณ์ในบริบท "การถูกรุกราน” ด้วยการฝึกซ้อมของกองพลยานเกราะและการฝึกซ้อมของนำฝูงเครื่องบินขับไล่ลงจอดบนทางหลวง ก่อนจะการประกาศเพิ่มงบประมาณทางการทหารอีก 9 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ และที่เป็นการเติมเชื้อไฟจะหว่างความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับไต้หวันล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 22 กันยายนที่ผ่านมา
เมื่อไต้หวันยื่นเอกสารเพื่อขอสมัครเป็นสมาชิกข้อตกลงความครอบคลุมและความก้าวหน้าเพื่อหุ้นส่วนทางการค้าภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก หรือ CPTPP หลังจากจีนส่งใบสมัครไปก่อนหน้านั้น 1 สัปดาห์
จ้าว ลี่เจียน โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีนเปิดแถลงข่าวแสดงความไม่พอใจอย่างมากต่อการกระทำของไต้หวันทันที และบอกว่า ประชาคมโลกต้องเคารพในหลักการจีนเดียว และจีนจะคัดค้านและตอบโต้หากประเทศใดสนับสนุนไต้หวันในการเป็นสมาชิก CPTPP
ส่วนไต้หวันออกมาโต้กลับจีนว่า การเข้าร่วมกับ CPTPP ไต้หวันได้หารือเรื่องนี้อย่างไม่เป็นทางการกับประเทศสมาชิกอื่นๆ ของความตกลง CPTPP มานานแล้ว แต่ความพยายามที่จะเข้าเป็นสมาชิกนั้นถูกตีกัน โดยรัฐบาลจีนจงใจส่งใบสมัครตัดหน้าเพื่อขวางไต้หวัน
หลังการตอบโต้ประเด็นการเข้าเป็นสมาชิก CPTPP จากนั้นในวันที่ 24 กันยายน จีนส่งฝูงบินรบของกองทัพจีนรวม 24 ลำ รวมถึงเครื่องบินทิ้งระเบิดที่สามารถบรรทุกระเบิดนิวเคลียร์ 2 ลำ เข้ามาในเขตป้องกันภัยทางอากาศหรือ ADIZ โซนของไต้หวัน
แผนที่ซึ่งแสดงโดยกระทรวงกลาโหมไต้หวัน พบว่า มีเครื่องบินรบจีนจำนวนหนึ่ง รวมไปถึงเครื่องบินทิ้งระเบิดจีน H-6 ที่บินไปทั่วทางใต้ของไต้หวันก่อนที่จะบินกลับไปทางตะวันออก โดยไต้หวันมีการส่งสัญญานเตือน สั่งให้ระบบต่อต้านมิสไซล์ทางอากาศเฝ้าติดตามความเคลื่อนไหว ซึ่งนับเป็นการข่มขู่ครั้งใหญ่ที่สุดของจีนตั้งแต่ความตึงเครียดก่อตัวเมื่อต้นปีที่ผ่านมา