ฆาตกรรมสยองเขย่าอินเดีย 2 มุสลิมฆ่าตัดหัวชาวฮินดู อ้างเพื่อล้างแค้น


โดย PPTV Online

เผยแพร่




เกิดเหตุสุดสะเทือนขวัญอินเดีย 2 ชาวมุสลิม ฆ่าตัดหัวช่างตัดเสื้อชาวฮินดูอย่างโหดเหี้ยม อ้างเพื่อล้างแค้นคนดูหมิ่นศาสนา

อินเดียถือเป็นอีกหนึ่งประเทศ ที่เผชิญกับปัญหาความขัดแย้งทางศาสนามาอย่างยาวนาน และดูเหมือนว่าจะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะความขัดแย้งระหว่างชาวฮินดู และชาวมุสลิม

เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา เกิดเหตุสุดสะเทือนขวัญขึ้น ที่รัฐราชสถาน เป็นเหตุการณ์ที่ชาวมุสลิม 2 คนลงมือก่อเหตุตัดหัวช่างตัดเสื้อชาวฮินดูอย่างโหดเหี้ยมในร้านของเขา และโพสต์คลิปดังกล่าวลงบนโซเชียลมีเดีย โดยอ้างว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการล้างแค้นคนที่ดูหมิ่นศาสนาอิสลาม

เครื่องบินรบ MIG-29 ทิ้งระเบิดตกชายแดนเมียนมา ดับ 3 เจ็บ 3

ผู้นำยูเครน จี้ รัฐสภาคลอดมาตรการต่าง ๆ หวังเข้าร่วมสหภาพยุโรป คาดอาจใช้เวลานาน 10 ปี


 

ย้อนดูสถิติ วอลเลย์บอลสาวไทย ก่อนพบ บราซิล ศึกเนชั่นส์ ลีก 2022

เหตุการณ์นี้ได้สร้างความปั่นป่วนให้กับสังคมอินเดียอีกระลอก และจุดชนวนให้ชาวฮินดูทั่วประเทศลุกฮือเรียกร้องความยุติธรรมให้กับเหยื่อผู้เคราะห์ร้าย และประหารชีวิตผู้ที่ลงมือก่อเหตุดังกล่าว

เมื่อช่วงบ่ายวันอังคารที่ผ่านมา ที่ร้านตัดเสื้อแห่งหนึ่งในเมืองอุทัยปุระ (Udaipur) ในรัฐราชสถาน (Rajasthan) ระหว่างที่ กันเฮยา ลาล (Kanhaiya Lal) ช่างตัดเสื้อชาวฮินดู กำลังให้บริการลูกค้าชาวมุสลิมอยู่ในร้าน จู่ ๆ ก็ถูกจู่โจมทำร้ายและสังหารอย่างโหดเหี้ยมด้วยการตัดศีรษะ

จากคลิปวิดีโอแสดงให้เห็นว่าผู้ต้องสงสัย 2 คนถือมีดเปื้อนเลือด และพูดผ่านคลิปว่า พวกเขาลงมือก่อเหตุเพื่อล้างแค้นช่างตัดเสื้อชาวฮินดูคนนี้ที่ดูหมิ่นศาสดามูฮัมหมัด และส่งคำขู่ไปถึงนายกรัฐมนตรี นเรนทรา โมดี ของอินเดีย ว่าจะต้องเจอชะตากรรมแบบเดียวกับช่างตัดเสื้อชาวฮินดูด้วย

อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีความเคลื่อนไหวจากฝั่งของนายโมดีเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าว แต่มีรายงานว่า ก่อนหน้านี้ ช่างตัดเสื้อคนนี้เคยถูกขู่ทำร้ายมาแล้ว หลังโพสต์ข้อความสนับสนุนคำพูดของ “นูปูร์ ชาร์มา” อดีตโฆษกพรรครัฐบาล (BJP) ที่ออกมาแสดงความเห็นเกี่ยวกับศาสดาของศาสนาอิสลามจนจุดกระแสประท้วงไปทั่วโลกมุสลิม

รู้จัก "มาลาเซีย" ว่าที่แข้งใหม่ แมนยู เบอร์แรก ในยุค เทน ฮาก

ขณะที่ลูกชายของช่างตัดเสื้อ ยืนยันว่า พ่อของเขาไม่ได้โพสต์ข้อความในเชิงดูหมิ่นศาสนา และเรียกร้องให้ชาวอินเดียช่วยทวงความยุติธรรมให้กับพ่อ และย้ำว่า กลุ่มผู้ก่อเหตุควรถูกลงโทษประหารชีวิต เช่นเดียวกับภรรยาของช่างตัดเสื้อที่ที่ออกมาปล่อยโฮเรียกร้องความยุติธรรมให้กับสามีของเธอ

ครบรอบ 25 ปี "ต้มยำกุ้ง" วิกฤติไม่ซ้ำรอย แต่ครั้งใหม่กำลังมา

ทั้งนี้ ภายหลังเกิดเหตุการณ์สุดสะเทือนขวัญนี้ได้มีการจัดพิธีเผาศพให้กับผู้เสียชีวิต ซึ่งมีชาวบ้านมาร่วมงานหลายร้อยคน และหลายคนอยู่ในอาการโกรธแค้น ขณะเดียวกันก็มีผู้คนออกมาประท้วงอย่างรุนแรงในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะที่รัฐราชสถาน ซึ่งเป็นจุดเกิดเหตุ ผู้ประท้วงหลายร้อยคนฝ่าฝืนคำสั่งห้ามรวมตัวในที่สาธารณะ และประกาศเคอร์ฟิว และเดินประท้วงเหตุการณ์ดังกล่าว โดยผู้ประท้วงในเมืองอุทัยปุระโบกธงสีเหลืองและตะโกนเรียกร้องความยุติธรรม ขณะที่สมาชิกขององค์กรชาตินิยมฮินดูฝ่ายขวาของอินเดียเผาหุ่นในเมืองไฮเดอราบัด และเรียกร้องให้ผู้ต้องสงสัยถูกประหารชีวิตในที่สาธารณะ

กลุ่มผู้ต้องสงสัยก่อเหตุอัปโหลดคลิปวิดีโอด้วยตนเอง ดังนั้นพวกเขาควรถูกฆ่าเพื่อแลกกัน พวกเขาเป็นพวกญิฮาดอิสลาม ดังนั้นตามกฎหมายชารีอะห์แล้ว ถ้าใครฆ่าคน คนคนนั้นจะถูกฆ่าโดยการปาก้อนหินในที่สาธารณะ ดังนั้นสิ่งนี้ควรถูกนำไปปฏิบัติด้วย และพวกเขาควรโดนประหารต่อหน้าสาธารณะ

อย่างไรก็ตาม หลังเกิดเหตุ ตำรวจสามารถจับกุมตัวผู้ต้องสงสัยเอาไว้ได้ และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ศาลท้องถิ่นได้สั่งควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยทั้งสองคนไปจนถึงวันที่ 13 กรกฎาคม นี้

ทั้งนี้เหตุการณ์ดังกล่าวถูกพิจารณาให้เป็นการก่อการร้าย จากการสอบสวนเบื้องต้นพบว่า หนึ่งในผู้ต้องสงสัยก่อคดีฆาตกรรมสุดโหดเหี้ยมรายนี้เชื่อมโยงกับ ดาวาต-อี-อิสลาม (Dawat-e-Islami)  ซึ่งเป็นองค์กรอิสลามสุหนี่ที่ตั้งอยู่ในปากีสถาน ตั้งแต่ปี 1981 และมีสถาบันการศึกษาอิสลามหลายแห่งทั่วโลก

จากการตรวจสอบพบว่า ผู้ต้องสงสัยรายนี้ยังคงติดต่อกับองค์กรดังกล่าวสม่ำเสมอ และเคยไปการาจีในปี 2014 มีประวัติการโทรศัพท์ไปปากีสถานในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ปี 2018 - 2019 ได้มีการเคลื่อนไหวในประเทศแถบอาหรับ และไปเนปาลสองสามครั้งด้วย

ล่าสุด ทางการกำลังเร่งสอบสวนผู้ต้องสงสัยทั้งสองคนเพิ่มเติม รวมถึงอีก 4 คน ที่คาดว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ดังกล่าว

"แก้ตำราเรียน" เครื่องมือปลูกฝังชาตินิยมจีนในฮ่องกง

อินเดียเผชิญกับความขัดแย้งระหว่างศาสนามาโดยตลอด นับตั้งแต่ได้รับอิสภาพจากอังกฤษในปี 1947 โดยเฉพาะความขัดแย้งระหว่างชาวฮินดูกับชาวมุสลิม ที่เริ่มทวีความรุนแรงขึ้น นับตั้งแต่นายโมดีขึ้นมาเป็นนkยกฯ ในปี 2014 และประกาศผลักดันนโยบาย "ชาวฮินดูต้องมาก่อน" (Hindu-first) หลังมีแนวโน้มว่าประชากรชาวฮินดูเริ่มลดลง ขณะที่ชาวมุสลิมกลับเพิ่มขึ้น

ข้อมูลจากศูนย์วิจัยพิว (Pew Research Center) ซึ่งเป็นหน่วยงานวิจัยของสหรัฐฯ ระบุว่า อินเดียมีผู้นับถือศาสนาฮินดูมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง ตามด้วยศาสนาอิสลาม และผลสำรวจระหว่างปี 1951 – 2011 แสดงให้เห็นว่าประชากรชาวมุสลิมเติบโตอย่างต่อเนื่อง 4.4 เปอร์เซ็นต์ จนแตะระดับ 14.2 เปอร์เซ็นต์ ของประชากรทั้งประเทศ ขณะที่ศาสนาฮินดูมีประชากรลดลงต่อเนื่อง 4.3 เปอร์เซ็นต์ จนแตะระดับ 79.8 เปอร์เซ็นต์ และมีแนวโน้มว่าในอนาคตประชากรชาวฮินดูจะลดลงไปอีก และชาวมุสลิมจะเพิ่มสัดส่วนต่อเนื่อง

สำหรับจุดเริ่มต้นของความขัดแย้งทางศาสนาในอินเดีย เกิดจากความขัดแย้งระหว่างชาวฮินดูกับชาวมุสลิม ซึ่งแต่เดิมปากีสถานเป็นดินแดนเดียวกับอินเดีย และอยู่ภายใต้การปกครองอังกฤษ และก่อนที่อินเดียจะได้รับเอกราช ชาวมุสลิมในอินเดียรวมตัวเรียกร้องให้มีการแยกประเทศจนกลายเป็นปากีสถาน ในปี 1947 ซึ่งการแยกตัวออกจากกันระหว่างอินเดียและปากีสถาน มีหลายเหตุผล 

1.ความแตกต่างทางการเมือง ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามหรือชาวมุสลิมมีจำนวนน้อยกว่าผู้ที่นับถือศาสนาฮินดู ทำให้ชาวมุสลิมเป็นชนกลุ่มน้อยของประเทศที่ได้รับสิทธิทางการเมืองน้อย

2. ความแตกต่างทางศาสนา ชาวมุสลิมนับถือพระเจ้าองค์เดียว ส่วนชาวฮินดูนับถือพระเจ้าหลายองค์

3.ความแตกต่างทางสังคม ชาวมุสลิมเชื่อว่าทุกคนมีความเท่าเทียมกัน แต่สังคมชาวฮินดูมีระบบวรรณะ

ซึ่งจากเหตุผลข้างต้นทำให้ปัญหาระหว่างชาวมุสลิมและชาวฮินดูเพิ่มมากขึ้นตามมา จนเกิดการปะทะกันอย่างรุนแรง และในที่สุดอังกฤษจึงให้เอกราชกับอินเดียและปากีสถานเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม ปี 1947

อย่างไรก็ตามภายหลังจากมีการจัดตั้งเป็นประเทศแล้ว ความสัมพันธ์ระหว่างอินเดียกับปากีสถานก็ไม่ได้ราบรื่น และมีปัญหาเรื่อยมา ไม่ว่าจะเป็นปัญหาพรมแดน ปัญหาแคว้นแคชเมียร์ และการแข่งขันการสะสมและพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์เพื่อข่มขู่ฝ่ายตรงกันข้าม ส่งผลให้ ความขัดแย้งระหว่างชาวมุสลิมกับชาวฮินดูในอินเดียก็ยังคงดำเนินเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

TOP ต่างประเทศ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ