WHO จี้หาทางออก หลังโควิด-19 สร้างภาระ “ขยะทางการแพทย์” นับแสนตัน


โดย PPTV Online

เผยแพร่




อนามัยโลกคาด สถานการณ์โควิด-19 ทำให้มีขยะทางการแพทย์เพิ่มขึ้นนับแสนตัน แนะแต่ละประเทศใส่ใจการจัดการขยะมากขึ้น

รายงานฉบับใหม่ขององค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมาเป็นระยะเวลากว่า 2 ปี มี “ขยะทางการแพทย์ (Medical Waste)” เพิ่มขึ้นหลายหมื่นถึงแสนกว่าตัน จากความพยายามในการรับมือการระบาดใหญ่ของโควิด-19

ขยะทางการแพทย์ที่เพิ่มขึ้นนี้ได้สร้างภาระอย่างมากต่อระบบการจัดการของเสียทางการแพทย์ทั่วโลก รวมถึงคุกคามสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม และแสดงให้เห็นถึงความจำเป็นอย่างยิ่งในการปรับปรุงแนวทางการจัดการของเสียทางการแพทย์

“Fast Fashion” เมื่อเสื้อผ้าทำร้ายโลก ก่อขยะ-มลพิษ

มหาสมุทรโลกเสียหายหนักช่วงโควิด-19 มี "ขยะโควิด" ถูกทิ้ง 2.6 หมื่นตัน

รายงานการวิเคราะห์ของ WHO ฉบับนี้ ประเมินจากการจัดซื้อและจัดส่งอุปกรณ์การแพทย์ที่จำเป็นในช่วงโควิด-19 ที่เป็นโครงการของสหประชาชาติ (UN) เท่านั้น ยังไม่ได้นับรวมขยะการแพทย์อื่น ๆ นอกเหนือโครงการ และไม่นับรวมขยะที่ประชาชนสร้างขึ้น เช่น หน้ากากอนามัยแบบใช้แล้วทิ้ง

โมเดอร์นาเริ่มทดสอบในมนุษย์ วัคซีนป้องกันเอชไอวี (HIV) ชนิด mRNA

WHO พบว่า ตัวเลขการจัดซื้ออุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) อยู่ที่ประมาณ 87,000 ตัน จัดซื้อระหว่างเดือน มี.ค. 2020 – พ.ย. 2021 และจัดส่งไปยังประเทศต่าง ๆ คาดว่าอุปกรณ์ส่วนใหญ่นี้จะกลายเป็นของเสีย

นอกจากนี้ ยังมีชุดตรวจหาเชื้อโควิด-19 อีกกว่า 140 ล้านชุด ซึ่งจะทำให้เกิดขยะพลาสติกถึง 2,600 ตัน และมีขยะเคมีอีก 731,000 ลิตรในส่วนของน้ำยาตรวจเชื้อ และการฉีดวัคซีนโควิด-19 มากกว่า 8 พันล้านโดสทั่วโลก จะทำให้เกิดขยะทางการแพทย์ที่เข็มหลอดฉัดยา เข็มฉีดยา และกล่องนิรภัย อีกกว่า 144,000 ตัน

WHO ประเมินว่า ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 องค์การสหประชาชาติและประเทศต่าง ๆ มุ่งความสนใจไปที่การจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้ได้รวดเร็วที่สุด จนละเลยการจัดการขยะทางการแพทย์อย่างปลอดภัยและยั่งยืน ซึ่งในจุดนี้ แม้แต่ประเทศไทยเองก็เคยพบตัวอย่างมาแล้ว จากข่าวที่โรงพยาบาลบางแห่งนำขยะทางการแพทย์ไปทิ้งตามข้างทางโดยไม่มีการจัดการอย่างเหมาะสม

ดร.ไมเคิล ไรอัน กรรมการบริหารฝ่ายสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสุขภาพของ WHO กล่าวว่า "เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องจัดหาอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) ที่ดีให้แก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข แต่สิ่งสำคัญกว่านั้นคือต้องแน่ใจว่า อุปกรณ์เหล่านั้นจะถูกใช้งานได้อย่างปลอดภัยโดยไม่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมโดยรอบ”

WHO พบว่า แต่เดิม 30% ของสถานพยาบาลในประเทศทั่วไป (60% ในประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด) ไม่พร้อมที่จะจัดการกับปริมาณขยะทางการแพทย์ที่มีอยู่เดิมอยู่แล้ว เมื่อเผชิญกับสถานการณ์โควิด-19 ที่สร้างขยะทางการแพทย์เพิ่มขึ้น จึงทำให้เกิดความนับประสาภาระเพิ่มเติมของ COVID-19 สิ่งนี้อาจทำให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนที่อาศัยอยู่ใกล้กับหลุมฝังกลบและแหล่งกำจัดของเสียที่มีการจัดการไม่ดี ผ่านอากาศที่ปนเปื้อนจากการเผาของเสีย คุณภาพน้ำไม่ดี หรือศัตรูพืชที่เป็นพาหะนำโรค

ดร.มาเรีย นีรา ผู้อำนวยการฝ่ายสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนภูมิอากาศ และสุขภาพ ของ WHO กล่าวว่า “โควิด-19 บีบให้โลกต้องคำนึงถึงช่องว่างและแง่มุมที่ถูกละเลยของขยะที่เกิดขึ้น ตลอดจนวิธีที่เราผลิต ใช้ และทิ้งทรัพยากรทางการแพทย์ของเรา ตั้งแต่แหล่งกำเนิดจนถึงหลุมฝังกลบ”

เธอเสริมว่า “การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในทุกระดับตั้งแต่ระดับโลกไปจนถึงระดับโรงพยาบาล วิธีที่เราจัดการของเสียทางการแพทย์เป็นข้อกำหนดพื้นฐานในการสร้างหลายสิ่ง ทั้งระบบการดูแลสุขภาพด้านสภาพอากาศ ซึ่งหลายประเทศให้คำมั่นในการประชุมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติเมื่อเร็ว ๆ นี้ และแน่นอน รวมถึงการสร้างสภาวะการฟื้นตัวจากโรคโควิด-19 และการเตรียมพร้อมสำหรับภาวะฉุกเฉินด้านสุขภาพอื่น ๆ ในอนาคต”

รายงานดังกล่าวของ WHO ยังได้จัดทำชุดคำแนะนำสำหรับการบูรณาการแนวทางปฏิบัติด้านขยะที่ดีขึ้น ปลอดภัยขึ้น และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นในการตอบสนองต่อสถานการณ์โควิด-19 ในปัจจุบัน และความพยายามในการเตรียมพร้อมสำหรับการระบาดใหญ่ในอนาคต

คำแนะนำประกอบด้วย การใช้บรรจุภัณฑ์และการขนส่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การพัฒนาชุด PPE ที่ปลอดภัยและนำกลับมาใช้ใหม่ได้ (เช่น ถุงมือและหน้ากากทางการแพทย์) การใช้วัสดุรีไซเคิลหรือย่อยสลายได้ทางชีวภาพในการทำอุปกรณ์ทางการแพทย์ การลงทุนในเทคโนโลยีการบำบัดของเสียที่ไม่เผาไหม้ และการลงทุนในภาคการรีไซเคิลเพื่อให้แน่ใจว่าวัสดุ เช่น พลาสติก สามารถนำมาใช้ใหม่ได้

ดร.แอนน์ วูลริดจ์ ประธานกลุ่มคณะทำงานก้านของเสียทางการแพทย์ จากสมาคมขยะมูลฝอยระหว่างประเทศ (ISWA) กล่าวว่า "การเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบในการจัดการของเสียทางการแพทย์จะรวมถึงการตรวจสอบอย่างละเอียดและเป็นระบบและแนวทางการจัดซื้อที่ดีขึ้น ... การลงทุนด้านสุขภาพหลังจากนี้ต้องคำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสภาพอากาศด้วย”

เปิดเบื้องหลัง โรงงานกำจัดขยะติดเชื้อ ในช่วงโควิด-19

“ขยะติดเชื้อ” สะสมสูงไม่ต่างจากยอดโควิด-19

เรียบเรียงจาก WHO

ภาพจาก AFP

TOP ต่างประเทศ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ