รมว.สิ่งแวดล้อมอินโดฯ เผย เลิกตัดไม้ไม่ได้ แม้ปธน.ลงนามยุติตัดไม้ภายในปี 2030

โดย PPTV Online

เผยแพร่

หลัง ปธน.โจโก วิโดโด ของอินโดนีเซียลงนามยกเลิกการตัดไม้ทำลายป่าทั้งหมดภายในปี 2030 ในงาน COP26 ล่าสุด รมว.สิ่งแวดล้อมอินโดฯ เผย "ทำไม่ได้"

ภายในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 (COP26) ณ เมืองกลาสโกว์ สกอตแลนด์ สหราชอาณาจักร โจโก วิโดโด ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย ได้ร่วมเป็นหนึ่งในตัวแทนประเทศที่ลงนามในข้อตกลงลดการตัดไม้ทำลายป่าให้ได้ภายในปี 2030 ซึ่งมีผู้นำกว่า 100 ประเทศร่วมลงนาม

อย่างไรก็ตาม ล่าสุด สิตี นูร์บายา บาคาร์ รัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมอินโดนีเซียระบุผ่านโพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวว่า “ทางการไม่ควรให้คำมั่นในสิ่งที่เราทำไม่ได้”

COP26 จ่อยุติให้งบฯพัฒนาพลังงานฟอสซิล เลี่ยงโลกร้อนเกิน 1.5 องศา

สื่อนอกจวก ผู้นำโลกประชุม COP26 แก้ปัญหาโลกร้อน แต่นั่งเจ็ตส่วนตัวมาเพียบ

COP26 เห็นชอบยุติการทำลายป่าในปี 2030

เธอกล่าวว่า การบังคับให้อินโดนีเซียจะยุติการตัดไม้ทำลายป่าเป็นศูนย์ภายในปี 2030 ถือเป็น “ความไม่เหมาะสมและไม่ยุติธรรมอย่างชัดเจน”

แม้ว่าประธานาธิบดี โจโก วิโดโด จะลงนามในข้อตกลงยุติการทำลายป่าไม้ แต่เธอกล่าวว่า การพัฒนายังคงเป็นเรื่องสำคัญที่สุดของอินโดนีเซีย ซึ่งยังจำเป็นต้องมีการตัดไม้ทำลายป่าอยู่

นูร์บายาโพสต์แย้งว่า “อินโดนีเซียยังคงต้องใช้ทรัพยากรธรรมชาติจำนวนมหาศาลของประเทศนี้เพื่อประโยชน์ของประชาชน” เช่น การตัดไม้ทำลายป่าเพื่อหาทางสร้างถนนสายใหม่

“การพัฒนาครั้งใหญ่ในยุคของประธานาธิบดีโจโก วิโดโด ต้องไม่หยุดเพียงในนามของการปล่อยคาร์บอนหรือในนามของการตัดไม้ทำลายป่า” เธอระบุ

เธอเสริมว่า “ความมั่งคั่งทางธรรมชาติของอินโดนีเซีย รวมถึงป่าไม้ จะต้องได้รับการจัดสรรเพื่อการใช้งานตามหลักการที่ยั่งยืน”

การตัดไม้ทำลายป่าเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพราะมันทำให้ไม่มีป่าไม้คอยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน

ตัวเลขทรัพยากรป่าไม้ที่เคยมหาศาลของอินโดนีเซียยังคงหดตัวอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าอัตราการตัดไม้ทำลายป่าจะลดลงอย่างเห็นได้ชัดในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

ข้อมูลจากเว็บไซต์ Global Forest Watch ระบุว่า ในปี 2001 อินโดนีเซียมีพื้นที่ป่าดั้งเดิม (Primary Forest) หรือป่าที่ยังไม่ได้ถูกรบกวนและยังมีความอุดมสมบูรณ์อยู่ เกือบ 940,000 ตร.กม. หรือเกือบ 2 เท่าของพื้นที่ประเทศไทยทั้งประเทศ แต่ ณ ปี 2020 พื้นที่ป่าดังกล่าวลดลงไปแล้วอย่างน้อย 10%

 

เรียบเรียงจาก BBC

ภาพจาก AFP

Bottom-PL-HLW Bottom-PL-HLW

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ