COP26 เห็นชอบยุติการทำลายป่าในปี 2030


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ข้อตกลงแรกจากที่ประชุม COP 26 ออกมาแล้ว นั่นคือการให้คำมั่นลดการตัดไม้ทำลายป่าภายในปี 2030 โดยบรรดาผู้นำโลกกว่า 100 ประเทศจะร่วมลงนามในวันนี้

บรรดาผู้นำโลกในที่ประชุมว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศโลกของสหประชาชาติ หรือ cop26 จะลงนามในข้อตกลงสำคัญแรกในวันนี้ เพื่อให้คำมั่นในการยุติตัดไม้ทำลายป่าภายในปี 2030 หลังป่าไม้เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ เพราะป่าไม้จะช่วยดูดซับก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญในการทำลายชั้นบรรยากาศโลก และทำให้โลกร้อน โดยในข้อตกลงดังกล่าวจะรวมถึงการจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติม เพื่อคุ้มครอง และฟื้นฟูป่าอีกด้วย

 

 

ทรัมป์ไม่เชื่อโลกร้อนเป็นสาเหตุของไฟป่า

ประชุม COP25 มุ่งรับมือน้ำทะเลเพิ่มสูง – ช่องว่างปล่อยก๊าซคาร์บอน

รายงานระบุว่า ภายใต้ข้อตกลงดังกล่าว กว่า 100 ประเทศยินดีที่จะร่วมลงนาม ซึ่งหากรวมพื้นที่ป่าของประเทศที่เห็นชอบข้อตกลงยุติการตัดไม้ทำลายป่าในปี 2030 จะคิดเป็นราว 85 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ป่าทั้งหมดของโลกใบนี้ รวมถึงประเทศบราซิล ซึ่งเป็นที่ตั้งของป่าแอมะซอน

และมีรัฐบาลของ 28 ประเทศที่ให้คำมั่นว่าจะยุติการตัดไม้ทำลายป่า เพื่อปลูกพืชทางการเกตรและเป็นแหล่งอาหาร เช่น ปาล์มน้ำมัน โกโก้ และถั่วเหลือง เนื่องจากอุตสาหกรรมเหล่านี้ก่อให้เกิดการสูญเสียพื้นที่ป่า เพราะต้องมีการตัดไม้ทำลายป่าเพิ่มขึ้น

ด้านนายกรัฐมนตรีบอริส จอห์นสัน ผู้นำอังกฤษ เจ้าภาพจัดการประชุมครั้งนี้ เรียกข้อตกลงดังกล่าวว่า ข้อตกลงสำคัญเพื่อพิทักษ์และฟื้นฟูป่าไม้บนโลกใบนี้ และว่าเป็นข่าวดีที่จะมีการให้คำมั่นทางการเมืองเพื่อยุติการทำลายป่าไม้จากหลายชาติ

และในระหว่างกล่าวเปิดการประชุม ผู้นำอังกฤษยังได้ย้ำว่า หากไม่จริงจังแก้ปัญหาโลกร้อนตอนนี้ มันก็จสายเกินไปสำหรับลูกหลานของคนรุ่นนี้ที่จะลงมือทำ

บอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ กล่าวว่า มนุษยชาตินั้นอยู่มายาวนาน นับตั้งแต่เริ่มต้นตั้งนาฬิกากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ เหลืออีก 1 นาทีก่อนจะเที่ยงคืนของนาฬิกาวันสิ้นโลก และเราจำเป็นต้องลงมือทตอนนี้ หากเราไม่จริงจังกับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศตอนนี้ มันจะสายเกินไปสำหรับลูกหลานเราที่จะทำพรุ่งนี้

ด้านนายแอนโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ ได้กล่าวในที่ประชุมว่า มนุษยชาติกำลังขุดหลุมศพให้ตัวเองเพราะเรายังคงใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อโลกใบนี้

อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ เปิดเผยว่า การเสพติดพลังงานฟอสซิลกำลังผลักให้มนุษยชาติอยู่ในสถานการณ์ที่เสี่ยง เราเผชิญกับตัวเลือกที่มันตายตัว แม้ว่าเราจะเลิก หรือว่ามันจะยับยั้งเรา และนี่คือเวลาที่จะบอกว่า พอแล้ว พอแล้วกับความหลากหลายทางชีวภาพอันโหดร้าย พอแล้วกับการฆ่าพวกเราเองด้วยก๊าซคาร์บอน พอแล้วกับการปฏิบัติต่อธรรมชาติเยี่ยงห้องสุขา พอแล้วก็กับเผาและการขุด และการทำเหมืองที่ทำให้เราจมดิ่งลงไป เรากำลังขุดหลุมศพสำหรับตัวเองอยู่

เลขาธิการสหประชาชาติยังบอกอีกด้วยว่า แม้ชาติสมาชิกจี 20 ซึ่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมกัน 80 เปอร์เซ็นต์ของโลกใบนี้ จะมีส่วนรับผิดชอบหลัก แต่ทุกประเทศก็ควรจะทบทวนแผนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทุกปี จนกว่าเราจะสามารถรักษาอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงเกินกว่า 1.5 องศาเซลเซียสได้จริง

ก่อนหน้าการประชุม COP26 บรรดาผู้นำกลุ่มประเทศจี 20 เห็นพ้องต้องกันที่จะแก้ไขปัญหาโลกร้อน ด้วยการออกแถลงการณ์ร่วม เพื่อบรรลุเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจนเหลือเป็น net zero หรือลดให้ได้มากที่สุดภายในปี 2050 ยกเว้นจีนและรัสเซีย ซึ่งขอขยายระยะเวลาออกไปเป็นปี 2060 แทน

ขณะที่ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงของจีน ซึ่งไม่ได้เดินทางมาร่วมประชุม cop26 ด้วยตนเอง เรียกร้องให้ทุกประเทศโฟกัสไปที่การกระทำอันเป็นรูปธรรม และการตั้งเป้าหมายอันเป็นจริง โดยก่อนหน้านี้ในการประชุมจี 20 เขาก็ได้เรียกร้องให้ประเทศที่พัฒนาแล้วไม่ควรจะทำแต่ในส่วนของตนเอง แต่ควรจะช่วยเหลือประเทศที่กำลังพัฒนาด้วย

อย่างไรก็ตาม ผู้นำจีนไม่ได้เปิดเผยแผนการให้คำมั่นเพื่อแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศเพิ่มเติมของประเทศจีน แต่ชี้ว่า รัฐบาลของเขามีแผนการในภาคส่วนต่างๆ ทั้งอุตสาหกรรมพลังงาน การก่อสร้างและการคมนาคมอยู่แล้ว

และในประเด็นแผนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่ม นายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดีของอินเดีย ได้ให้คำมั่นล่าสุดที่การประชุม cop26 ว่า อินเดียจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้มากที่สุดภายในปี 2070 ทั้งนี้ อินเดียเป็นประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากเป็นอันดับสี่ของโลก รองจากจีน สหรัฐ สหภาพยุโรป

TOP ต่างประเทศ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ