ความสำคัญ “หน่วยความจำภูมิคุ้มกัน” สัมผัสเชื้อโควิด-19 ก็อาจไม่ติดเชื้อ

โดย PPTV Online

เผยแพร่

นักวิทย์พบสาเหตุ ทำไมบางคนสัมผัสเชื้อโควิด-19 ตรง ๆ แล้วไม่ติดเชื้อ พบเป็นผลงานของ “หน่วยความจำภูมิคุ้มกัน” ชี้เป็นแนวทางพัฒนาวัคซีนในอนาคต

นักวิทยาศาสตร์พยายามหาคำตอบว่า ทำไมในครอบครัวหนึ่งซึ่งทุกคนติดเชื้อโควิด-19 กลับมีสมาชิกอยู่ 1 คนที่ไม่ติดโควิด-19 ทั้งที่สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย

ล่าสุด นักวิทยาศาสตร์พบว่า “การสัมผัสเชื้อแต่ไม่ติดเชื้อ (Abortive Infection)” นี้ อาจเกิดจากไวรัสเข้าสู่ร่างกายไปแล้ว แต่ถูกกำจัดโดย T-cell หรือหน่วยความจำของของระบบภูมิคุ้มกันในระยะแรกสุดของการติดเชื้อ ทำให้การตรวจหาเชื้อด้วยวิธี PCR และ ATK มีผลออกมาเป็นลบแม้รับเชื้อไปแล้ว

ครม. อนุมัติ 500 ล้าน ซื้อยาต้านโควิด "โมลนูพิราเวียร์" 2 ล้านเม็ด

นานาชาติรุมสั่งจอง ยาเม็ดต้านโควิด "ไฟเซอร์" ไทยไม่ฟันธง ติด 90 ประเทศได้ล็อตแรก

วิจัยพบ "ยีนเสี่ยง" ในชาวเอเชียใต้ ทำเสี่ยงตายจากโควิด-19 เป็น 2 เท่า

โดยนักวิทยาศาสตร์ได้ทำการติดตามบุคลากรทางการแพทย์ในช่วงระลอกแรกของการระบาดใหญ่ในลอนดอน และพบว่ามีอยู่ประมาณ 15% ที่เกิดเหตุการณ์สัมผัสเชื้อแต่ไม่ติดเชื้อเช่นกัน

การค้นพบนี้สามารถปูทางไปสู่การพัฒนาวัคซีนโควิด-19 รุ่นใหม่ที่อาจจะมีเป้าหมายกระตุ้นการตอบสนองของ T-cell ซึ่งสามารถสร้างภูมิคุ้มกันที่ยืนยาวได้

ลีโอ สแวดลิง นักภูมิคุ้มกันวิทยาจากมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน และหนึ่งในทีมวิจัย กล่าวว่า “ทุกคนมีหลักฐานพอสมควรว่ามีคนที่สัมผัสเชื้อแต่ไม่ติดเชื้อ สิ่งที่เราไม่รู้ก็คือว่า บุคคลเหล่านี้สามารถหลีกเลี่ยงไวรัสได้อย่างสมบูรณ์แบบจริง ๆ หรือว่าพวกเขากำจัดไวรัสได้ตามกลไกธรรมชาติก่อนที่จะตรวจพบได้ด้วยการตรวจหาเชื้อ”

การศึกษาล่าสุดได้ตรวจสอบเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์อย่างเข้มงวดเพื่อหาสัญญาณของการติดเชื้อและการตอบสนองของภูมิคุ้มกันในช่วงแรกของการระบาดใหญ่ แม้จะมีความเสี่ยงสูงต่อการสัมผัสเชื้อ แต่ผู้เข้าร่วมจำนวน 58 คนไม่มีผลตรวจโควิด-19 ออกมาเป็นบวกเลย

อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างเลือดที่นำมาจากกลุ่มตัวอย่างเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า พวกเขามี T-cells ที่เพิ่มขึ้นเพื่อตอบสนองต่อโควิด-19 เมื่อเทียบกับตัวอย่างที่เก็บมาก่อนเกิดการระบาดใหญ่ และเปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่เคยสัมผัสกับไวรัสเลย

งานวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่า มีคนบางกลุ่มมี T-cells จากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาอื่น ๆ ที่ไม่ใช่โควิด-19 และก่อให้เกิดเพียงโรคหวัดก่อนหน้านี้ และมีผลป้องกันมาถึงโควิด-19

พูดง่าย ๆ เซลล์ภูมิคุ้มกันเหล่านี้ จะเก็บตัวอย่างโปรตีนที่ใช้ในการแบ่งตัว/ขยายพันธุ์ของไวรัส ซึ่งเป็นส่วนที่โควิด-19 และไวรัสโคโรนาตามฤดูกาลอื่น ๆ มีร่วมกัน มาเก็บไว้และศึกษาวิธีจัดการ เมื่อติดเชื้อโควิด-19 จึงนำไปสู่ความสามารถในการตอบสนองที่รวดเร็ว และมีศักยภาพเพียงพอที่จะกำจัดเชื้อให้หมดไปตั้งแต่การติดเชื้อในระยะแรกสุด

การค้นพบนี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจาก T-cell มีแนวโน้มที่จะให้ภูมิคุ้มกันแก่ร่างกายได้ยาวนานกว่า อาจจะอยู่ได้หลายปีแทนที่จะเป็นหลักเดือน โดยวัคซีนโควิด-19 ที่โลกมีอยู่เกือบทั้งหมดในปัจจุบันมักมุ่งเน้นไปที่การสร้างแอนติบอดีต่อโปรตีนหนามที่ช่วยให้โควิด-19 เข้าสู่เซลล์ได้

แอนติบอดีเหล่านี้สามารถป้องกันการเจ็บป่วยที่รุนแรงได้ดีเยี่ยม อย่างไรก็ตาม ระดับภูมิคุ้มกันมักจะลดลงเมื่อเวลาผ่านไป และหากโปรตีนหนามกลายพันธุ์ วัคซีนเดิมก็จะใช้การไม่ได้

หญิงวัย 60 สงสัยตรวจโควิด-19 ทำตาติดเชื้อ

ในทางตรงกันข้าม การตอบสนองของ T-cell มักจะไม่หายไปในเวลาสั้น ๆ และจะจดจำส่วนการจำลองตัวเองซึ่งมีในไวรัสเกือบทุกตัว ซึ่งหมายความว่า วัคซีนที่กำหนดเป้าหมายไปยังจุดนี้อาจจะป้องกันโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่หรือกระทั่งสายพันธุ์ทั้งหมดได้

 

เรียบเรียงจาก The Guardian / งานวิจัยฉบับเต็ม

ภาพจาก AFP

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ